การมีนักท่องเที่ยวหรือใครเข้าไปทำให้หลายอย่างดีขึ้น บางที่มีของกินของดีแล้วหายไปเนื่องจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้าไป เขาก็จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาให้เห็น อันไหนที่ซบเซาไปก็จะเรียกคนกลับมา

2 years ago

“เดิมผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตธนบุรี เพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นี้เอง ผมก็เข้ามาเรียนรู้ว่าเขตคลองสานมีอะไรดี จะทำอะไรได้บ้าง ตอนผมอยู่ธนบุรี มีย่านกะดีจีน ซึ่งต่อเนื่องไปเป็นฝั่งคลองสาน สามารถทำเส้นทางท่องเที่ยวได้ยาวต่อเนื่องเลย เริ่มตั้งแต่บางกอกน้อย มาบางกอกใหญ่ ข้ามมาธนบุรีคือวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านกะดีจีน วิ่งลอดใต้สะพานพุทธ ก็เข้าเขตคลองสาน ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่ศาลเจ้ากวนอู สวนสมเด็จย่า…

สิ่งที่อยากจะฝากคือ โครงการมาดีอยู่แล้ว แต่จะทำยังไงให้ต่อเนื่อง มันต้องลงทุน

2 years ago

“ชุมชนสวนสมเด็จย่าเข้มแข็งพอสมควร บทบาทคณะกรรมการชุมชนสองสามปีนี้เกี่ยวกับโควิด หนักไปทางบริการชุมชน ติดต่อประสานงานสาธารณสุข ดูแลคนในชุมชนที่ติดโควิด เอาข้าวไปแขวนให้เขา โดยมีผู้ใหญ่ใจดีนำสิ่งของมามอบให้ ลักษณะเราเหมือนจิตอาสา ทุกคนมาทำไม่มีเงินเดือนนะ บางอย่างต้องออกเงินไปก่อนค่อยไปเบิกเงินที่เขต ถือว่าชุมชนมีความรักความสามัคคี อยู่ร่วมกลุ่มกัน ไทย จีน แขก เพราะชุมชนเก่าแก่อยู่กันมาเป็นร้อยปี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน นับญาติกัน คนใหม่เข้ามา คนเก่าย้ายไป…

ขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสานสู่เมืองแห่งการเรียนรู้บนเศรษฐกิจฐานความรู้

2 years ago

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการและกิจกรรมขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่เปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร มาเป็นเวลากว่า 12 ปี โดยร่วมกับประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน (บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ) และภาคีพัฒนา ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา…

โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา สกายวอล์กที่สวยและยาวที่สุดของประเทศ เป็นการพัฒนาย่านกะดีจีนไปถึงย่านคลองสาน เดินแม่น้ำเจ้าพระยาถึงกัน สายน้ำไม่หยุดไหลฉันใด สายใจเราทั้งหลายก็จะร้อยเป็นอันเดียวกัน

2 years ago

“อาตมารู้จักอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง - UddC) สิบกว่าปีที่อาจารย์มาทำโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่น่ามอง มีนิทรรศการเล็กๆ ข้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ มีเวทีเสวนาเรื่องความเข้มแข็งในชุมชน อาตมาในฐานะพระเลขาของวัดประยุรฯ ก็เล่าเรื่องนกมูลไถ (สกุณัคฆิชาดก) ให้ฟังว่า นกมูลไถที่เอาชีวิตรอดได้เพราะเขารู้จักถิ่นอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง ทำให้เขาเข้มแข็งได้ ก็เป็นการตอบรับที่ดีมาก แล้วโครงการฯ ก็เข้าทุกตรอกซอกซอยในชุมชนด้วยแนวคิดว่า…

ผมอยากให้ชาวบ้านได้ประโยชน์จริงๆ อาซิ่มอาเจ็กได้ประโยชน์ ไม่ใช่มาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ขี่จักรยานมาแล้วบอกชาวบ้านต้องต้อนรับเขานะ แขกมาเยี่ยมชมเรา แล้วก็พาไปร้านโน้นร้านนี้ ซึ่งจุดใหญ่ๆ ไม่ได้ของชุมชนมาตั้ง แล้วชาวบ้านได้อะไร

2 years ago

“ชุมชนซอยช่างนาค-สะพานยาวเปลี่ยนไปเยอะ คนพื้นที่เดิมขยับขยายไปซื้อที่อื่น เอาที่มาทำบ้านเช่า คนนอกพื้นที่มาเช่าอยู่เยอะ แต่ที่อยู่ๆ กันมา ก็มีทั้งคนจีน แขกขาวก็เยอะ มุสลิมก็มี จุดขายของเราคือมัสยิดเซฟี เพื่อนบ้านเราคือท่าดินแดง ก็มีศาลเจ้าซำไนเก็ง ศาลปึงเถ่ากงม่า สมัยก่อนตลาดท่าดินแดงของกินเยอะกว่านี้ เที่ยงคืนตีหนึ่งคนยังแน่น เดี๋ยวนี้ไม่มีละ ที่ลดลงคือคนท่าดินแดงย้ายออก โดนไล่ที่ และความเจริญมา คนรุ่นใหม่ไปอยู่บนห้างเยอะ…

ทิศทางการท่องเที่ยว ก็อยากให้คนเข้ามาเยอะๆ มาสัมผัสวัฒนธรรมของพวกเรา เรื่องยาเสพติดก็ลดลงเพราะคนมีอาชีพ พวกที่เคยติดยาก็มาทำวินมอเตอร์ไซค์เยอะ ทุกคนมีงานทำ ไม่ตกงาน ไม่เครียด

2 years ago

“เป็นครูมา 28 ปี เกษียณอายุก่อน แล้วมาทำร้านที่บ้าน เมื่อก่อนขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ มีเครื่องดื่มพวกนมสด โกโก้ โอวัลติน ขนมปังปิ้งต่างๆ พิซซาเบคอน พอเปิดซักระยะก็มาขายเต็มตัว หยุดเฉพาะวันอังคาร นอกจากมีจอง 6-10 คนขึ้นไปถึงจะเปิดให้พิเศษ เพิ่มรายการอาหารมากขึ้น พวกขนมจีน สเต็ก พาสตาคาร์โบนารา…

คนในตระกูลดูแลศาลเจ้าสืบทอดกันมา เวลาคนมาเราก็เป็นคนบรรยาย เราตั้งใจ เรายินดี เพราะเป็นคนดูแล เห็นมาตั้งแต่แรก มีทายาทที่จะดูแลต่อ ถ้าหมดจากสายสิมะเสถียร ก็มีสายอื่นสืบทอด

2 years ago

“หนังสือ “สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ” บันทึกไว้ว่าพื้นที่บริเวณนี้มีชาวจีนมาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ก่อนการขุดคลองลัดบางกอก ทีนี้พอคนจีนมาอยู่ ก็มีศาสนสถาน มีภิกษุจีนมาพำนักอยู่ในกุฎีหรือกุฏิ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็บอกนี่แหละ ที่เรียกว่ากุฎีจีน ก็เป็นที่มาของคำว่า กุฎีจีน คือเป็นกุฎีที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ ชาวจีนที่เข้ามาตอนนั้นผสมกัน ไม่ได้แยกว่าเป็นจีนใด แต่พอสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้พระยาวิไชเยนทร์สร้างป้อมวิไชยเยนทร์…

ต่อไปน้ำลูกยอสูตรคุณปู่ก็คงอาจจะหมด ทุกวันนี้มีเด็กนักศึกษาโทรมาให้เราสอนทำน้ำลูกยอ เราก็ทำให้ดู อย่างน้อยถ้าหมดเรา หลานเรา หรือไม่มีใคร ก็ยังมีคนที่รู้พวกนี้อยู่ก็ทำกันต่อไปได้

2 years ago

น้ำลูกยอ สูตรสมเด็จนวมฯ คือคุณปู่ (เชย ศรีวิทย์) ได้สูตรมาทำตอนที่บวชเรียนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโรมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดอนงคารามตอนนั้น พอคุณพ่อเข้าปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงสงครามโลกที่สอง คุณพ่อก็เป็นเสรีไทย ตกเย็นก็ฝึกอาวุธฝึกอะไรกันตรงใต้ถุนโดมริมน้ำ กลับบ้าน คุณปู่ก็ตักน้ำลูกยอจากโหล 1 ช้อนคาว ให้กินก่อนนอนทุกวัน เพราะสรรพคุณคือ เป็นยาอายุวัฒนะ…

เดินเที่ยวย่านกะดีจีน-คลองสาน : <br />ท่องอดีตสองย่าน เรียนรู้วิถีชีวิต<br />พหุวัฒนธรรม

2 years ago

หากกล่าวถึงย่านฝั่งธนฯ ในการรับรู้และความทรงจำของใครหลายคนที่เคยอ่านนวนิยายเรื่อง “แวววัน” นั้นคือพื้นที่ฝั่งตรงข้ามของพระนครที่ความเจริญยังไม่เข้าถึง เต็มไปด้วยสวนผลไม้ สวนหมากพลูที่แวววันมีหน้าที่เรียงพลูเพื่อหาเงินพิเศษไว้ใช้จ่าย เรือข้ามฟากคือพาหนะหลักในการจะข้ามไปฝั่งพระนคร ในนิยายเรื่องแวววันนั้น ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าที่บ้านสวนของแวววันจะมีไฟฟ้า มีน้ำประปาเข้าถึง ฝั่งธนฯ ในความคิดคำนึงของใครหลายคนที่ได้อ่านนวนิยายเรื่องนี้เมื่อกว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา จึงไม่ต่างอะไรจากบ้านนอกทั่วไปของไทย แต่ในเมื่อฝั่งธนฯ คือพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับพระนครและเป็นหนึ่งเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครฯ การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนฯ จึงก้าวไปพร้อมๆ กับที่กรุงเทพฯ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สวนผลไม้ที่เคยส่งกลิ่นหอมในบันทึกของเฟรเดอริก…

บ้านเราไม่ใช่บ้านที่ทำขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยวนะ มันเป็นชีวิตของเราจริงๆ เป็น Life Museum ที่ใครๆ มาดูอาจจะบอกว่าไม่มีอะไร แต่นี่คืออะไรๆ ของเรา ทุกอันมีสตอรี่ เพราะเราอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิด ต้นตระกูลก็อยู่ที่นี่

2 years ago

“บ้านหลังนี้เป็นของคุณป้า คุณป้าคุณลุงเสีย ก็ปิดไว้เฉยๆ เพราะลูกชายเขาที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันย้ายไปอยู่นอกกุฎีจีน พอคิดทำพิพิธภัณฑ์เลยทาบทาม เขาก็ตกลง โอนสิทธิ์การเช่าที่ดินแล้วก็มาปรับโครงสร้างข้างล่างซึ่งสูงแค่เมตรยี่สิบ เราทำอะไรไม่ได้เลย ก็ยกบ้านดีดขึ้นไปเป็นสามเมตรกว่า เสริมคาน ฐานราก ปรับพื้นที่ข้างบน แล้วก็ได้พื้นที่เพิ่มด้านหลังกับที่อีกนิดนึงของสำนักมิสซัง ก็ขออนุญาตเช่าจากวัดซางตาครู้ส แล้วก่อนทำ เราก็เชิญคนรอบบ้านที่จะมีผลกระทบจากการทำตรงนี้มาคุย ก็ไม่มีใครคัดค้าน เขาก็มีข้อแนะนำ คนที่อยู่ในนี้ก็อยู่กันมานาน เป็นพี่เป็นน้อง…