ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีก่อตั้งขึ้นเมื่อ 22 ปีก่อน ปัจจุบันมีคนเข้ามาดูงาน มาจัดกิจกรรมมากมาย และขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ในชุมชนร่วมกับคนรุ่นเก่า

2 years ago

“ยี่สิบกว่าปีก่อนหลังจากแม่กลับจากช่วยหลานทำสวนทุเรียนที่จันทบุรี ความที่แม่ไม่ได้อยู่เชียงใหม่มานาน เลยไปเที่ยวงานแถวประตูท่าแพ จำไม่ได้แล้วว่าเป็นงานอะไร แต่ในงานมีรำวงด้วย แม่ก็ดื่มและขึ้นไปรำวงกับเขา แล้วก็ได้ยินเสียงโฆษกประกาศเชิญสาวรำวงจากชุมชนนั้น ชุมชนนี้ขึ้นมาเต้น ตอนนั้นแหละที่แม่เพิ่งรู้ว่าในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ก็มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในฐานะชุมชนด้วย เลยย้อนกลับมาคิดถึงบ้านเรา แม่เกิดและเติบโตในชุมชนหลังวัดหม้อคำตวง ทุกคนก็รู้จักกันหมด แต่นอกจากไปวัด ก็ไม่ได้มีการร่วมกันจัดกิจกรรมอะไรจริงจัง แม่เลยคิดว่าเราน่าจะตั้งชุมชนกัน ก็ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่แขวง เขาก็บอกว่าต้องรวบรวมลูกบ้านให้ได้ 50-60 ครัวเรือนเพื่อขอจัดตั้ง…

ศาลเจ้าปุ่งเถ่ากงผูกพันกับคนเชียงใหม่หลายต่อหลายรุ่น แม้จะแยกย้ายไปอยู่ต่างถิ่นก็จะกลับมาไหว้เจ้า ศาลเจ้าแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมคนไทยเชื้อสายจีนในเชียงใหม่

2 years ago

“คำว่าคนจีนโพ้นทะเล หมายถึงชาวจีนที่เราหลายคนได้ยินมาตั้งแต่เด็กว่าพวกเขาหอบเสื่อหนึ่งผืนและหมอนอีกหนึ่งใบออกจากบ้านเกิดเพื่อมาแสวงโชคต่างแดน คำนี้ยังเชื่อมโยงกับการต้องเดินทางด้วยเรือไปยังที่ต่างๆ ผ่านทะเล หรือแม่น้ำ เพื่อจะได้พบสถานที่ในการตั้งรกรากแห่งใหม่ สมัยก่อนการเดินเรือไม่ได้ปลอดภัย ไหนจะคลื่นลม ภัยพิบัติ ไปจนถึงโจรสลัด คนจีนที่ออกเดินทางจึงมักหาเครื่องยึดเหนี่ยวด้วยการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่และทวยเทพต่างๆ มาสถิตยังศาลเจ้าตามเมืองต่างๆ ที่พวกเขาต้องเดินเรือ เพื่อจะได้กราบไหว้ขอพรให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทางหรือบันดาลให้การค้าเจริญรุ่งเรือง เราจึงเห็นว่าศาลเจ้าจีนหลายแห่งมักอยู่ริมแม่น้ำ รวมถึงศาลเจ้าปุงเถ่ากง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง ติดกับกาดต้นลำไย ย่านไชน่าทาวน์ของเมืองเชียงใหม่แห่งนี้ ก็เช่นกัน…

ดอกไม้พันดวง เครื่องมือนำร่องของ แคมเปญ ‘เชียงใหม่เมืองเทศกาล เจ้าภาพคือทุกคน เริ่มต้นที่ยี่เป็ง’

2 years ago

“คนเมืองเรียกดอกไม้ปันดวง ถ้าเป็นภาษากลางก็คือดอกไม้พันดวง นี่เป็นชื่อของเครื่องสักการะตั้งธรรมหลวงของชาวไทลื้อ ชาวบ้านจะเด็ดดอกไม้ที่ปลูกไว้มาวางซ้อนกันบนแตะหรือไม้ไผ่สานคล้ายตระแกรง หรือรูปทรงอื่นๆ เพื่อไปแขวนประดับวิหารวัดก่อนวันขึ้น 15 ค่ำในประเพณียี่เป็ง คนเฒ่าคนแก่หลายคนยังพอจำได้ แต่คนรุ่นหลังนี้แทบไม่คุ้นเคย เพราะพิธีกรรมนี้หายไปจากในตัวเมืองนานแล้ว เรื่องดอกไม้ปันดวงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ภายหลังที่เราชวนชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ต่างเห็นตรงกันว่า เราควรเรียนรู้จากต้นทุนที่เรามี รวมถึงมรดกที่กำลังเลือนหาย เพราะจริงๆ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ทว่าก็ทรงคุณค่าที่สุดใกล้ตัวเรา…

การศึกษาเรื่องการทำงานข้ามภาคส่วน ทำให้เข้าใจโครงสร้างของการทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน ภาคเอกชน และรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเมืองต่อไป

2 years ago

“เชียงใหม่เป็นเมืองมหาวิทยาลัย เราจึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมืองเยอะมากๆ ขณะเดียวกัน เมืองเรามีภาคประชาสังคมที่ทำงานครอบคลุมแทบทุกด้าน ก็เป็นเช่นที่หลายคนมองเห็นตรงกันคือ แม้เราจะมีบุคลากรและทรัพยากรที่พร้อมสรรพ แต่เราก็กลับขาดการทำงานร่วมกัน ต่างคนต่างทำงานในพื้นที่หรือศาสตร์เฉพาะของตนเองไป ซึ่งทำให้มีไม่น้อยที่เมื่อเราทำๆ ไปของเราฝ่ายเดียวเรื่อยๆ แล้วเราก็พบกับทางตัน พออาจารย์สันต์ (รศ.ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์) มาชวนเราทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของเชียงใหม่ ทั้งอาจารย์และเราก็ต่างมองตรงกันว่าควรจะมีการศึกษากลไกการทำงานแบบข้ามภาคส่วน เพราะเชื่อว่าไม่ว่าเมืองจะพัฒนาเป็นอะไรสักอย่าง เป็นเมืองหัตถกรรม เมืองสร้างสรรค์…

ในชุมชนป่าห้าซึ่งอยู่ใกล้กับย่านนิมมานเหมินท์ ยังเห็นร่องรอยของลำเหมืองโบราณ เช่นเดียวกับอุดมคติของชุมชนที่ยังหลงเหลืออยู่

2 years ago

“เราไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ ที่ดินตรงนี้เป็นของสามี และเขาปลูกบ้านไว้ หลังจากเราไปสอนหนังสือที่ขอนแก่นและเรียนต่อ จนได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เลยได้มาอยู่ที่นี่ เคยไปดูแผนที่ของทางเทศบาล ในนั้นระบุว่าชุมชนป่าห้าที่เราอยู่เป็นชุมชนแออัด ซึ่งถ้ามองทางกายภาพก็แออัดจริงๆ บ้านเรือนสร้างแทบจะขี่คอกัน แถมที่ดินบ้านเราก็อยู่ต่ำกว่าระดับถนน ฝนตกหนักทีก็มีสิทธิ์น้ำท่วม ดีที่บ้านเรามีบริเวณพอจะปลูกต้นไม้ทำสวน รวมถึงขุดบ่อไว้ระบายน้ำ เป็นโอเอซิสเล็กๆ กลางเมือง และถ้ามองในด้านทำเล ตรงนี้คืออุดมคติเลยล่ะ เราสอนหนังสือที่…

การผสมผสานสิ่งใหม่และเก่าในชุมชน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเกื้อกูลกันระหว่างคนสองรุ่น ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่เกิดจากความหลากหลาย

2 years ago

“บ้านหลังนี้เคยเป็นบ้านของครอบครัวและสำนักงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างของพ่อ พอผมขึ้นมัธยมที่มงฟอร์ต เราก็ย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง อากงอยู่ที่นี่ต่อไปอีกสักพัก ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโกดังเก็บของ และบ้านพักพนักงานของบริษัทพ่อ มาราวสิบปีสุดท้าย เราก็ปล่อยให้เป็นบ้านร้าง จนน้องสาวเรียนจบกลับมา ประมาณปลายปี 2563 เราก็เปลี่ยนให้บ้านหลังนี้เป็นคาเฟ่ที่เสิร์ฟบรันซ์ ตั้งชื่อว่า มิทเทอ มิทเทอ (Mitte Mitte) โดยเอาชื่อมาจากย่านหนึ่งในเบอร์ลิน ย่านที่น้องเคยใช้ชีวิตสมัยไปเรียนที่เยอรมนี ก่อนจะตัดสินใจเปิดร้าน…

กิจกรรมการกวนข้าวยาคู้ที่คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกับชุมชน ทำให้วัดและชุมชนมีชีวิตชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง

2 years ago

“โยมเห็นไหมว่าเจดีย์วัดชมพูนี่เหมือนพระธาตุดอยสุเทพเลย เจดีย์นี้สร้างสมัยเดียวกับบนดอยสุเทพนั่นแหละ หลังจากพระเจ้ากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ท่านก็อยากให้พระมารดาได้สักการะด้วย แต่สมัยก่อนไม่มีถนน ขึ้นไปไหว้พระบนดอยนี่ลำบาก ท่านเลยโปรดให้สร้างเจดีย์รูปแบบเดียวกันตรงนี้แทน และตั้งชื่อว่าวัดใหม่พิมพา ตามชื่อพระมารดาพระนางพิมพาเทวี จนภายหลังมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดชมพู ตามครูบาชมพูที่เคยมาพำนักสมัยพระเจ้ากาวิละ เจดีย์วัดชมพูเลยเป็นคู่แฝดของพระธาตุดอยสุเทพมาจนทุกวันนี้ ญาติโยมคนไหนไม่สะดวกขึ้นดอยสุเทพ ก็มาสักการะที่นี่ได้ หลวงพ่อย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตอน พ.ศ. 2509 ต่อจากครูบาแก้ว สุคันโธ สมัยนั้นครูบาแก้วท่านสมถะ…

11 ปีจากจุดเริ่มของการแก้ปัญหาของเมืองเชียงใหม่ด้วยการใช้วัฒนธรรมเป็นตัวนำ จนกลายมาเป็นเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่

2 years ago

“รูปแบบของานยอสวยไหว้สาพญามังราย ฉลองครบรอบ 726 ปีเมืองเชียงใหม่ ที่ทางเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมจัดงานไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แตกต่างจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือในที่สุดเราก็สามารถสืบค้นจากเอกสารโบราณเกี่ยวกับเครื่องบวงสรวงหอบรรพกษัตริย์ตามประเพณีดั้งเดิมได้ เราจึงมีการจัดเครื่องสักการะเป็นกับข้าวพื้นเมือง 9 อย่างตรงตามเอกสาร ไม่ใช่การถวายหัวหมูแบบธรรมเนียมเซ่นไหว้ของคนจีนเหมือนก่อน หลายคนอาจสงสัยว่าจะอะไรกันหนักหนากับเครื่องเซ่นไหว้ ก็ต้องบอกว่าในเมื่อเราจะทำตามประเพณีแล้ว เราก็ควรเข้าใจความหมายในทุกบริบทของประเพณี ทำไมคนโบราณถึงเลือกใช้กับข้าว 9 อย่างนี้ ทำไมต้องถวายขันโตกแยกถาดเหล้า ถาดล้างมือ…

การพานักเรียนนักศึกษาลงไปศึกษาชุมชน เป็นประโยชน์ต่อทั้งเด็กนักเรียนและชุมชนที่จะออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว กระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือเป็นแนวทางในการเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ของตัวเองต่อไป

2 years ago

“คนส่วนใหญ่มักมองว่าชุมชนคือที่อยู่อาศัย แต่ที่จริงแล้วในทุกชุมชนต่างมีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและเป็นต้นทุนในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสังคมต่อไปไม่จบไม่สิ้น โครงการหลากมิติแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการลงพื้นที่ไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน โดยในทางกลับกันเราก็หวังให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการกระตุ้นผู้คนในชุมชนให้กลับมาทบทวนมรดกในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นต้นทุนในการต่อยอดไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ในระยะแรก เราส่งเทียบเชิญไปยังสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอเมือง ให้ส่งตัวแทนนักเรียนมาร่วมกิจกรรมโรงเรียนละ 5 คน โดยออกแบบกิจกรรมไว้ 3 ระดับ ใน 3…

เชียงใหม่ เมืองแห่งการเรียนรู้ คนในเมืองควรต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในวิธีคิดของเมือง และเป็นเจ้าของวัฒนธรรมที่แท้จริง

2 years ago

“ผมนั่งรถผ่านย่านช้างม่อยเพื่อไปโรงเรียนที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำปิงตั้งแต่เด็ก ความทรงจำของผมคือที่นี่เป็นย่านตึกแถวเก่าๆ ที่มีโกดังเต็มไปหมด ไม่ได้มีเสน่ห์หรือคุณค่าอะไร กระทั่งผมไปเรียนต่างประเทศและกลับมาทำงานที่เชียงใหม่เมื่อราว 5 ปีที่แล้ว จึงเห็นว่าย่านนี้เปลี่ยนไปมาก มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ บูรณะตึกให้กลายเป็นคาเฟ่หรือร้านรวงที่สอดรับกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเห็นได้ตามเมืองเก่าแก่ใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลก พอได้กลับมาเห็นที่ช้างม่อย ย่านที่ผมมองข้ามมาตลอด จึงรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ ความที่ผมเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรม ผมจึงมักชวนนักศึกษาในชั้นเรียนให้ลงพื้นที่ไปเรียนรู้วิถีตามย่านต่างๆ ในเมืองอย่างสม่ำเสมอ ช้างม่อยเป็นหนึ่งในที่ที่ผมไม่เคยพลาดที่จะพานักศึกษามาเยือน เพราะมันไม่ใช่แค่รูปแบบของอาคารพาณิชย์ในยุคโมเดิร์น…