ลำปางมีศักยภาพมาก แต่มันไม่อาจจะพัฒนาไปได้ ถ้าไม่มีการร่วมมือทั้งจากรัฐกับเอกชน และคนรุ่นก่อนหน้ากับคนรุ่นใหม่

2 years ago

“หลังเรียนจบ เราไปทำงานที่ฮ่องกงมาเกือบ 6 ปี จนอากงป่วยหนัก เลยตัดสินใจกลับบ้าน ครอบครัวเราเปิดร้าน ‘ท่งเฮงกี่’ ขายกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น หมูสวรรค์ ซึ่งเปิดในย่านสบตุ๋ยของเมืองลำปางมา 80 กว่าปีแล้ว สมัยตั้งแต่รุ่นคุณทวดท่านย้ายมาจากซัวเถา ความที่สมัยเด็กๆ เราช่วยงานเตี่ย จึงรู้กรรมวิธีทั้งหมด พออากงเสียชีวิต…

อาชีพคนขับรถม้าคิดเป็นสัดส่วน 1 ในล้านคนของประเทศ นี่เป็นอาชีพที่ไม่ธรรมดา และควรอนุรักษ์วิถีนี้ไว้ให้คู่เมืองลำปาง สิ่งนี้มีคุณค่ามากพอให้ต้องสู้ไปกับมันเพื่อวันข้างหน้า

2 years ago

“พ่อผมเป็นทั้งคนขับรถม้าและคนฝึกม้า ตอนเด็กๆ เวลาพ่อผมไปขับรถม้าพานักท่องเที่ยวชมเมือง แกจะพาผมนั่งติดรถไปด้วย ผมขึ้นหลังม้าตั้งแต่อายุราว 5-6 ขวบ พออายุ 8 ขวบ พ่อก็ให้จับสายขับและฝึกควบคุมม้า จนผมอายุ 12 ปี จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันที่ 5 ธันวาคม พ่อออกไปทำธุระนอกบ้านพอดี ผมเลยถือโอกาสพานายบุญทอง ม้าที่พ่อให้ผมใช้ฝึกลากรถออกไปเข้าคิวรับลูกค้า…

ผมคิดว่าถ้ามีคนรุ่นใหม่กลับมาเชื่อมโยงกับคนรุ่นก่อนเพื่อช่วยกันออกแบบ
วิธีการ มาช่วยกันสร้างธุรกิจใหม่ๆ หรือหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ชุมชนเราก็อาจจะดีกว่านี้

2 years ago

“ผมเกิดและโตที่ชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ช่วงเรียนมอหนึ่ง ป้าต้อย (สดศรี ขัตติยวงศ์) เริ่มก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งผมมีโอกาสเป็นอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น จากที่ผูกพันกับชุมชนอยู่แล้ว พอได้ร่วมกิจกรรม ได้เข้าอบรม และได้นำนักท่องเที่ยวชมย่านก็รู้สึกสนุกดี แต่ตอนนั้นผมคิดว่าเป็นแค่การใช้เวลาว่างแบบหนึ่ง ไม่ได้คิดอะไรจริงจัง ผมเรียนด้านสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรถไฟฟ้าทำนองนั้น แต่จุดเปลี่ยนจริงๆ คือช่วงจบปริญญาตรี…

ชุมชนท่ามะโอยังมีบ้านไม้เก่าๆ ที่เราเห็นตอนเด็กๆ เหมือนมันถูกหยุดเวลาไว้เมื่อร้อยปีก่อนเลย ซึ่งนี่แหละคือเสน่ห์ที่หาที่ไหนไม่ได้

2 years ago

“สมัยก่อนเราจะเรียกหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำวังฝั่งนี้นำด้วย ‘ท่า’ ซึ่งมาจากท่าน้ำ และตามด้วยต้นไม้ที่ขึ้นชุมบริเวณนั้น อย่างบ้านป้าเป็นบ้านท่าเก๊าม่วงซึ่งมาจากต้นมะม่วง ถัดไปเรียกบ้านท่าเก๊าไฮมาจากต้นไทร หรือท่ามะโอก็มาจากส้มโอ จนปี 2542 เทศบาลนครลำปางก็จัดตั้งชุมชนขึ้น ก็เลยเรียกรวมย่านนี้ทั้งหมดว่า ‘ท่ามะโอ’ เพราะคำคำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว ศูนย์กลางของชุมชนท่ามะโอคือวัดประตูป่อง ซึ่งเป็นวัดที่มีศรัทธาเป็นคนท้องถิ่น ส่วนอีกวัดในชุมชนคือวัดท่ามะโอ สร้างโดยชาวพม่ายุคสัมปทานไม้ เป็นที่ทราบกันว่าชาวพม่านี่มีฝีมือทำไม้เก่งที่สุดในเอเชีย ที่ไหนค้าไม้ คนพม่าก็จะไปอยู่ทุกที่…

การเปิดบ้านหลุยส์ จึงเป็นครั้งแรกที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบนร่วมมือกับชุมชนในรูปแบบของการเปิดบ้านเพื่อการท่องเที่ยว

2 years ago

“องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน แต่เดิมมีชื่อว่า ‘กองทำไม้’ สังกัดกรมป่าไม้ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ในยุคที่อังกฤษเข้ามาทำสัมปทานไม้สักในภาคเหนือของประเทศไทย ผ่านบริษัท บอร์เนียว จำกัด และบริษัท หลุยส์ ที. เลียว โนเวนส์ บทบาทในตอนนั้นคือการทำไม้เพื่อหารายได้ให้รัฐบาล ซึ่งต่อมาในปี 2482 เมื่อสัมปทานป่าไม้ของทั้งสองบริษัทนี้สิ้นสุดลง…

ถ้าเมืองมีสุนทรียะ
มูลค่าเพิ่มก็จะตามมาเอง

2 years ago

“ผมเริ่มเล่นดนตรีกลางคืนระหว่างที่เรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนเรียนจบออกมาก็ไม่ได้ทำงานตรงสายที่เรียน เป็นนักดนตรีกลางคืนอย่างเดียว เล่นตั้งแต่ที่มังกี้คลับยังเปิดอยู่ ที่วอร์มอัพ และอื่นๆ ต่อเนื่องมา 12 ปี จนแม่ตามตัวให้ผมกลับไปช่วยธุรกิจที่บ้านที่ลำปางเมื่อราว 5 ปีที่แล้ว ก็เลยตัดสินใจเลิกเพื่อกลับมาอยู่บ้าน ผมเรียนมัธยมที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จากนั้นก็ไปอยู่เชียงใหม่มา 16 ปี ระหว่างนั้นมีโอกาสกลับบ้านบ้าง แต่การกลับมาอยู่ลำปางแบบเต็มเวลา รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบงานโดยสิ้นเชิงเลยก็ทำให้ผมใช้เวลานานเหมือนกันกว่าจะปรับตัวได้…

จุดเปลี่ยนของกาดกองต้า
คือปีพ.ศ. 2548 ที่มีน้ำท่วมหนักเมืองลำปาง สินค้าในโกดังเสียหาย เจ้าของต้องเอาของมาขายในราคาถูก คนแห่มาซื้อกันคึกคัก จากที่เศร้าๆ เพราะน้ำท่วม ก็กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมา จนเป็นจุดเริ่มต้นของถนนคนเดิน

2 years ago

“คนมักเข้าใจกันว่าชาวลำปางในศตวรรษที่แล้วร่ำรวยจากการทำสัมปทานค้าไม้ แต่เปล่าเลย รายได้จากการค้าไม้นี่เข้ากระเป๋าคนอังกฤษหมด ที่คนในพื้นที่รวยๆ กันนี่ส่วนหนึ่งมาจากการค้าฝิ่น สมัยก่อนฝิ่นยังเสรี หลังธนาคารกรุงไทยในตลาดยังเคยมีโรงฝิ่นขนาดใหญ่ พ่อค้าจีนล่องเรือมาใช้บริการกันงอมแงม แต่ในขณะเดียวกันยุคค้าไม้ ก็ทำให้เกิดธุรกิจอื่นๆ ขึ้นตามมาในเมือง จนทำให้ลำปางรุ่งเรืองอย่างมากในตอนนั้น สมัยพี่เป็นเด็ก พี่ยังทันเห็นที่เขาขนท่อนซุงกันอยู่เลยนะ ตอนนั้นแม่น้ำวังตั้งแต่เกาะคาลงมาเต็มไปด้วยท่อนซุงในแบบที่ลงไปวิ่งเล่นบนแม่น้ำได้เลย ก่อนพี่จะเกิด ครอบครัวแม่พี่อยู่เกาะคา แกยังเคยทำงานรับจ้างขนท่อนซุงขึ้นฝั่งอยู่เลย จนช่วงหลังๆ การขนไม้เริ่มซาลง…

ร้านขายของชำที่เปิดมาเกือบ 50 ปี
ทุกวันนี้แม้เศรษฐกิจจะซบเซา แต่ไม่มีภาระต้องส่งเสียลูกแล้วจึงพออยู่ได้

2 years ago

“ลุงพิทักษ์เคยเป็นหลงจู๊มาก่อน แกทำหน้าที่คล้ายเซลล์แมน ซึ่งต้องขับรถส่งของในเส้นทางลำปางไปจนถึงอำเภอแม่สายที่เชียงราย ส่วนป้าเป็นคนห้างฉัตรที่เข้ามาทำงานในตัวเมือง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราเจอกันที่ลำปาง หลังจากตกลงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ความที่ลุงแกไม่อยากเดินทางบ่อยอีกแล้ว จึงนำเงินเก็บมาเปิดร้านขายของชำอยู่ในย่านกาดกองต้านี่ สมัยนั้นกาดกองต้าบนถนนตลาดเก่าที่เลียบริมแม่น้ำวังเงียบเหงามาก ยังไม่มีถนนคนเดิน และบ้านส่วนใหญ่ก็ปิดไว้ ไม่ได้ทำการค้า แต่ความที่ซอยหลิ่งจันทร์หมันที่ร้านเราเปิด เป็นคิวรถไปอำเภอเมืองปาน ลูกค้าหลักของร้านจึงเป็นคนจากอำเภอรอบนอกที่นั่งรถประจำทาง ซึ่งสมัยนั้นเป็นรถคอกหมูเข้ามาทำธุระในเมือง สมัยก่อนรถขนคนมาแน่นทุกรอบเลย…

อยากเปิดโรงเรียนการช่างที่ลำปาง ถ้ามีโรงเรียนการช่างที่ไม่ว่าจะคุณจะเป็นใครก็ตามก็สามารถเข้าเรียนได้ คงดีไม่น้อย

2 years ago

“ผมเกิดกรุงเทพฯ สอบเอ็นทรานซ์ติดคณะวิศวะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปี 2528 แต่พอได้เรียนไป มันไม่ใช่ชีวิตผมเลย ระหว่างนั้นก็ได้ไปรู้จักกับพี่คนหนึ่งที่เขาทำงานหัตถกรรมส่งขายที่ไนท์บาซาร์ เห็นแล้วชอบ และพบว่าเราพอมีทักษะด้านงานฝีมือ ก็เลยไปเรียนรู้กับเขา จนไม่ได้ไปเรียนหนังสือเลย ทำให้สุดท้ายโดนรีไทร์ อาจเป็นค่านิยมในยุคนั้นด้วยแหละ ถ้าคุณเรียนหนังสือเก่ง ก็ต้องไปเรียนหมอ เรียนวิศวะ อะไรแบบนี้ คือตอนแรกผมก็เดินตามไปโดยไม่ได้คิดว่าจริงๆ แล้วตัวเองชอบอะไร จนมาเจอเรื่องงานฝีมือที่ทำให้ผมค้นพบว่าจริงๆ เราชอบงานหัตถกรรมและการสร้างสรรค์…

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังมองลำปางเป็นแค่เมืองผ่าน น่าเสียดาย เพราะจริงๆ เมืองเรามีอะไรให้เที่ยวหรือทำมากกว่าแค่ไปเช้าเย็นกลับ

2 years ago

“หม่องโง่ยซิ่นคือชื่อทวดของผม ท่านเป็นลูกของหม่องส่วยอัตถ์ ชาวมะละแหม่งที่เข้ามาดูแลกิจการไม้ให้บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าในลำปางเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ทวดของผมสร้างอาคารหลังนี้เมื่อปี พ.ศ. 2451 ใช้เป็นสำนักงานและที่รับรองให้นักธุรกิจที่เข้ามาทำสัมปทานค้าไม้ รวมถึงยังเคยรับรองเจ้าผู้ครองนครลำปางด้วย และเช่นเดียวกับอาคารทรงโคโลเนียลหลังอื่นๆ ในกาดกองต้า สถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมค้าไม้ในอดีต ซึ่งต่อมากลายมาเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองลำปาง ผมทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และรับช่วงดูแลอาคารหลังนี้ต่อมาจากคุณพ่อ ซึ่งตอนแรกก็ใช้อาคารนี้จัดเก็บวัสดุก่อสร้าง จนภายหลังที่น้ำท่วมหนักในปี 2548 และผู้คนในย่านร่วมกันจัดตั้งถนนคนเดิน ปลุกกระแสการฟื้นฟูอาคารเก่าในพื้นที่ จุดประกายให้ผมกลับมาฟื้นฟูอาคารหลังนี้…