“ร้านแนบเคหาสน์เปิดเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 เปิดเย้ยโควิดเลย เปิดแล้วก็คนแน่นทั้งเดือนเพราะร้านอื่นปิดหมด ที่ผมทำร้านนี้เพราะหัวหินไม่มีสภากาแฟให้นั่งเลย คิดว่าบ้านตัวเอง เท็กซ์เจอร์ได้อยู่แล้ว ตัวร้านอายุประมาณ 120 ปี ตัวเรือนไทยด้านหลังบ้านประมาณ 140 ปีแล้ว คือบ้านหลังนี้เดิมตั้งอยู่ที่ตลาดดอนมะขาม ตรงห้าแยก ทางลงศาลเจ้าแถวโรงแรมฮิลตัน แล้วพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรมาขอซื้อที่ที่บ้าน…
“สาธารณสุขมีหน้าที่ทำให้คนแข็งแรง ส่งเสริมป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยเร็ว ไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่รักษาและฟื้นฟู หรือไปโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด หรือไปโรงพยาบาลโดยไม่ต้องเจ็บป่วย เปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นแหล่งเรียนรู้ #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเอง เราอยากให้เขามี Health Literacy ให้รู้จักการดูแลตัวเอง พึ่งตัวเอง เราคิดว่าวิธีคิดของคนน่ะสำคัญ กรอบงานวิจัยนี้คือเปลี่ยนวิธีคิด แล้วเบื้องหลังที่ฉุกให้คนคิดทำอะไรคือสำนึกร่วม ชวนคุย ชวนคิด ชวนเปิดพื้นที่…
“ตอนผมเป็นเด็กอายุประมาณ 7 ขวบ ตอนเช้าหลวงปู่สุวรรณ วัดวิเวกสันติธรรม หัวหิน จะมาปลุก ไปหิ้วปิ่นโตหลวงปู่ออกบิณฑบาต แล้ววันหนึ่งผมไปเจอคุณตามุ้ย ประคำทอง ช่างต่อเรือฉลอมจิ๋ว ท่านนั่งทำเรือฉลอมอยู่ ราคาเรือฉลอมจิ๋วของท่านลำละตั้ง 700 บาท สมัยนั้นข้าวสารถังละ 20 บาทนะ ตอนนั้นก็ดูๆ ไม่ได้สนใจอะไร…
“ชมรมนาฏศิลป์หัวหินเริ่มต้นจากกิจกรรม “รำฟ้อนหน้าบ้านพ่อ” ตอนในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เทศบาลเมืองหัวหินประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาร่วมจุดเทียนรำถวายหน้าวังไกลกังวล ช่วงนั้นครูยังสอนคณิตศาสตร์อยู่โรงเรียนหัวหิน เทศบาลฯ มอบหมายให้ครูเป็นคนสอนรำให้ชาวบ้านที่มาร่วมรำประมาณ 1,500 คน เราเลยคิดว่าทำยังไงจะได้ประสานความสัมพันธ์นี้ต่อเนื่องไป 50 วัน 100 วัน จนถวายพระเพลิง อยากให้วัฒนธรรมไทยนี้ยั่งยืนเลยจัดตั้งเป็นชมรม และวิสาหกิจชุมชนศูนย์นาฏศิลป์เมืองหัวหิน…
หัวหิน เมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองแห่งความสุข ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยหัวหน้าชุดโครงการ ดร.ศิวัช บุญเกิด มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญจา ชูช่วย เป็นหัวหน้าโครงการย่อย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย” และอาจารย์อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ หัวหน้าโครงการย่อย “การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้…
“ผมเป็นหนึ่งในคณะนักวิจัยโครงการการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน บทบาทผมคือพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัย อบรมพัฒนาความรู้พื้นฐานให้บุคลากรในชุมชนสามารถเป็นคนที่นำเรื่องราว สินค้า หรือบริการ มาเล่า เพื่อให้เกิดมูลค่า พอเขามีความรู้แล้ว เราก็อยากเป็นต้นแบบของชุมชนที่ใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง คือชุมชนอาจจะขายผ่านลาซาด้า เดลิเวอรี ช้อปปี้ หรือสื่อต่างๆ ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งเขาก็บ่นว่าไม่เหลืออะไร…
หาก “พื้นที่เรียนรู้” ให้ความหมายเจาะจงไปที่ “พิพิธภัณฑ์” อันเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งสำคัญต่าง ๆ มุ่งหมายให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่หลากหลายในพื้นที่ปทุมธานี เป็นต้นว่า พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ, พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑ์บัว, พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช,…
ในพื้นที่เทคโนธานี บนถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อันเป็นที่ตั้งขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) อาจเปรียบได้เป็นจัตุรัสพิพิธภัณฑ์ในแง่ที่ว่าประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์หลายแห่งภายในอาณาบริเวณเดียวกันที่เดินถึงกันได้ชนิดเข้าพิพิธภัณฑ์นี้ออกพิพิธภัณฑ์นั้นจนเผลอแป๊บเดียวหมดวัน โดยพิพิธภัณฑ์ของอพวช. ซึ่งเปิดให้เยี่ยมชมที่เทคโนธานีนั้น คือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า โดยมีจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ในใจกลางกรุงเทพฯ ที่เดอะ สตรีท รัชดา…
บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน บริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีแหล่งเรียนรู้ที่แสดงวิถีชาวปทุมธานีและชาวไทยนั่นคือ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ถ่ายทอดพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตร ศาสตร์พระราชาปรัชญาเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และความสำคัญของการเกษตรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยพื้นที่ 374 ไร่นั้นแบ่งอาคารเป็นแต่ละพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา,…
ในพื้นที่คลองหก ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บัว ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามโครงการการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิพิธภัณฑ์บัวได้รวบรวมพันธุ์บัวทั้งพันธุ์ไทย พันธุ์เทศ และพันธุ์ผสม ปลูกไว้ในกระถางและบึงน้ำให้ประชาชนทั่วไปได้มาชื่นชม นักศึกษาและอาจารย์ได้ค้นคว้าวิจัย ขยายพันธุ์บัว และศึกษาการใช้ประโยชน์จากบัวในด้านต่างๆ เช่น อาหาร ยา ไม้ดอก ของประดับตกแต่ง…