“ทีมมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลงพื้นที่เมืองราชบุรีร่วมกับทางคณะโบราณคดี มาตั้งแต่โครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์ในปี 2563 ซึ่งได้รับทุนจาก บพท. เช่นเดียวกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปี 2564-2565 โดยในโครงการนั้น เราได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปหัตถศิลป์ท้องถิ่น ครอบคลุมตั้งแต่การวาดรูป การปั้นดิน การทำความเข้าใจงานหัตถกรรมพื้นบ้าน และการแชร์ความคิดด้านการออกแบบเมืองที่ทุกคนอยากเห็น กิจกรรมครั้งนั้นทำให้เราพบว่าเด็กราชบุรีหลายคนแม้จะคุ้นเคยกับโอ่งมังกร แต่ก็แทบไม่เคยสัมผัสดินที่ใช้ปั้นโอ่งเลย เราก็เลยให้เขาลองปั้นดิน และมาร่วมกันออกแบบประติมากรรมที่สะท้อนความเป็นเมืองราชบุรี เพื่อนำไปติดตั้งบริเวณริมแม่น้ำแม่กลองกันประติมากรรมรูปมังกร…
“แม่เรียนทอผ้ามาจากแม่ (คุณยายซ้อน กำลังหาญ) และพี่สาว (ทองอยู่ กำลังหาญ) แม่ของแม่มีลูก 5 คน ลูกชาย 2 ลูกสาว 3 โดยลูกสาว 3 คนของบ้านจะทอผ้าเป็นทุกคน เพราะเกิดมาก็เห็นแม่ทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้านแล้ว ลูกๆ หลานๆ ที่เป็นผู้หญิงครอบครัวนี้…
“ความที่เราเป็นนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์และศิลปะจีนในประเทศไทยมาอยู่แล้ว พอได้ลงพื้นที่ราชบุรี ทำโครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์เมื่อปี 2563 บริเวณชุมชนตลาดเก่า (ตลาดโคยกี๊) เมืองราชบุรี ซึ่งมีรากเหง้าของวัฒนธรรมชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทย จึงทำให้การศึกษาวิจัยของเราโครงการนี้เชื่อมร้อยกันได้ง่าย เราพบว่าผู้คนในชุมชนตลาดเก่าต่างตระหนักดีถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ และมีความแอคทีฟอยากเห็นย่านที่พวกเขาอาศัยได้รับการพัฒนา เพียงแต่เขาไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไร พอเราได้แลกเปลี่ยนกันก็พบว่า ชาวชุมชนต้องการสร้างสื่อที่เป็นรูปธรรมจากฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยคิดถึงการสร้างแลนด์มาร์ค หรือจุดถ่ายรูปเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปและเรียนรู้ในพื้นที่ด้วยเหตุนี้ นอกจากการจัดทำฐานข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมทั้งในรูปแบบของเอกสารและฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองเก่า…
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตรเป็นที่นิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งสะท้อนค่านิยมและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปในทางใฝ่หาการเรียนรู้ความดั้งเดิม จริงแท้ของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น ประเทศต่างๆ จึงใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นกลไกสำคัญหนึ่งในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สำหรับจังหวัดจันทบุรีเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตรที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่หมู่บ้านไร้แผ่นดิน บ้านบางชัน (อำเภอขลุง) และบ้านหนองชิ่ม-เกาะเปริด (อำเภอแหลมสิงห์) มีที่พักแบบโฮมสเตย์และกิจกรรมล่องแพเปียก ชมป่าชายเลน ดูเหยี่ยว เที่ยวทะเลใน และทะเลแหวกปากน้ำเวฬุ (อำเภอขลุง) ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น…
จังหวัดจันทบุรีอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งพื้นที่ป่า ภูเขา ทะเล เป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล อีกทั้งมีความหลากหลายของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชุมชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมหลายชนชาติซึ่งเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของจันทบุรีมาแต่อดีตกาล อาทิ ชาวจีน ชาวญวน และชาวชอง ซึ่งถือเป็นชนพื้นเมืองจันทบุรี มีภาษาพูดเป็นภาษาชองที่แตกต่างจากภาษาเขมรและภาษาไทย ทางมานุษยวิทยาจัดให้อยู่ในจำพวกตระกูลมอญ-เขมร เช่นเดียวกับพวกขอมโบราณ โดยอาศัยอยู่บริเวณอำเภอขลุง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด อันเป็นชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา น้ำตก ป่าชายเลน…
ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของอำเภอขลุง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการข้อมูล ถอดอัตลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรม วิถีเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลของอำเภอขลุง ขับเคลื่อนกระบวนการบริหารเมืองบนพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้อำเภอขลุง ด้วยแนวคิด “เมืองขลุงพหุวัฒนธรรมและเกษตรนำวิถี มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเรียนรู้และสร้างรายได้”…
ในการดำเนินโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” อาศัยการสร้างกระบวนการศึกษาและสังเคราะห์เนื้อหาที่ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกด้านวัฒนธรรมและเกษตร อำเภอขลุง นำมาสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างและจัดทำพื้นที่การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการรวบรวมชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว อาหารพื้นถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนของอำเภอขลุง…
“ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” มีสองโครงการวิจัยย่อย หนึ่ง. คือการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ สอง. การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม พื้นที่การเรียนรู้เทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผมรับหน้าที่หัวหน้าโครงการฯ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ จากโครงการย่อยที่หนึ่ง ซึ่งทีมดร.ลัญจกร…
“ภายใต้โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เรารับผิดชอบดูแลการจัดศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตร เก็บข้อมูลทั้งอำเภอขลุง ครอบคลุมทั้ง 12 ตำบล เราแยกกลุ่มชัดเจน กลุ่มที่เป็นเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนิสิตนักศึกษา กระจายไป 200 กว่าชุดข้อมูล เพื่อสอบถามและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชิงเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรดั้งเดิม…
“สิบสี่ปีที่แล้ว เราทำงานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ยุคนั้นเป็นยุคที่มีการนำเด็กๆ ในพื้นที่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์กัน พิพิธภัณฑ์เราก็ทำกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์อาสาเหมือนกัน โดยชวนนักเรียนจากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองและวัตถุจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราไปชวนเด็กนักเรียน ส่วนมากเขาจะถามคำแรกก่อนว่ามีใบประกาศนียบัตรไหม เพราะเขาอยากเอาไปเป็นพอร์ตโฟลิโอ ขณะเดียวกัน เมื่อประสานไปยังโรงเรียนต่างๆ คุณครูก็มักจะเลือกเด็กนักเรียนที่เก่งที่สุดหรือมีทักษะทางการสื่อสารที่ดีที่สุดมาร่วมกิจกรรม ผลปรากฏว่า หลังจากที่เราอบรมความรู้ต่างๆ แก่เด็กๆ และมอบใบประกาศนียบัตรเสร็จเรียบร้อย เด็กๆ…