“ผมเกษียณจากราชการทหารก่อนกำหนดเมื่อปี พ.ศ. 2544 ตอนอายุ 48 ปี พื้นเพเป็นคนลพบุรี แต่มีโอกาสได้มาประจำการที่ลำปางและมีครอบครัวที่นี่ ก่อนหน้านี้ผมไปประจำการอยู่ตามชายแดนในยุคที่รัฐบาลยังรบกับคอมมิวนิสต์ ก่อนจะลาออกราว 3-4 ปี ผมพบว่าปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศเรา หาใช่เรื่องลัทธิทางการเมืองอย่างที่เคยเข้าใจ แต่เป็นเรื่องยาเสพติดและเยาวชน ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างสังคมไทย หลังออกจากราชการผมเลยเริ่มต้นก่อตั้ง ‘มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม’ ผมจำไม่ได้ว่ามีทักษะของการเป็นวิทยากรติดตัวมาตอนไหน แต่ความที่ผมประจำการในหลายพื้นที่และเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านจึงมีข้อมูลเชิงลึก…
“ผมสนใจทฤษฎีพื้นที่ทางสังคม (social space) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาผมจะศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งมีรูปแบบเป็นทฤษฎีเป็นหลัก ไม่ได้ลงไปทำกับชีวิตของคนจริงๆ จนพอดีกับที่ บพท. ประกาศทุนเรื่อง learning city ผมจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีในการทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผมได้ลงไปทำงานกับผู้คนในเมืองเชียงใหม่จริงๆ และที่สำคัญ ผมมองว่านี่เป็นโอกาสจะใช้งานวิจัยในการมีส่วนแก้ปัญหาเมือง ก่อนทำงานโครงการนี้ ผมทำวิจัยร่วมกับพี่ตา (สุวารี วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่…
“สารตั้งต้นของโครงการ ‘เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพลวัตรที่ยั่งยืน’ มาจากเวทีเชียงใหม่ฮอม เวทีสาธารณะที่ชวนผู้คนในภาคส่วนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว (พ.ศ. 2561) ในเวทีนั้นผู้คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าปัญหาที่เมืองเรากำลังเผชิญมีสองเรื่องใหญ่ คือเรื่องเศรษฐกิจอันเกิดจากผลกระทบของโควิด-19 และปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจึงเลยนำสองเรื่องนี้มาตั้งโจทย์ว่าถ้างั้นเราจะสนับสนุนให้คนเชียงใหม่เรียนรู้เรื่องใดบ้าง ที่จะนำมาสู่กระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมาคิดถึงการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้สอดรับกับความเป็นเมืองท่องเที่ยว ส่วนประเด็นที่สองเรามองเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมเพื่อเป็นโมเดลในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง แม้จะแบ่งเป็น 2 โครงการย่อยที่แตกต่างอย่างชัดเจน…
“แม้เชียงใหม่จะมีคูเมืองที่เป็นเหมือนสวนหย่อมใจกลางเมือง และมีดอยสุเทพเป็นฉากหลัง แต่ข้อเท็จจริงคือ คนในเมืองกลับมีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก โดยเมื่อเทียบขนาดพื้นที่กับประชากรโดยเฉลี่ย เราจะมีพื้นที่สีเขียวราว 6 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตร นี่ยังไม่นับรวมประชากรแฝง เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือแรงงานอื่นๆ ที่ประมาณ 5 แสนคน ถ้านับรวมจำนวนนี้เข้าไป…
“สมัยยังเด็ก ผมมีความฝันอยากเรียนและทำงานด้านอนิเมชั่น แต่ป๊าอยากให้เรียนไปทางสายวิทย์ เขามองว่าอาชีพหมอหรือวิศวกรมั่นคงกว่า แกก็เคี่ยวเข็ญให้ผมไปทางนั้น ซึ่งนั่นทำให้ผมเริ่มไม่สนุกกับการเรียน น่าจะเป็นช่วงมัธยมสองที่ญาติไปเปิดร้านอาหารไทยในกัวลาลัมเปอร์ ผมเลยดร็อปเรียน และขอตามไปช่วยงานครัวที่นั่น ซึ่งนั่นแหละครับ หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้กลับไปเรียนหนังสือสายสามัญอีกเลย ผมโตมาในครอบครัวค่อนข้างใหญ่ มีพี่น้องและลูกพี่ลูกน้องอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 คน ความที่ผมเป็นคนเกือบโตสุด เลยมักเป็นคนทำอาหารให้น้องๆ กิน ซึ่งทักษะนี้ได้มาจากปู่ แกสอนให้ผมจับมีดหั่นผัก…
“ระหว่างเรียนมัธยมปลายที่พิษณุโลก ผมมีโอกาสลงพื้นที่ชุมชนที่อำเภอพรหมพิราม ในฐานะอาสาสมัครโครงการยุววิจัยของ สกว. (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม: สกสว. - ผู้เรียบเรียง) การลงพื้นที่ครั้งนั้นเปิดโลกผมมาก เพราะมันไม่ใช่แค่ความสนุกจากการได้ทำงานเป็นทีม หรือการได้เรียนรู้จากชาวบ้าน แต่ยังทำให้เราตระหนักว่าหากมีแผนยุทธศาสตร์ชัดเจน การทำงานภาคประชาสังคมสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนในพื้นที่ได้จริงๆ จนพอถึงเวลาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมจึงเลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าถ้าเราอยากทำงานสายนี้ การอยู่ในเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของภาคประชาสังคม จะทำให้ผมได้เรียนรู้มากขึ้น…
“หลายคนเข้าใจผิดว่าแรมป์ในสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่เป็นลานสเก็ต แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นสนามฝึกซ้อมของนักกีฬาจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ก่อนที่คุณตัน (ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจเจ้าของโครงการหลากหลายในย่านนิมมานเหมินท์ – ผู้เรียบเรียง) จะพัฒนาพื้นที่บางส่วนตรงกาดเชิงดอยให้เป็นพื้นที่เปิดสำหรับเล่นสเก็ตและเซิร์ฟบอร์ด เมืองเชียงใหม่เราเลยไม่มีสเก็ตพาร์ค (skatepark) หรือลานสเก็ตจริงๆ เมื่อก่อนข้างๆ กาดสวนแก้ว เร็ดบูลเคยทำแรมป์สเก็ตเปิดให้ทุกคนได้เล่น ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากๆ แต่ก็ปิดตัวไปหลายปีแล้ว ผมกับเพื่อนๆ ก็เลยต้องเล่นกันตามทางเท้าหรือลานโล่งๆ…
“ผมขับรถสี่ล้อสีเหลืองเส้นทางเชียงใหม่-เวียงป่าเป้า พาผู้โดยสารที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า นักเรียน คนทำงาน นักท่องเที่ยว และพี่น้องชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางเข้า-ออกเมืองเชียงใหม่มาสี่สิบกว่าปีแล้ว ขับมานานจนคนขับรถประจำทางด้วยกันตั้งให้เป็นประธานกรรมการสหกรณ์นครเชียงใหม่เดินรถ จำกัด ติดกันมา 5 วาระ งานของผมคือช่วยประสานงานกับพี่น้องคนขับรถสี่ล้อเหลืองใน 28 เส้นทาง ซึ่งมีอยู่นับพันคันใน 4 จังหวัดภาคเหนือ คนชอบมองว่ารถประจำทางสี่ล้อมักไม่พัฒนา เป็นมายังไงก็อย่างนั้น แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเรามีข้อจำกัดหลายอย่าง…
“กาดต้นลำไยและกาดวโรรส เริ่มต้นในเวลาไม่ห่างกันมากนัก แต่เดิมพื้นที่ของกาดวโรรสหรือ ‘กาดหลวง’ เคยเป็นสุสานเก่าของเจ้านายฝ่ายเหนือ จนปี 2452 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ย้ายสุสานไปไว้ที่วัดสวนดอก เพื่อพัฒนาที่ดินให้กลายเป็นตลาด ส่วนกาดต้นลำไย ความที่อยู่ติดริมน้ำ บริเวณนี้จึงเป็นที่เลี้ยงและอาบน้ำช้างของเจ้าเมืองเชียงใหม่ จนอุตสาหกรรมค้าไม้และการค้าทางเรือบนลำน้ำปิงเฟื่องฟู จากที่เลี้ยงช้างก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยห้องแถวเล็กๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งใหม่ของเมือง แม้จะตั้งอยู่ใกล้กัน แต่ตลาดทั้งสองแห่งก็ต่างมีรูปแบบเฉพาะที่ต่างกันออกไป ทำให้ไม่เคยแย่งลูกค้ากัน กาดวโรรสจำหน่ายผ้าสำเร็จรูป…
“ป้าขายกับข้าวมาตั้งแต่ปี 2540 ตรงนี้เคยเป็นที่ดินของวัดร้างชื่อวัดหนองหล่ม เจดีย์นี่ชื่อพระธาตุหนองหล่ม ป้าขายอยู่ข้างเจดีย์ ลูกค้าเลยเรียกร้านเราว่าร้านป้าดาตีนธาตุ หนองหล่มคือชื่อของชุมชนแห่งนี้ ความที่ชุมชนอยู่ใกล้หนองน้ำหลังตึกแถวตรงนี้ (ชี้ไปทางตึกแถวตรงข้ามเจดีย์) เป็นหนองน้ำที่ถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็มสักที เลยเรียกกันหนองหล่ม เมื่อก่อนป้าทำลาดหน้า ผัดหมี่ และขนมเส้นจากที่บ้าน เดินข้ามคูเมืองไปเปิดร้านในกาดสมเพชร จนปี 2540 ชุมชนหนองหล่มไฟไหม้ ชาวบ้านต้องขนข้าวของหนีไฟ และเอามาพักไว้รอบๆ…