เรียนรู้ยะลาด้วย infographic<br />ที่ถูกเล่าใหม่ให้ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

2 years ago

We Citizens Thailand ชวนร่วมเรียนรู้เรื่องราวของยะลาที่ถูกเล่าใหม่ด้วยคนยะลา คนที่รักยะลา เพื่อพัฒนาเมืองยะลาอันเป็นที่รัก คลิกภาพเพื่อดูภาพขยายเต็ม 100%

อ่านยะลา ฟังเสียงเมืองยะลา<br />เมืองแห่งการเรียนรู้

2 years ago

We Citizens Thailand ชวนฟังเสียงเมืองยะลา ผู้คนแห่งเมืองยะลา ผ่านการอ่าน E-Book ฉบับ "เสียงยะลา" ดาวน์โหลดได้แล้วที่ลิงค์ WeCitizens : เสียงยะลา - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุขด้วย infographic สุดน่ารัก

2 years ago

We Citizens Thailand ชวนเที่ยวหัวหินผ่าน infographic "เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุข" แผนที่เรียนรู้พร้อมชวนชมที่เที่ยวที่กินในเมืองหัวหินที่คุณไม่ควรพลาด กดภาพ infographic เพื่อขยายเต็ม 100%

ฟังเสียงคลื่น ฟังเสียงคน<br />ฟังเสียงหัวหิน

2 years ago

We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านมาเรียนรู้ผู้คนจากเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อที่ชื่อ "หัวหิน" นอกจากจะมาฟังเสียงคลื่น ยังมีเสียงของผู้คน เสียงของเมืองให้อ่านกันใน E-Book ฉบับ "เสียงหัวหิน" WeCitizens : เสียงหัวหิน - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

ฉันตอนนี้อายุ 76 ก็ไม่มีโรคอะไร<br />ส่วนพี่ฉันอายุ 87 ยังแข็งแรง

2 years ago

“บ้านหลังนี้ก็อยู่มาตั้งแต่เกิด แต่ก่อนเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น แล้วบ้านผุ เลยยกบ้านเก่าออกแล้วทำบ้านใหม่ ตอนนี้เป็นตึก 2 ชั้น ประมาณ 80 ปี เมื่อก่อนมี 3 ห้อง ตอนนี้มี 2 ห้อง ประตูบ้านเป็นไม้ แล้วพี่สาวอยากได้ประตูใหม่…

ธรรมชาติแปรเปลี่ยนไป วัฒนธรรมก็เปลี่ยนไปอีก แล้วเราจะอนุรักษ์ยังไง<br />นี่แหละคือปัญหา

2 years ago

“ขลุงเป็นเมืองที่สงบ ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่แตกแยก คือก็มีแหละ แต่ไม่ขัดแย้งกันมากนัก เพราะเรามีบรรพบุรุษที่เป็นโรงเรียนศรีหฤทัยซึ่งปีนี้ก็ครบ 75 ปี (สถาปนาโรงเรียนวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2490) ก็หลอมรวมคนคริสต์ พุทธ คนที่อยู่ในตลาด 30% คนนอกอีกประมาณ 60% ทั้งไร่หนองบอน…

อยากให้ชาวสวนขลุงเป็นยังไงเหรอ ผมขอยืมคำในหลวงท่าน “<em>ใครจะว่าเราเชยก็ช่างเขา ขอให้เราอยู่แบบพอมี พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกันจริงๆ ไม่ได้เชย มันล้ำหน้าต่างหาก..</em>.”

2 years ago

“ที่สวนลุงต้อยนี่ หน้าผลไม้มา ผมรับเฉพาะเสาร์อาทิตย์ กินฟรีหมด คุณจะซื้อกลับหรือไม่ซื้อกลับไม่เป็นไร อยากให้มาชิมทุเรียนแปลกๆ ของผมเป็นแปลงทุเรียนโบราณ ปีนี้จะมีไม่ต่ำกว่า 15 สายพันธุ์ และผมรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนไว้ ทั้งหมดตอนนี้มี 52 พันธุ์ ทำให้กับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงให้ที่นี่เป็นแปลงรวบรวมของเกษตรกรจริงๆ แล้วในสวนผมเป็นต้นแม่ที่ไปหายอดมาปลูก ไม่ได้เพาะเม็ด…

ต้นสันดานเป็นเถาไม้เลื้อย ใบมีรสเปรี้ยว มีช่วงหน้าฝน หน้าแล้ง ถ้าใส่มะนาวเยอะก็เปรี้ยวเยอะ แต่ใบสันดานใส่เท่าไหร่ เปรี้ยวเท่าเดิม คือเปรี้ยวเป็นสันดาน

2 years ago

“จุดเด่นของตะปอนคือความเก่าแก่ของวัฒนธรรมประเพณีที่มีคุณค่ากับชุมชนเรา อย่างประเพณีแห่เกวียนพระบาท มีแต่ที่บ้านเรา ที่อื่นไม่มี เป็นเรื่องเล่ากันมาว่า สมัยโบราณที่มีโรคห่าระบาด ชาวบ้านมาปรึกษาท่านพ่อเพชร (หลวงพ่อเพชร อินฺทฺปญฺโญ เจ้าคณะและอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิธาราม (วัดตะปอนใหญ่)) ท่านเลยให้เอาผ้าพระบาท (ผ้าเขียนรอยพระบาทจำลองสี่รอยซ้อนกัน) ที่วัดตะปอนน้อย อายุประมาณ 400 กว่าปี อัญเชิญมาจากวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี มาลองแห่ดูเพื่อช่วยปัดเป่าให้ชาวบ้าน…

“ในหลวงสอนว่าให้อะไรก็แล้วแต่ <br />ไม่ดีเท่าความรู้”

2 years ago

“ผมคิดทำศูนย์เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว เพราะได้เรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง ก็อยากมาทำที่บ้านผม รวมหมดทุกอย่างที่จุดนี้ ไม่ต้องไปที่ไหนไกล เรามีเครือข่าย อยากมีความรู้ด้านไหนก็แจ้งมา ด้านการเกษตร ปลูกผัก ปลูกพืช ขยายพันธุ์พืชด้านการตอน การเสียบยอด เลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่ ปั้นกระถาง ทำถ่านอัดแท่ง ผมทำบ้านต้นไม้ไว้ 3 หลัง…

อยากให้ใครมาเที่ยวขลุง ขลุงมีอะไรดี ส่วนใหญ่บอกว่าอาหารทะเล แต่ผมบอกว่าข้าว อ้าว ขลุงมีข้าวด้วยเหรอ นี่ไง ไม่รู้ มันเรียกข้าวสองน้ำ เป็นน้ำจืดน้ำเค็ม

2 years ago

“พื้นที่ของขลุงมี 3 พื้นที่ เดิมทีคนไทยเราอยู่ตามริมคลองขลุง ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทไล่มาจนถึงแยกบ้านขลุง รีสอร์ท ชุมชนคนจีนอยู่ในตลาด คนเวียดนามอยู่โซนบ้านล่าง ซึ่งแต่ก่อนเขากีดกันกันหมด คนเวียดนามไม่มีน้ำจืดกิน ต้องเดินมาตักน้ำ ไม่แลกปลากุ้ง เลยทำให้วัฒนธรรมความผูกพันมีก็จริงแต่ไม่ได้ลึกซึ้งนัก ตัวผมเองเข้ามาโครงการพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ คือเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่ง แม่ผมเป็นคนขลุงพื้นถิ่นที่นี่ มีเชื้อสายชองมาพัวพันด้วย พ่อผมเป็นลูกจีนกับลูกเวียดนามผสมกัน เป็นคาทอลิก ผมเป็นลูกเสี้ยวละ…