“ผมคิดทำศูนย์เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว เพราะได้เรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง ก็อยากมาทำที่บ้านผม รวมหมดทุกอย่างที่จุดนี้ ไม่ต้องไปที่ไหนไกล เรามีเครือข่าย อยากมีความรู้ด้านไหนก็แจ้งมา ด้านการเกษตร ปลูกผัก ปลูกพืช ขยายพันธุ์พืชด้านการตอน การเสียบยอด เลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่ ปั้นกระถาง ทำถ่านอัดแท่ง ผมทำบ้านต้นไม้ไว้ 3 หลัง…
“พื้นที่ของขลุงมี 3 พื้นที่ เดิมทีคนไทยเราอยู่ตามริมคลองขลุง ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทไล่มาจนถึงแยกบ้านขลุง รีสอร์ท ชุมชนคนจีนอยู่ในตลาด คนเวียดนามอยู่โซนบ้านล่าง ซึ่งแต่ก่อนเขากีดกันกันหมด คนเวียดนามไม่มีน้ำจืดกิน ต้องเดินมาตักน้ำ ไม่แลกปลากุ้ง เลยทำให้วัฒนธรรมความผูกพันมีก็จริงแต่ไม่ได้ลึกซึ้งนัก ตัวผมเองเข้ามาโครงการพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ คือเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่ง แม่ผมเป็นคนขลุงพื้นถิ่นที่นี่ มีเชื้อสายชองมาพัวพันด้วย พ่อผมเป็นลูกจีนกับลูกเวียดนามผสมกัน เป็นคาทอลิก ผมเป็นลูกเสี้ยวละ…
“เดิมอำเภอขลุงมีฐานะเป็น “เมืองขลุง” มีเจ้าเมืองปกครอง จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 128 ขลุงได้รวมกับเมืองทุ่งใหญ่ คือเมืองแสนตุ้ง รวมมาเป็นเมืองขลุง ต่อมารวมเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองขลุง เป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า “มณฑลจันทบุรี” มาเป็นได้ปีเดียวก็ยกเลิก ทำให้เรามีศาลหลักเมือง ปกติตามอำเภอจะไม่มีศาลหลักเมือง มีตามจังหวัดเท่านั้น…
“หน่วยงานเกษตรอำเภอขลุงเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข ทีนี้อำเภอขลุงเป็นอำเภอใหญ่ ก็เหมาะที่จะทำเป็น Learning City เนื่องจากเกษตรกรที่นี่เก่งมาก และข้อเด่นคือมีหลายจุดเรียนรู้ จุดแรกคือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่ตำบลตะปอน กลุ่มทองใส สมศรี ซึ่งเป็นตัวแทนให้กรมเราได้เวลามีงานถ่ายทอดความรู้และบูรณาการกับหน่วยงานอื่น อีกจุดก็ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ที่ตำบลซึ้ง เป็นตำบลที่มีทุเรียนมาก เป็นทุเรียนพันธุ์กระดุม ซึ่งปลูกก่อนใคร ออกก่อนใคร เขาทำเชื้อไตรโคเดอร์มา…
“ตามความเข้าใจของคน ขลุงคืออำเภอขลุงทั้งหมด แต่จริงๆ คำว่า ขลุง คือส่วนเทศบาลเมืองขลุง อย่างที่เขาพูด ตรงนี้คือตำบลตะปอน ตรงนี้ตำบลซึ้ง เลยไปเป็นตำบลบ่อ เขาจะเรียกตัวเองว่า คนบ่อ เราอยู่ในเมือง ก็คนขลุง ในแต่ละที่การใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน คนในเมืองจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง บ้านล่างกับบ้านบนกั้นที่สามแยก ถ้าบ้านบน (อยู่ตอนบนของเขตเทศบาลเมืองขลุง ย่านตลาดขลุง)…
“พื้นที่หมู่ 2 ตำบลบางชัน มี 3 หมู่บ้านย่อย บ้านเลนตัก บ้านแหลมหญ้า และบ้านโรงไม้ ตรงนี้ใช้ 3 ชื่อ ชื่อภาษาราชการคือ บ้านปากน้ำเวฬุ เพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำเวฬุ ชื่อภาษาถิ่น เรียก บ้านโรงไม้ มาจากคนจีนที่อพยพมา เก่งเรื่องค้าขาย…
“ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านตะปอนน้อยมี 2 งาน คืองานฝีมือ กับงานแปรรูปสินค้าทางการเกษตรซึ่งแปรรูปจากผลไม้ท้องถิ่นของเราเอง คือเรามีปัญหาว่า ในช่วงที่ผลไม้เยอะ อย่างมังคุดนี่เหลือแค่กิโลละ 4 บาทเท่านั้น เลยปรึกษากับอาจารย์ที่มทร.จันทบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี) ว่าสกัดน้ำมังคุดไว้แต่ไม่รู้เอาไปทำอะไรได้อีก อาจารย์แนะนำให้ทำน้ำจิ้มสุกี้ มีองค์ความรู้ที่ทำไว้แล้ว ก็เอามาทำ พอเข้าโครงการของ U2T (โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ…
“ครัวอัจฉราร้านแรกเป็นรถเข็นอยู่ในตลาดสดเทศบาลเมืองขลุง ปีนี้ปีที่ 40 ปีแล้ว ขายโจ๊ก ข้าวต้ม แล้วผมมาเปิดเป็นรุ่นที่สองของร้าน ผมเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จบแล้วก็ทำบริษัทออร์แกไนซ์กับเพื่อน ทีนี้แม่อยากให้กลับมาทำเพราะได้ที่ตรงนี้ เป็นศูนย์อาหารเล็กๆ มี 6 ร้าน ร้านเราขายช่วงเช้า ตี 5 ถึงประมาณบ่าย 2 เมนูก็เหมือนร้านข้างในตลาดที่ตอนนี้ป้าทำ…
“โรงเรียนวัดตะปอนใหญ่เป็นโรงเรียนในตำบลตะปอน ตั้งอยู่ในที่ดินของวัด ตอนเย็นชุมชนได้ใช้เป็นสนามออกกำลังเล่นฟุตบอล เรามาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ก็ได้กลับมาบ้านเก่านะ ก็ตั้งใจเต็มที่ที่จะพัฒนา มีประสบปัญหาเรื่องงบประมาณเป็นหลัก เพราะโดยรวม อาคารโครงสร้างชำรุดทรุดโทรม ส่วนที่เราทำเองได้ หน่วยงานต้นสังกัดช่วยเหลือแล้ว บางทีก็ไม่เพียงพอ ของเราเลยยึดหลัก บวร บ้าน-วัด-โรงเรียน เอาให้แน่นเลย ท่านพ่อ พระครูสาราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดตะปอนใหญ่รูปปัจจุบัน ซึ่งท่านเป็นเจ้าคณะตำบลเกวียนหักด้วย…
“เปิดร้าน One More Cafe 3-4 เดือนแรกไม่มีลูกค้าเลย ผมจัดร้านค่อนข้างอินดี้ บาร์ชงกาแฟอยู่ข้างใน ด้านหน้าจัดโซนเก้าอี้ให้ลูกค้านั่ง ป้ายไวนิลก็ไม่มี มีแค่ป้ายตั้งหน้าร้าน กลายเป็นว่าไม่มีใครเห็นร้าน นี่คือจุดที่เราพลาด พอขยับบาร์ชงกาแฟมาอยู่หน้าร้านก็ดีขึ้น จนเปิดร้านได้ครึ่งปีถึงเริ่มอยู่ตัว คอนเซปต์ร้านคือมีเครื่องดื่มแก้วโปรดให้ลูกค้าทุกคน บางทีลูกค้าถามว่าอะไรอร่อย ผมไม่สามารถตอบได้ เครื่องดื่มมีรสชาติของตัวเอง ก็ถามว่าลูกค้าชอบแบบไหน…