กว่าจะเป็น Yala Storiesเยาวชนยะลากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองของพวกเขากับ วรานุช ชินวรโสภาค วรานุช ชินวรโสภาค เป็นหัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบูรณาการการเรียนรู้ในบริบทชีวิตจริงสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยในโครงการยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยก่อนหน้านี้ เธอเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานประเด็นสาธารณสุขและเพศศึกษาในเยาวชน และร่วมกับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในการขับเคลื่อนโครงการทักษะวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของผู้คนหลากวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเธอทำโครงการนี้มาเข้าปีที่ 14 ด้วยพื้นเพเป็นคนยะลา และเข้าใจบริบทของความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่…
กับแง่มุมของการพัฒนาเมือง คุณเห็นว่ายะลามีดีอย่างไร? ผู้ให้สัมภาษณ์: โครงสร้างของเมืองที่ดี มีนโยบายในการพัฒนาเมือง ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และรุ่มรวยด้วยทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม แล้วยะลายังขาดอะไร? เราถามต่อ ผู้ให้สัมภาษณ์หยุดคิดหนึ่งอึดใจ: ผู้คนยังไม่ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในเมืองนัก ขาดการมีส่วนร่วม และแม้เมืองจะมีพร้อมด้วยสถาบันการศึกษาในทุกระดับ หากอ้างอิงจากงานวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในเมืองก็อยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับความพร้อมที่มี เหล่านี้คือสิ่งที่ อภินันท์ ธรรมเสนา นักวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรประมวลให้เราฟัง…
เมื่อเอ่ยถึงยะลาคุณนึกถึงอะไร? เมืองที่ตั้งของอำเภอเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศ? จังหวัดในภาคใต้ที่อาภัพที่สุด เพราะเป็นแห่งเดียวที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล? หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม? หรือเมืองที่หลายคนคุ้นเคยจากเสียงระเบิดและเหตุการณ์ความไม่สงบ ใช่ โดยเฉพาะข้อหลัง กล่าวตามตรง แม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ทุกวันนี้ หลายคนก็ยังจดจำภาพยะลาในฐานะดินแดนแห่งความไม่สงบอยู่เลย ทีมงาน WeCitizens เพิ่งมีโอกาสลงไปเยี่ยมเยือนอำเภอเมืองยะลามาเมื่อปลายปี 2565 และพบว่าภาพที่หลายคนจดจำกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้เรายังพบบังเกอร์ปูนที่ใช้ป้องกันระเบิดอันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากยุคของความรุนแรงจากปี 2547…
จากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่มีคนอยู่อาศัยไม่มาก ชุมชนขยายตัวขึ้นจากคนจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียงอพยพเข้ามาทำมาหากิน จนการมาถึงของเส้นทางรถไฟสายใต้ ณ สถานีรถไฟหัวหิน เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วยบรรยากาศรื่นรมย์และสวยงามของธรรมชาติชายฝั่งทะเล นำพาให้พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มาสร้างตำหนักบ้านพักตากอากาศไว้มากมาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง สร้างที่พักตากอากาศขึ้นบริเวณหัวหิน…
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่องเที่ยวตากอากาศระดับโลก เป็นเมืองสำคัญของประเทศที่มีความพร้อมหลายด้านด้วยต้นทุนสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้หลากหลายและมีเอกลักษณ์ ผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 และวิกฤติเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ส่งผลต่อเศรษฐกิจการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของประชาชนให้ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกยุคชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งจะต้องพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ อันเป็นทักษะสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพบุคคล เทศบาลเมืองหัวหิน หน่วยงานท้องถิ่นที่มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตร คำนึงถึงวิสัยทัศน์เมืองว่า…
อาจารย์เจี๊ยบ - สิทธิศักดิ์ ตันมงคล บอกว่าถ้าไปถามคนรุ่นใหม่หรือคนที่เพิ่งมาอยู่หาดใหญ่ใหม่ๆ ว่ารู้จัก ‘คลองเตย’ หรือไม่ บางคนอาจเข้าใจว่านั่นคือชื่อเขตเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครด้วยซ้ำ “ถ้าไม่ใช่คนดั้งเดิม น้อยคนนะครับที่จะจดจำชื่อคลอง ซึ่งความที่มันเป็นคลองระบายน้ำเสีย และหลายพื้นที่ก็ถูกดาดปิด แม้คนหาดใหญ่จะขับรถผ่านทุกวัน หลายคนก็แทบไม่ได้จดจำด้วยซ้ำว่ามันคือคลอง” อาจารย์เจี๊ยบ สถาปนิกจากกลุ่ม Songkhla Urban Lab…
“อาตมาเป็นคนกาญจนบุรี บวชเข้าคณะสงฆ์อนัมนิกาย ตอนอายุ 17 ปี ย้ายไปเรียนที่ไต้หวัน 3 ปี และไปจำวัดที่ยุโรปอีกหลายปี ก่อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการก่อตั้งโรงเรียนมหาปัญญา ตอนแรกโรงเรียนมีชื่อว่าโรงเรียนถาวรวิทยาลัย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จัดการศึกษาในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย ก่อนจะมีการขยายการศึกษาไปถึงระดับพรียูนิเวอร์ซิตี้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน โดยเราทำข้อตกลงกับสถาบันอุดมศึกษาในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาในการส่งนักศึกษาของเราไปเรียนระดับปริญญาตรีที่นั่น…
“บ้านผมอยู่อีกฝั่งของสถานีรถไฟ ในชุมชนดั้งเดิมก่อนจะมีการสร้างสถานีรถไฟเมื่อเกือบร้อยปีก่อน แต่เดิมหาดใหญ่จะใช้คลองเป็นเส้นแบ่งเมือง แต่พอมีรถไฟ ทางรถไฟก็กลายเป็นเส้นแบ่งความเจริญในฐานะที่ผมเป็นคนหาดใหญ่และสถาปนิกผังเมือง ต้องบอกว่าหาดใหญ่เติบโตแบบไร้ทิศทางมานาน จริงอยู่ที่ผังเมืองในยุคหลังรถไฟนี่มีประสิทธิภาพมาก แต่พอเมืองเจริญขึ้นตามยุคสมัย มีผู้คนต่างถิ่นมาอาศัยอยู่ร่วมกันมากๆ รูปแบบเมืองเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วจึงไม่ตอบโจทย์ ขณะเดียวกันนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็พยายามลงทุนกับที่ดินใหม่ที่อยู่ชานเมืองซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า จึงเกิดชุมชนเมืองใหม่กระจายตัวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อบวกรวมกับการที่รัฐไม่ได้มีแผนพัฒนามารองรับ เมืองจึงไม่ compact โดยในภาพรวม รัฐก็ต้องเสียค่าสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัว และเมื่อย้อนกลับมาในพื้นที่หนาแน่นใจกลางเมือง เราไม่มีแม้แต่รถประจำทางสาธารณะที่เชื่อมชุมชนเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน…
“หาดใหญ่ไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวมากนัก แต่ด้วยทำเลที่มีสนามบินนานาชาติและชุมทางรถไฟ ความพร้อมในด้านโรงแรมที่มีให้เลือกทุกระดับ ที่สำคัญคืออาหารการกินที่หลากหลาย และวิถีชีวิตยามค่ำคืนที่คึกคัก ผมจึงบอกคนอื่นเสมอว่า ที่นี่คือศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา อยู่ใต้ร่มของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บทบาทของเราคล้ายๆ หอการค้า แต่จะโฟกัสไปที่การท่องเที่ยว สภาเรามีสมาชิกเป็นสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมโรงแรม สมาคมมัคคุเทศก์ และอื่นๆ โดยเรามีหน้าที่เหมือนตัวกลางเชื่อมภาคเอกชนกับภาครัฐ ถ้าภาครัฐมีข่าวหรือโครงการใดๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว…
“ต่อให้มีการลงทุนกับโรงบำบัดน้ำเสียมูลค่าเป็นพันพันล้าน คลองเตยหรือคลองที่ไหนในประเทศนี้ก็ไม่มีทางใสสะอาดได้ หากไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ที่กล่าวเช่นนี้ หาได้เป็นการผลักภาระไปที่ภาคประชาชน แต่ถึงเราจะมีเครื่องมือดีแค่ไหน หากผู้คนที่อาศัยอยู่ริมสองข้างทางยังคงทิ้งขยะลงคลอง คุณก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นด้วยกับโครงการคลองเตยลิงก์ที่ไม่เพียงมีแผนฟื้นฟูคลองเตยในเชิงกายภาพ แต่ยังสร้างความร่วมมือให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองเตยมาเป็นแนวร่วมในการแก้ปัญหาไปพร้อมกันเพราะถ้าคนในคลองไม่ทิ้งขยะ แถมยังร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่รอบชุมชนของตัวเอง นี่จะกลายเป็นต้นแบบให้คนที่อยู่นอกพื้นที่มาเห็น ให้ความเคารพในพื้นที่ และไม่ทิ้งขยะหรือสร้างมลภาวะในพื้นที่ลำคลองใจกลางเมืองหาดใหญ่แห่งนี้ต่อไป เมื่อคลองและพื้นที่ริมคลองได้รับการฟื้นฟู ผลประโยชน์ที่ตามมาอีกข้อก็คือหาดใหญ่จะมีเส้นทางสัญจรลัดใจกลางเมืองสายสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง นั่นคือถนนสองข้างทางของคลองเตย ตรงนี้เองที่ทางโครงการคลองเตยลิงก์กำลังหารือกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ในการทำเส้นทางขนส่งสาธารณะมารองรับ เพราะถ้าดูจากแผนที่ของลำคลอง…