หากกล่าวถึงย่านฝั่งธนฯ ในการรับรู้และความทรงจำของใครหลายคนที่เคยอ่านนวนิยายเรื่อง “แวววัน” นั้นคือพื้นที่ฝั่งตรงข้ามของพระนครที่ความเจริญยังไม่เข้าถึง เต็มไปด้วยสวนผลไม้ สวนหมากพลูที่แวววันมีหน้าที่เรียงพลูเพื่อหาเงินพิเศษไว้ใช้จ่าย เรือข้ามฟากคือพาหนะหลักในการจะข้ามไปฝั่งพระนคร ในนิยายเรื่องแวววันนั้น ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าที่บ้านสวนของแวววันจะมีไฟฟ้า มีน้ำประปาเข้าถึง ฝั่งธนฯ ในความคิดคำนึงของใครหลายคนที่ได้อ่านนวนิยายเรื่องนี้เมื่อกว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา จึงไม่ต่างอะไรจากบ้านนอกทั่วไปของไทย แต่ในเมื่อฝั่งธนฯ คือพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับพระนครและเป็นหนึ่งเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครฯ การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนฯ จึงก้าวไปพร้อมๆ กับที่กรุงเทพฯ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สวนผลไม้ที่เคยส่งกลิ่นหอมในบันทึกของเฟรเดอริก…
“บ้านหลังนี้เป็นของคุณป้า คุณป้าคุณลุงเสีย ก็ปิดไว้เฉยๆ เพราะลูกชายเขาที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันย้ายไปอยู่นอกกุฎีจีน พอคิดทำพิพิธภัณฑ์เลยทาบทาม เขาก็ตกลง โอนสิทธิ์การเช่าที่ดินแล้วก็มาปรับโครงสร้างข้างล่างซึ่งสูงแค่เมตรยี่สิบ เราทำอะไรไม่ได้เลย ก็ยกบ้านดีดขึ้นไปเป็นสามเมตรกว่า เสริมคาน ฐานราก ปรับพื้นที่ข้างบน แล้วก็ได้พื้นที่เพิ่มด้านหลังกับที่อีกนิดนึงของสำนักมิสซัง ก็ขออนุญาตเช่าจากวัดซางตาครู้ส แล้วก่อนทำ เราก็เชิญคนรอบบ้านที่จะมีผลกระทบจากการทำตรงนี้มาคุย ก็ไม่มีใครคัดค้าน เขาก็มีข้อแนะนำ คนที่อยู่ในนี้ก็อยู่กันมานาน เป็นพี่เป็นน้อง…
“คำว่า ย่าน คือพื้นที่ที่เป็นจิตสำนึกของคนใน แต่เนื่องจากพื้นที่การบริหารการปกครองเปลี่ยนตั้งแต่อำเภอ ตำบล เขต ทำให้พื้นที่ทางวัฒนธรรมของคนที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ เลือนหายไป เลยคิดว่าเราควรสร้างสำนึกชุมชนของความเป็นย่านขึ้นมา ที่จะใช้ต่อรองกับฝ่ายปกครองได้ ซึ่งทำให้มีโอกาสเจอกับอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง - UddC) ที่มาทำงานในย่านนี้กว่าสิบปี ต้องบอกว่าอาจารย์มาทางสายสถาปัตย์ฯ แล้วขยายไปทางการผังเมือง…
“ไอคอนสยามเปิดมาปีนี้เป็นปีที่สี่ แต่เรามีโอกาสมีส่วนร่วมกับโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานและต่อยอดโครงการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้มาก่อนที่ห้างจะเปิด คือโดยคอนเซปต์ เราไม่ใช่แค่ศูนย์การค้า เราบอกทุกคนว่า ไม่ใช่ที่ที่มาเพื่อซื้อของ แต่เราอยากให้เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกอย่างคือจุดเริ่มต้นนโยบายของผู้บริหารเลยว่า เมื่อไหร่ที่เรามีบิ๊กโพรเจกต์เกิดขึ้น มันจะมาทั้งความต้อนรับและข้อสงสัย เราจะเตรียมพื้นที่ยังไงไม่ให้เราสร้างความเดือดร้อน แต่เราจะเป็นคนที่มาด้วยความมีประโยชน์มากกว่า เลยเป็นที่มาที่เราอยากร่วมมือกับภาคการศึกษาหรือใครก็ตามที่มีแนวคิดนี้เหมือนกัน คือไอคอนสยามจะมาพร้อมกับนักท่องเที่ยววันละสองแสนคน เพราะฉะนั้นพื้นที่รอบๆ ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเขาจะได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ค้าขายหรือทำเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรามีคอนเซปต์เดียวกับโครงการวิจัยฯ ที่จะทำให้ทุกพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองเข้มแข็ง…
“คลองสานมีศักยภาพทั้งมิติเชิงประวัติศาสตร์ มิติเชิงวัฒนธรรม มิติของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย บริบทตัวพื้นที่คลองสานเองที่อยู่ริมน้ำ ชุมชนเก่าผสมกับวิถีชีวิตใหม่ๆ มีความเป็นย่านท่องเที่ยวด้วย ประกอบกับมีพื้นที่เอกชนแปลงหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติลดหย่อนภาษีให้เอกชนให้ที่ดินกับรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็เลยพัฒนาพื้นที่คลองสานเป็นต้นแบบ และเป็นย่านที่หลายๆ กลุ่มให้ความสนใจเข้าไปอยู่แล้ว ถ้าสามารถกระตุ้นให้ไปในทิศทางที่ไม่ได้ไปในทางท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาเพื่อชุมชนด้วย ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ ทำยังไงให้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะตรงนี้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจริงๆ เราหาสามเครือข่าย กลุ่มรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาคุยกัน ให้คนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมออกแบบโปรแกรมที่ทำให้มีการใช้งานที่ตอบสนองกับคนในพื้นที่จริงๆ…
“จุดเริ่มต้นของร้าน Deep Root Café คือการปั่นจักรยานมาเจอ นึกว่าคุ้นๆ นะ เป็นทางเดินกลับบ้านเราเองตอนยังเด็กมาก บ้านผมอยู่สำเพ็ง ฝั่งโน้น ผมเรียนโรงเรียนแสงอรุณ จากวัดซางตาครู้สเดินผ่านทางนี้ ก็ร้างๆ อยู่แล้วล่ะ พอมาเห็นรู้สึกสงสารพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นห้าสิบปี รู้สึกว่าเราพอจะทำอะไรบางอย่างได้มั้ย อีกข้อนึง ผมทำงานในตัวเมืองโซนสยามสแควร์ เราอยากหนีความวุ่นวาย อยากให้มีพื้นที่รีแลกซ์สำหรับคนในเมืองที่วุ่นวายกับชีวิตในวันหนึ่งๆ…
“ในตัวผมมีสองบทบาทคือนักวิชาการที่เป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ฯ และทำงานสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับบทบาทที่เป็นคนในชุมชนกุฎีจีน คือผมเป็นเขย แต่งงานก็เข้าไปอยู่ในย่านจนทุกวันนี้ ลูกก็โตอยู่ในย่าน ซึ่งสองบทบาทนี้เกื้อหนุนกัน เห็นมุมมองตั้งแต่ระดับนโยบาย การช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ เช่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามา ทำให้มองภาพรวมของชุมชนได้กว้างกว่าคนที่อยู่ในชุมชนเอง ขณะเดียวกัน ก็เห็นความต้องการของคนที่อยู่ในชุมชน รู้ว่าลิมิตของเขามีแค่ไหน…
“ผมเป็นคนอุดรฯ แต่มาจบนิติศาสตร์ ที่มข.ครับ จริง ๆ ไม่ได้เรียนมาทางสายศิลปะ ด้วยความที่ทางบ้านไม่ได้มีฐานะ ช่วงเรียนก็เลยหางานทำ ทำมันทุกอย่างรับหมด ตั้งแต่แจกใบปลิว ไปถึงขายน้ำปั่น หรือจะเล่นดนตรีอันนี้ก็รับ อย่างหลังนี่คือผมถนัด ชอบ และก็ทำวงกับเพื่อนแบบจริงจัง ก่อนจะจบได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำบทความ แล้วนิตยสารชื่อ ‘ทางอีสาน’ เป็นนิตยสาร Local…
เปิดแนวคิด กลยุทธ์ และแนวทางการขับเคลื่อนเมืองพะเยา และเมืองหาดใหญ่ สู่การเป็นสมาชิกใหม่เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ UNSECO โดยนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) [ เมืองพะเยา ] - รศ.ดร.ผณินทรา ธรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่พะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดล…
We Citizens Thailand ชวนอ่านเรื่องราวของหาดใหญ่ผ่าน e-book ที่ Wecitizens : เสียงหาดใหญ่ - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip