“ป้าเป็นคนอ่างทอง แต่ย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ประถมฯ พอเรียนจบ ไม่อยากอยู่เมืองที่พลุกพล่าน น้ำท่วมบ่อย บ้านแพง เลยมองหาชานเมืองที่สงบและราคาจับต้องได้ จนมาเจอปากเกร็ด ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 เป็นบ้านจัดสรรของการเคหะ ตั้งอยู่เยื้อง ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ อยู่กันมา 40 กว่าปีแล้ว ทุกวันนี้เหลืออยู่จริงราว…
“คลองในพื้นที่ปากเกร็ดเป็นทั้งคลองดั้งเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 คลอง รวมถึงลำราง ลำกระโดง และคูน้ำจำนวนหนึ่ง การดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นงานที่ซับซ้อน เนื่องจากคลองบางแห่งมีปัญหาด้านกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำและการป้องกันน้ำท่วมคลองบางพูดเป็นหนึ่งในคลองที่มีปัญหาหนักที่สุด โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากคลองมีลักษณะคดเคี้ยวและอยู่ติดกับบ้านเรือนประชาชน อีกทั้งประตูระบายน้ำบางแห่งยังชำรุด ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำเป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด โดยตรวจสอบค่า DO (ค่าออกซิเจนละลายน้ำ), BOD (ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์),…
“ผมเป็นคนสุพรรณบุรี มาได้ภรรยาที่เกาะเกร็ด เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่วัยรุ่น ทำอาชีพขับเรือรับส่งคนจากเกาะเกร็ดไปปากเกร็ดหรือเมืองนนท์บ้าง รับ-ส่งตามท่าเรือต่าง ๆ คล้ายกับวินมอเตอร์ไซค์นี่แหละมีเรือรับส่งทั้งหมด 14 ลำ คนขับทุกคนเป็นคนเกาะเกร็ด ในวันธรรมดา คนบนเกาะส่วนหนึ่งเขาจะเลือกเดินทางเข้าเมืองด้วยการนั่งเรือข้ามฟากที่ท่าวัดสนามเหนือ แล้วก็นั่งรถเมล์ หรือรถสาธารณะอื่น ๆ ต่อ แต่ก็มีอีกส่วนใช้บริการพวกเรา ก็สามารถไปส่งตามที่ต่าง ๆ ที่ใกล้จุดต่อรถเขาได้ไวขึ้น…
“โครงการ ‘รู้สู้น้ำ’ เป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำที่พัฒนาโดยเทศบาลนครปากเกร็ด เพื่อแก้ปัญหาน้ำขังระบายไม่ทันในเขตเทศบาลฯ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 โดยพัฒนาต่อยอดจาก ‘ปากเกร็ดโมเดล’ เดิม สู่ ‘ปากเกร็ดโมเดลใหม่’ ที่ผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS)หัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือความสามารถของเทศบาลฯ ในการจัดการข้อมูลจำนวนมากให้เป็นระบบ และนำมาใช้ได้อย่างตรงจุด เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำ การประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน วัสดุอุปกรณ์…
“สำหรับเรา ปากเกร็ดเป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาพใหญ่ได้ดีเรามาอยู่ที่นี่เมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นเมืองยังไม่พลุกพล่าน สงบ อากาศดี และผู้คนในชุมชนก็รู้จักกันหมด เป็นเพื่อนบ้านที่ดี แต่พอเมืองขยายขึ้น สิ่งที่ตามมาคือมลภาวะอย่าง PM 2.5 ปัญหาขยะ หรือน้ำขังแบบเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเมื่อเมืองยิ่งขยาย ก็ยิ่งเห็นชัดว่าปัญหาโลกร้อน หรือโลกรวนเนี่ย เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และที่สำคัญ…
“สำหรับครู ปากเกร็ดเป็นเมืองที่น่าอยู่เสมอมา และครูก็ภูมิใจที่โรงเรียนของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความน่าอยู่มากขึ้นโรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพที่ 116 ก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจของคุณผาสุก มณีจักร ที่อยากขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก ๆ ชาวปากเกร็ด ท่านจึงบริจาคที่ดินสำหรับตั้งโรงเรียน ก่อนที่ทางหน่วยงานราชการและชาวบ้านจะร่วมกันสมทบทุนในการสร้างอาคาร โดยคำว่า ‘มิตรภาพ’ ในชื่อโรงเรียน จึงสะท้อนถึงความร่วมมือของคนในพื้นที่นอกจากเรื่องวิชาการ โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน และทักษะการใช้ชีวิต เรามีโครงการสวนสมุนไพรที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การปลูกพืช…
“ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปดูงานที่โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งเดือน สิ่งที่ได้เห็นคือการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน รวมถึงการบูรณาการศาสตร์วิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อขับเคลื่อน แนวทางนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมกลับมาพัฒนาการเรียนการสอนที่โรงเรียนผาสุกฯ ที่ผมสอนอยู่ผมมักจะบอกนักเรียนเสมอว่า เราไม่ได้เรียนศิลปะเพื่อที่จะเป็นศิลปิน แต่การได้เรียนศิลปะจะทำให้มีความคิดที่เป็นระบบ รู้จักวิเคราะห์ มีความอ่อนโยน และเข้าใจคนอื่น ซึ่งมันเป็นทักษะสำคัญในการดำรงชีวิตพื้นเพผมไม่ใช่คนปากเกร็ด แต่ก็ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาจะ 10…
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด พนัสนิคม“ความที่เมืองพนัสนิคมแต่เดิมเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองชายทะเล กับเมืองที่อยู่ใกล้ป่าเขา ที่นี่จึงมีลักษณะเป็นชุมทางการค้าที่ผู้คนนำสินค้าจากทะเลและป่าเข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เมืองจึงถูกขยับขยายและเติบโตด้วยอัตลักษณ์แบบที่เห็นขณะเดียวกัน ความที่พนัสนิคมเป็นชุมชนการค้าที่มีความรุ่งเรืองมาก่อนจะเกิดการตัดถนน จึงสังเกตได้ว่าเส้นทางในเมืองมีความคดเคี้ยว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองใหญ่ จริงอยู่จุดนี้อาจเป็นปัญหาในการขยายเมือง แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นเสน่ห์ของการเป็นเมืองเก่า สังเกตดู ถ้าเราขับรถจากทางหลวงที่เรียงรายด้วยโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาในเขตเทศบาลเมือง พอมาถึงเราจะเจอทุ่งนารายล้อมด้านนอก ก่อนจะเจอถนนแคบ ๆ ที่เรียงรายด้วยตึกแถวสมัยก่อน โดยร้านรวงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะจำหน่ายเครื่องมือการเกษตรที่ขัดแย้งกับเขตอุตสาหกรรมรอบนอกอย่างน่าสนใจพนัสนิคมจึงเป็นเหมือนโลกอีกใบหนึ่งเลยนะ เป็นโลกที่บรรจุไว้ด้วยความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมของคนไทย ลาว…
“ด้วยความที่เมืองปากเกร็ดเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ ที่มีประชากรจากกรุงเทพฯ ออกมาอาศัยอยู่มาก และเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของนนทบุรี มีเมืองทองธานีเป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้มีคนเข้ามาในพื้นที่เยอะ ถ้าฝนตกน้ำท่วม ระบายน้ำออกไม่ทัน มันก็กระทบเป็นวงกว้าง และส่งผลหนักหนาไม่ต่างจากพื้นที่ศูนย์กลางกรุงเทพฯ เลยช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา เราทำแดชบอร์ดเผยแพร่ทุกวันว่าระดับน้ำถึงไหนแล้ว ประชาชนเข้ามาเช็กได้เรียลไทม์ นำภาพกล้องวงจรปิดมาใส่ไว้ในเพจเฟซบุ๊กเทศบาลนครปากเกร็ด ประชาชนคลิกดูแล้วรู้เลยว่าน้ำอยู่ระดับไหน มีเสาที่วัดแล้วอ่านค่าให้เลยว่า ตรงไหนควรเตรียมตัว ตรงไหนอันตรายแล้ว เรารวบรวมข้อมูลและนำมาเผยแพร่ สรุปออกมาเป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย…
“ผมย้ายตามพ่อมาอยู่ที่ปากเกร็ดตั้งแต่ปี 2526 ตอนนั้นถนนแจ้งวัฒนะเป็นถนนที่มีคูน้ำสองข้าง และตรงกลางเป็นคูน้ำ ปากเกร็ดยังมีความเป็นชนบทที่สุขสงบ แต่หลังจากมีทางด่วนมา ทุกอย่างก็มาลงที่นี่ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย สมัยก่อนหมู่บ้านจัดสรรเป็นแนวราบเพราะพื้นที่เยอะ แต่ตอนนี้เป็นคอนโดฯ หมดแล้ว เพราะมีรถไฟฟ้า ผมคิดว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยให้คนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพฯอย่างไรก็ตาม ที่น่าประทับใจคือ ถึงปากเกร็ดจะเติบโตไปมาก แต่คาแรกเตอร์ความเป็นชุมชนก็ยังคงชัดเจน เมืองยังมีความเป็นเพื่อนบ้าน…