บรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง ผมรู้สึกยินดีกับวันนี้ที่เป็นอีกก้าวของความสําเร็จที่ทาง บพท. มาร่วมมือกับทางท้องถิ่น จนเกิดการวิจัยร่วมกันในการที่จะสร้างและพัฒนาเมือง โดยใช้งานวิชาการเข้ามาช่วย อย่างที่อาจารย์ปุ่น กล่าวกับเรา ว่าเรากำลังร่วมกันออกเดินทาง ตอนนี้เราเราก็ร่วมกันเดินทางกันมาแล้ว 1 ปี ย้อนกลับไปก่อนที่จะเกิดโครงการ CIAP ขึ้นมา ตอนนั้นเรามีข้อเสนอจากทาง บพท. มาถึงทางสมาคมเทศบาลนครและเมือง เพราะเห็นว่าสมาคมฯ มีศักยภาพ และมองว่าน่าจะเป็นโอกาสสำคัญที่จะสามารถสร้างการวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาเมืองที่ชัดเจนได้ แล้วก็น่าจะสร้างตัวอย่างนําร่องให้กับท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในวันนี้เรามีเทศบาลอยู่ทั่วประเทศกว่า 2,400 แห่ง เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลนครรวมแล้ว 225 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เราก็สามารถคัดเลือกพื้นที่เฉพาะเจาะจงลงไปได้ และการที่สำคัญคือความตั้งใจ และความต้องการอยากร่วมมืองานของทางสมาคมที่เห็นประโยชน์กับการดำเนินการครั้งนี้ มีอยู่แล้วเป็นที่ตั้ง ตลอดการทำงานที่ผ่านมา เรามีนายกฯ จากหลายเมืองเข้าร่วม และเล็งเห็นประโยชน์ เพราะงานนี้เป็นงานวางรากฐานสร้างเมืองในระยะยาว แล้วก็สามารถที่จะเป็นประโยชน์กับพื้นที่ของทุกท่านในอนาคต แต่หัวใจสำคัญว่างานจะประสบความสำเร็จหรือไม่…
"เรามีโคม และเรามีคน คนลำพูนที่ช่วยกันทำโคมประดับเมือง ไม่ใช่แค่หลักร้อยหรือหลักพัน แต่เป็นหลักแสนดวง" นายกบุ่น - ประภัสร์ ภู่เจริญ ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำพูนครั้งแรกในปี 2538 ขณะมีอายุเพียงสามสิบต้น ๆ นับเป็นหนึ่งในนายกเทศมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศ ณ ขณะนั้น ด้วยพื้นเพจากครอบครัวนักธุรกิจ ประกอบกับทีมงานรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดก้าวหน้า เขาได้ผลักดันให้ลำพูนซึ่งเคยเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้าม กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา โดดเด่นทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตของผู้คนหนึ่งในผลงานที่เห็นได้ชัดคือการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบคูเมืองโบราณให้กลายเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่น ขยายพื้นที่สีเขียว…
การกล่าวภาพรวมการขับเคลื่อนโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดระยะที่ 1บรรยายโดย ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม หัวหน้าโครงการโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด CIAP | นายฉัตรกุล ชื่นสุวรรณกุล รองนายกเทศบาลเมืองสระบุรีและที่ปรึกษาโครงการฯ CIAP ภายในงาน เวทีแถลงความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด (CIAP) วันที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 - 16.00 น.ณ ห้องประชุม กมลทิพย์ 2 (Kamolthip 2)…
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณท่านนายกฯ สมาคมเทศบาลนครและเมือง เจ้าหน้าที่เทศบาล อาจารย์ นักวิจัยทุกท่าน ขอขอบคุณที่ร่วมยืนหยัดในเรื่องการใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้เราจะได้รับฟังกันและกันถึงประสบการณ์ ที่เราร่วมทำงานกันเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมาเราต่างพบว่า ข้อมูล คือ ต้นทุนสำคัญ วันนี้ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่าเราจะทํายังไงเพื่อใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเชื่อมั่นว่าในเรื่องของความรู้ข้อมูล ถ้าไม่ลงมือทำในระดับ ท้องถิ่นของเรา โอกาสที่จะประสบความสําเร็จในงานพัฒนาเมืองจะเป็นไปได้ยากมาก เพราะอย่างที่เราทราบโครงสร้างสังคมและการบริหารของเรามันแยกส่วนเป็นขนมชั้น แบ่งระหว่างรัฐบาลส่วนกลาง ท้องถิ่นและภาคประชาชน การทำงานเป็นแบบแนวตั้ง ไม่ต่อเนื่องกัน และมีรอยแยก วัตถุประสงค์หลักของพวกเรา คือ การใช้ข้อมูลเมืองให้ได้มากที่สุด และผมคิดว่าเราน่าจะเป็นทีมแรกๆ ที่จัดการและใช้ข้อมูล ผสานกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และกลไกซึ่งก็คือผู้คน ช่วยกันสร้างเมืองที่เรารักให้น่าอยู่ กลไกที่เราพูดถึง คือ ผู้คน รวมกันเป็นขบวนแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน คือ ขบวนของคนที่รัก เมือง และช่วยกันมองเมือง และตั้งคำถามว่าเมืองของเราเป็นอย่างไรเรารู้จักเมืองของเราดีแค่ไหน ตัวชี้วัดสําคัญ…
เมืองริมแม่น้ำที่การจัดการความเสี่ยงอุทภัยเป็นเลิศระดับประเทศ สู่การขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด อ่าน Ebook ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/xoso/ Download PDF File : https://shorturl.asia/ijgQb บอกเล่าเรื่องราวมุมมองคนปากเกร็ดนำโดย นายกฯ วิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด และคณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาลนครปากเกร็ด และหัวหน้าโครงการวิจัยปากเกร็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด รศ.ดร.สมพร คุณวิชิต อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จ.สงขลา ___…
เมืองสระบุรี เมืองแห่งโอกาสและการมีส่วนร่วม กับการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองสู้โจทย์เมืองหดตัว อ่าน Ebook ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/ptxz/ Download PDF File : https://shorturl.asia/W362o บอกเล่าเรื่องราวมุมมองพลเมือง ทีมวิจัย และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี นำโดย นายกฯ ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี นายกเทศมนตรีเมืองสระบรุรี และคณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี และหัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว” ผศ.สรายุทธ…
“สืบเนื่องจากงานวิจัยเมื่อปีก่อน (แนวทางการพัฒนาเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดยคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากทุนวิจัยของบพท. ปี 2566) จนมาถึงงานวิจัยการพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัวในปีนี้ ได้สำรวจพื้นที่เทศบาลเมืองสระบุรี ว่าพื้นที่ตรงไหนมีศักยภาพ ใครใช้ประโยชน์บ้าง ก็จะมีโครงการมารองรับการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้เพื่อตอบโจทย์ให้คนยังอยากใช้ชีวิตอยู่ในเมือง รู้สึกว่าเมืองตอบโจทย์การใช้ชีวิต ด้านสุขภาพ ด้านการประกอบอาชีพ หรือการมีอนาคตที่ดีกับเมือง อยากลงหลักปักฐาน มากกว่าไปทำงานในกรุงเทพฯ คือสระบุรีจะมีรถไฟความเร็วสูง มีระบบคมนาคมขนส่ง…
“เราย้ายจากเทศบาลเมืองเขาสามยอด ลพบุรี มาอยู่เทศบาลเมืองสระบุรีประมาณ 2 ปี ก็พอดีกับท่านนายกฯ คนใหม่ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี ปี 2564-ปัจจุบัน) ที่เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง วาง 4 ยุทธศาสตร์ ‘สร้างเมืองน่าอยู่ สร้างคนคุณภาพ’ ทำงานโดยการประสาน ลงพื้นที่…
“นโยบายของท่านนายกฯ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี) คืออยากเพิ่มช่องทางการบริการให้ประชาชน เมื่อก่อน เวลาประชาชนมาติดต่อราชการ จะมีเสียงบ่นว่า นาน ช้า เสียเวลา ทำเรื่องยาก เอกสารเยอะ ประกอบกับช่วงนั้นมีสถานการณ์โควิด-19 การมาติดต่อราชการคือลดไปเลย จึงพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของเทศบาลเมืองสระบุรีขึ้นมา เพื่อให้บริการพี่น้องประชาชน ไม่ต้องเดินทางมาเทศบาลฯ จะได้ร้องเรียน ร้องทุกข์…
“ความเป็นเมืองสระบุรี เราเป็นเมืองผ่านไปสู่จังหวัดต่าง ๆ เป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีโรงงานเยอะ แต่ถ้าในบริบทตำบลปากเพรียวที่เป็นเขตเทศบาลเมืองสระบุรีคือไม่มีโรงงาน ยังเป็นชุมชนชาวบ้าน มีตลาดนัด ตลาดต่าง ๆ แต่หลังจากที่มีโรคโควิด-19 คือจุดเปลี่ยน คนที่เคยอยู่ตรงนี้ ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นมากขึ้น ทำให้สภาพบ้านเมืองเงียบเหงาลง ที่เห็นชัดคือร้านปิดตัว ห้างที่มีคือห้างทวีกิจ ห้างสุขอนันต์ ก็เริ่มดรอปลง คนที่เคยเดินเยอะก็เงียบเหงา…