“ไม่ใช่ย่านนี้ไม่มีคนอยู่นะครับ หลายบ้านเขาก็ยังอยู่ เพียงแต่เหลือแค่ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ จึงปิดบ้านไว้เฉยๆ”

บ้านหลังนี้สร้างปีเดียวกับที่ผมเกิดเลย ปีนี้เป็นปีที่ 49 ล่ะครับ สมัยก่อนเราเปิดเป็นร้านโชห่วย ขายดีมาก เพราะอยู่ใกล้ๆ กับโรงหนังกิตติกร ซึ่งเป็นโรงหนังที่ฉายหนังจีนเป็นหลัก ซึ่งก็สอดรับกับบรรยากาศของย่านตลาดใต้ดีที่เป็นย่านคนจีน จนโรงหนังปิดตัวลง ร้านโชห่วยก็เลิกตามไป

ผมอยู่ตลาดใต้ตั้งแต่ยุคที่มีทั้งโรงหนัง โรงแรม ตลาดที่เปิดตั้งแต่เช้าจนค่ำ รวมถึงบางส่วนของย่านที่ยังเป็นป่ารก พอมาสมัยนี้ไม่เหลือป่ารกแล้ว โรงหนังถูกทุบทิ้งกลายเป็นทาวน์เฮ้าส์ ส่วนโรงแรมยังอยู่ (โรงแรมเทพประทาน) แต่ไม่ได้ถูกบูรณะอะไร ส่วนตลาดจะเหลือเพียงขายตอนเช้าเท่านั้น


แม่กับพี่สาวผมเคยขายไก่ทอดอยู่ในตลาดใต้ ขายตอนเช้า เหลือมาขายถึงตอนเย็นบ้าง สมัยก่อนตอนเย็นที่นี่ยังคึกคัก เพราะมีคนมาซื้อหากับข้าวอยู่ ซึ่งนั่นคือเมื่อสัก 20 ปีได้แล้ว จนมาหลังๆ ตลาดมันกระจายไปทั่วเมือง คนพิษณุโลกจะนิยมซื้อกับข้าวมื้อเย็นที่ตลาดรวมใจ และตลาดบ้านคลองมากกว่า เพราะไม่ต้องฝ่ารถติดเข้ามาในย่านใจกลางเมือง ตลาดใต้จึงเหลือแค่ตลาดเช้าอย่างที่เป็นอยู่

ผมจำได้สมัยที่รัฐยังไม่ได้กวดขันเรื่องของป่า ตลาดใต้นี่เป็นพื้นที่ที่จะเห็นสินค้าแปลกตามากนะ เด็กๆ ผมยังทันเห็นพ่อค้าแม่ค้าจากต่างอำเภอเอานกกระยาง หรือนกฮูกมาขาย ผมก็ชอบไปดู แต่สิ่งนี้ก็หายไปนานมากแล้ว อย่างไรก็ตาม พวกอาหารดั้งเดิม หรือขนมไทยพื้นบ้านหายากๆ จากที่อื่น ที่นี่ก็ยังมีให้กินเยอะ

ผมยังจำเสียงมอเตอร์ไซค์เป็นสิบๆ หรืออาจเป็นร้อยคันที่ออกมาจากที่จอดรถพร้อมกัน หลังจากหนังรอบสุดท้ายเลิกฉายได้อยู่เลย น่าจะสักสี่ทุ่มได้ คนออกจากโรงหนังแล้วก็ขี่รถแยกย้ายกันกลับบ้าน และพอเช้ามืดขึ้นมาก็ได้ยินเสียงจ้อกแจ้กจอแจของคนที่มาตลาด ก็เป็นเสียงที่รบกวนอยู่ แต่ความที่อยู่บ้านนั้นมาตั้งแต่เด็ก จึงคุ้นชิน… มาดูสมัยนี้สิ เหลือแค่เสียงของตลาดตอนเช้าตรู่ พอตกบ่ายมาย่านนี้ก็เงียบไปจนถึงดึก

ไม่ใช่ย่านนี้ไม่มีคนอยู่นะครับ หลายบ้านเขาก็ยังอยู่ เพียงแต่เหลือแค่ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานมักจะออกไปอยู่ที่อื่น หรือไปทำงานที่ต่างจังหวัด บ้านที่ปิดๆ ไว้หลายหลัง ก็มีคนอาศัยอยู่ชั้นบน หรือบางหลังก็เปิดให้เช่า แต่ก็ติดปัญหาที่ส่วนใหญ่เจ้าของเขาไม่ปล่อยให้เช่าเป็นรายเดือน เขาจะให้ทำสัญญาเช่ายาวเป็น 10-20 ปี เลยไม่ค่อยมีใครอยากมาเช่า บ้านจึงปิดไว้แบบนี้

ส่วนบ้านผมจะเปิดขายลูกชิ้นปิ้งตอนเช้าไปพร้อมกับตลาด และดีหน่อยที่ตอนหลังมีตลาดวัฒนธรรม วันอาทิตย์ตอนเย็น ก็เลยได้ขายอีกรอบ และได้เห็นชีวิตชีวาตอนเย็นขึ้นมาบ้าง 

ส่วนตัวผมค่อนข้างปลงแล้วนะ ก็เข้าใจว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป ตลาดที่เคยเฟื่องฟูมากๆ มันก็ย่อมมีวันซบเซาเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตาม ผมก็ยินดีที่ได้เห็นโครงการที่พยายามจะฟื้นฟูตลาดผ่านกิจกรรมต่างๆ เพราะลึกๆ ก็อยากเห็นตลาดกลับมาคึกคักแหละครับ หรือถ้าเป็นเจ้าของตึก ก็น่าจะลองปรับเงื่อนไขให้เช่าในระยะเวลาไม่ต้องยาวนานขนาดนั้นก็ได้ เผื่อจะมีธุรกิจใหม่ๆ เข้ามา ตึกจะได้ไม่ต้องปิดไว้เฉยๆ ย่านจะได้กลับมามีชีวิตชีวา ผู้ประกอบการในย่านที่เหลืออยู่จะได้ขายของดีขึ้นอีกครั้ง”  

กิจจา จันทร์ประเสริฐ
เจ้าของร้านลูกชิ้นเบบี้ ตลาดใต้

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago