“พื้นที่เขตคลองสานมี 34 ชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนแบ่งกันดูแล 4-6 ชุมชน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะของชุมชน ในชุมชนก็มีในรูปของคณะกรรมการชุมชน จัดตั้งตามระเบียบเพื่อดูแลลูกบ้าน เมื่อมีเรื่องต้องประสานงานเราก็จะประสานผ่านคณะกรรมการชุมชน ส่งเสริมการอยู่อาศัยในชุมชนห้าด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ เศรษฐกิจ อนามัย การแบ่งชุมชนมีหลายประเภท ทั้งชุมชนเมือง เคหะชุมชน ชุมชนชานเมือง…
“ผมเป็นภูมิสถาปนิก เปิดบริษัทด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะมาสิบกว่าปี ในบทบาทนึงเราก็เป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็เห็นว่ามีปัญหาที่วิชาชีพหรือความรู้ที่เรามีเข้าไปแก้ไขปัญหาเมืองให้น่าอยู่ขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเป็นเจ้าของได้ ทีนี้เรามองว่าสมาชิกทุกคนในเมืองมีทรัพยากรครบอยู่แล้ว ทุน ที่ดิน ความรู้ ความร่วมมือ แต่ไม่เคยมารวมกัน หรือทำกันคนละทีสองที ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะไม่ได้เป็นรูปธรรมจริงจัง แล้วความท้าทายของเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรเพิ่ม โลกร้อน ในขณะที่การเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ หรือเราไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของ…
“เดิมผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตธนบุรี เพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นี้เอง ผมก็เข้ามาเรียนรู้ว่าเขตคลองสานมีอะไรดี จะทำอะไรได้บ้าง ตอนผมอยู่ธนบุรี มีย่านกะดีจีน ซึ่งต่อเนื่องไปเป็นฝั่งคลองสาน สามารถทำเส้นทางท่องเที่ยวได้ยาวต่อเนื่องเลย เริ่มตั้งแต่บางกอกน้อย มาบางกอกใหญ่ ข้ามมาธนบุรีคือวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านกะดีจีน วิ่งลอดใต้สะพานพุทธ ก็เข้าเขตคลองสาน ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่ศาลเจ้ากวนอู สวนสมเด็จย่า…
“ชุมชนสวนสมเด็จย่าเข้มแข็งพอสมควร บทบาทคณะกรรมการชุมชนสองสามปีนี้เกี่ยวกับโควิด หนักไปทางบริการชุมชน ติดต่อประสานงานสาธารณสุข ดูแลคนในชุมชนที่ติดโควิด เอาข้าวไปแขวนให้เขา โดยมีผู้ใหญ่ใจดีนำสิ่งของมามอบให้ ลักษณะเราเหมือนจิตอาสา ทุกคนมาทำไม่มีเงินเดือนนะ บางอย่างต้องออกเงินไปก่อนค่อยไปเบิกเงินที่เขต ถือว่าชุมชนมีความรักความสามัคคี อยู่ร่วมกลุ่มกัน ไทย จีน แขก เพราะชุมชนเก่าแก่อยู่กันมาเป็นร้อยปี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน นับญาติกัน คนใหม่เข้ามา คนเก่าย้ายไป…
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการและกิจกรรมขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่เปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร มาเป็นเวลากว่า 12 ปี โดยร่วมกับประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน (บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ) และภาคีพัฒนา ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา…
“อาตมารู้จักอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง - UddC) สิบกว่าปีที่อาจารย์มาทำโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่น่ามอง มีนิทรรศการเล็กๆ ข้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ มีเวทีเสวนาเรื่องความเข้มแข็งในชุมชน อาตมาในฐานะพระเลขาของวัดประยุรฯ ก็เล่าเรื่องนกมูลไถ (สกุณัคฆิชาดก) ให้ฟังว่า นกมูลไถที่เอาชีวิตรอดได้เพราะเขารู้จักถิ่นอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง ทำให้เขาเข้มแข็งได้ ก็เป็นการตอบรับที่ดีมาก แล้วโครงการฯ ก็เข้าทุกตรอกซอกซอยในชุมชนด้วยแนวคิดว่า…
“ชุมชนซอยช่างนาค-สะพานยาวเปลี่ยนไปเยอะ คนพื้นที่เดิมขยับขยายไปซื้อที่อื่น เอาที่มาทำบ้านเช่า คนนอกพื้นที่มาเช่าอยู่เยอะ แต่ที่อยู่ๆ กันมา ก็มีทั้งคนจีน แขกขาวก็เยอะ มุสลิมก็มี จุดขายของเราคือมัสยิดเซฟี เพื่อนบ้านเราคือท่าดินแดง ก็มีศาลเจ้าซำไนเก็ง ศาลปึงเถ่ากงม่า สมัยก่อนตลาดท่าดินแดงของกินเยอะกว่านี้ เที่ยงคืนตีหนึ่งคนยังแน่น เดี๋ยวนี้ไม่มีละ ที่ลดลงคือคนท่าดินแดงย้ายออก โดนไล่ที่ และความเจริญมา คนรุ่นใหม่ไปอยู่บนห้างเยอะ…
“เป็นครูมา 28 ปี เกษียณอายุก่อน แล้วมาทำร้านที่บ้าน เมื่อก่อนขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ มีเครื่องดื่มพวกนมสด โกโก้ โอวัลติน ขนมปังปิ้งต่างๆ พิซซาเบคอน พอเปิดซักระยะก็มาขายเต็มตัว หยุดเฉพาะวันอังคาร นอกจากมีจอง 6-10 คนขึ้นไปถึงจะเปิดให้พิเศษ เพิ่มรายการอาหารมากขึ้น พวกขนมจีน สเต็ก พาสตาคาร์โบนารา…
“หนังสือ “สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ” บันทึกไว้ว่าพื้นที่บริเวณนี้มีชาวจีนมาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ก่อนการขุดคลองลัดบางกอก ทีนี้พอคนจีนมาอยู่ ก็มีศาสนสถาน มีภิกษุจีนมาพำนักอยู่ในกุฎีหรือกุฏิ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็บอกนี่แหละ ที่เรียกว่ากุฎีจีน ก็เป็นที่มาของคำว่า กุฎีจีน คือเป็นกุฎีที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ ชาวจีนที่เข้ามาตอนนั้นผสมกัน ไม่ได้แยกว่าเป็นจีนใด แต่พอสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้พระยาวิไชเยนทร์สร้างป้อมวิไชยเยนทร์…
น้ำลูกยอ สูตรสมเด็จนวมฯ คือคุณปู่ (เชย ศรีวิทย์) ได้สูตรมาทำตอนที่บวชเรียนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโรมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดอนงคารามตอนนั้น พอคุณพ่อเข้าปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงสงครามโลกที่สอง คุณพ่อก็เป็นเสรีไทย ตกเย็นก็ฝึกอาวุธฝึกอะไรกันตรงใต้ถุนโดมริมน้ำ กลับบ้าน คุณปู่ก็ตักน้ำลูกยอจากโหล 1 ช้อนคาว ให้กินก่อนนอนทุกวัน เพราะสรรพคุณคือ เป็นยาอายุวัฒนะ…