“ผมซึมซับดนตรีมาตั้งแต่เด็ก พอจบม.3 ก็เล่นดนตรีเป็นอาชีพเลย แต่ทำอย่างอื่นด้วย เคยเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรชั้น 3 ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม ทำโครงการไม้ย้อมสีของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่มันไม่ใช่เรา ก็ยึดอาชีพนักดนตรีมา 30 กว่าปี ในยุคนั้นยึดเป็นอาชีพได้มั้ย ผมว่าได้นะ เราเอาแค่พอดีๆ รายได้จากเงินพิเศษ จากทิป ก็โอเค ปัจจุบันผมเป็นนักดนตรีประจำร้าน Blue…
“เราเกิดและโตที่หนองน้ำแดง เรียนอยู่ในวัดที่โรงเรียนวัดวชิราลงกรณวราราม วิ่งเล่นอยู่ละแวกนี้มาตลอด พอเรียนจบด้าน Computer Science มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมัยนั้น (ปี 2534) ที่นี่ไม่มีอาชีพรองรับ ต้องเข้าเมืองใหญ่ ซึ่งก็เป็นค่านิยมของคนทั่วไป ก็มาทำงานด้านไอทีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตัวเราอยู่กรุงเทพฯ พอมีลูกเข้าเรียน เห็นระบบการศึกษาไทยว่ามีปัญหา เรียนอะไรเครียดขนาดนี้ แล้วลูกเราเป็นตัวแทนโรงเรียนประกวดแข่งขัน มันพัฒนาไปสู่การชิงดีชิงเด่น…
ป้าเป็นคนตะเคียนเลื่อน (ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์) ปลูกผักพื้นบ้านและทำเกษตรตามวิถีธรรมชาติมาหลายสิบปีแล้ว ป้าทำเพราะเห็นว่าเราปลูกอะไร เราก็กินแบบนั้น ก็เลยไม่ใช้เคมี เพราะเราไม่อยากกินเคมีเข้าไป ใช่แล้ว จะบอกว่าป้าทำมาก่อนที่จะเข้าใจเรื่องเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ก็ได้ ถึงแม้ตอนหลังป้าอยากทำสวนป้าเป็นออร์แกนิก 100% แต่ก็พบว่ามีเงื่อนไขหลายประการที่ยังทำไม่ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นไร เราทำเกษตรปลอดภัยที่เรามั่นใจกับผลผลิตเราได้ไปก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยๆ ขยับต่อไป พอมารู้จักกฎบัตรนครสวรรค์ จะบอกว่าเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกันก็ได้ เพราะได้รู้จักเครือข่ายเกษตรกรที่ทำอาหารปลอดภัยเหมือนเรา…
“ก่อนหน้านี้เคยแต่ขับรถผ่านครับ ผมเริ่มเข้ามาและรู้จักนครสวรรค์จริงๆ ในฐานะเป็นนักวิจัยของสมาคมการผังเมือง โดยช่วยอาจารย์ฐาปนา (ฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย) จัดตั้งคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์ และเริ่มโครงการสมาร์ทซิตี้ตั้งแต่ปี 2562 จากนั้นก็ทำโครงการที่เมืองนี้มาเรื่อยๆ จนปี 2564 เราได้รับการสนับสนุนจาก บพท. ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ควบคู่กับสมาร์ทซิตี้ ผ่านรูปแบบการทำ Smart Block บริเวณศูนย์การค้า…
ในฐานะตัวแทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ผมจึงได้รับเชิญจากทางกฎบัตรนครสวรรค์ให้เป็นที่ปรึกษาเรื่องการขับเคลื่อนเมืองในกรอบของสมาร์ทซิตี้ รวมถึงได้ไปบรรยายองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับทางเทศบาลและเครือข่ายภาคประชาชน เมื่อเรามองเห็นความตั้งใจของผู้นำเมืองสักแห่งในการเป็นสมาร์ทซิตี้ สิ่งแรกที่ผู้นำหรือภาคส่วนต่างๆ ในเมืองต้องตอบให้ได้คือ แล้วประชาชนจะได้อะไรจากสิ่งนี้ ซึ่งคำตอบของผู้คนในแต่ละเมืองอาจจะคล้ายกันบ้าง แต่ด้วยบริบทหรือข้อท้าทายของแต่ละเมือง ความต้องการจึงไม่มีทางเหมือนกัน ผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีทางรู้หรอกว่าคนนครสวรรค์กำลังเผชิญกับปัญหาอะไร คนที่รู้ดีคือผู้บริหารเมือง ซึ่งเป็นฝ่ายที่รับฟังเสียงของประชาชน และหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยทาง DEPA…
“สถาบันศึกษาการพัฒนาการประชาธิปไตย (Institute of Democratization Studies: iDS) เป็นพาร์ทเนอร์กับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (Konrad-Adenauer-Stiftung) ประเทศเยอรมนี มาร่วม 10 ปีแล้ว เรามีภารกิจเดียวกันคือการส่งเสริมกระบวนการกระจายอำนาจของท้องถิ่น และหาโซลูชั่นใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ระดับบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ในปี 2560 รัฐบาลไทยได้ทำกรอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ…
“ผมเกิดนครสวรรค์ เรียนที่นี่อยู่พักหนึ่ง ก่อนไปเรียนและทำงานที่อื่น ความที่รู้จักคุ้นเคยกับ คุณสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ (ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์) ท่านเห็นว่าผมมีประสบการณ์ในการพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ก็เลยชวนผมมาเป็นที่ปรึกษา ร่วมวางผังและออกแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมืองนครสวรรค์ บ้านผมอยู่แถวบึงบอระเพ็ด เห็นมาตั้งแต่เกิดว่าบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้มันมีความสมบูรณ์ขนาดไหน แต่นั่นล่ะ ด้วยปัจจัยหลายประการ ทุกวันนี้ บึงแห่งนี้มีความตื้นเขิน ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาเรื่องการขยายเศรษฐกิจให้กับเมือง ผมจึงให้ความสำคัญกับข้อเสนอเรื่องการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดแห่งนี้ก่อน ประเด็นก็คือเคยมีอยู่ช่วงหนึ่ง จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรืออะไรก็ตามแต่…
“ผมทำโรงแรมแกรนด์ฮิลล์ฯ มา 16 ปี เพราะเห็นศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางทางภาคเหนือตอนล่างของจังหวัดนครสวรรค์ โรงแรมผมจึงมีห้องประชุมที่ครบวงจร สปา ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อเป็นตัวเลือกของนักท่องเที่ยวและหน่วยงานต่างๆ ที่มองหาสถานที่สำหรับจัดสัมมนาและกิจกรรมอื่นๆ หลังจากที่การทำเกษตรอินทรีย์เริ่มเป็นที่รับรู้ในไทย ผมก็มองหาวัตถุดิบประเภทผักออร์แกนิกมาใช้ประกอบอาหารเช้าเสิร์ฟลูกค้าโรงแรมด้วย แต่หลายปีก่อน การจะหาฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในนครสวรรค์นี่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะยังไม่แพร่หลายในบ้านเรานัก ถ้าจะซื้อ ต้องสั่งให้เขาส่งมาจากเชียงใหม่ ต้นทุนจึงสูงไปอีก กระทั่งมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการสมาร์ทฟาร์มของกฎบัตรนครสวรรค์…
“ต้องยอมรับว่าพื้นที่การเรียนรู้ภายในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ยังไม่โดดเด่นเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้น เทศบาลเราก็พยายามจะปรับความได้เปรียบเรื่องพื้นที่สาธารณะที่เรามีอยู่หลายแห่ง ให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้สำหรับทุกคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นอุทยานสวรรค์ หรือที่คนนครสวรรค์เรียกว่า ‘หนองสมบุญ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่กลางใจเมือง แหล่งพักผ่อนสำคัญของผู้คนในเขตเทศบาล ซึ่งเราก็พยายามประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาจัดกิจกรรมด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ‘คลองญวนชวนรักษ์’ พื้นที่สาธารณะกว่า 300 ไร่ ที่ทางเทศบาลเข้าไปปรับปรุงเกาะญวน บริเวณที่อยู่อาศัยเดิมของชาวญวนที่ถูกแม่น้ำตัดขาด จนเกิดเป็นเกาะใกล้ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน การบำบัดน้ำเสีย…
อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร เป็นนายกสมาคมการผังเมืองไทย ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง ‘กฎบัตรไทย’ หนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและชาญฉลาดรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา โดยผ่านสมาคมการผังเมืองไทย อาจารย์ฐาปนาได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องมือนี้เข้าสู่กลไกการพัฒนาเมือง โดยนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ ระยอง อุดรธานี ภูเก็ต และนครสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2562“ตอนแรกยังไม่มีคำว่า…