“จริงๆ ก็เป็นการจับผลัดจับผลูพอสมควรครับ ก่อนหน้านี้ผมเป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก สอนอยู่สักพัก เพื่อนรุ่นพี่เขาทำหลักสูตรศิลปะขึ้นมาใหม่ให้วิทยาเขตพะเยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา) ผมอ่านหลักสูตรแล้วสนใจ เลยย้ายมาสอนประจำที่นี่ ทุกวันนี้สอนมา 8 ปีแล้วผมสนใจหลักสูตรนี้ตรงที่เขามุ่งเน้นให้ศิลปะ งานออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์รับใช้ชุมชน หาใช่การผลิตบัณฑิตศิลปะเพื่อเข้าหาแวดวงศิลปะเป็นศูนย์กลาง ต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาคุณเป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อยากเรียนปริญญาด้านศิลปะ คุณก็จะมุ่งไปหามหาวิทยาลัยศิลปากร ลาดกระบัง หรือวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่…
https://youtu.be/wTy-1y05ip8 ชมเรื่องราวการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ตามกรอบการพัฒนาขององค์การ UNESCO บนฐานทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง และเมืองพะเยา
“ผมเคยเป็นผู้จัดการร้านเหล้าที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นงานที่ทำระหว่างเรียนปริญญาตรีจนกระทั่งเรียนจบ จากนั้นก็ไปลองใช้ชีวิตและทำงานหลายอย่างที่แอลเอ ราว 2 ปี ก่อนกลับมาหางานทำที่เชียงใหม่อีกสักพัก แล้วกลับมาอยู่บ้านที่พะเยาก็ได้รู้จักอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยพะเยา อาจารย์โป้งเป็นอีกคนที่ทดลองใช้ชีวิตมาหลายที่ก่อนจะมาปักหลักที่พะเยา ผมกับอาจารย์โป้งเห็นตรงกันว่าพะเยายังขาดพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เราจึงร่วมหุ้นกันเปิด Junk Yard เป็นทั้งบาร์และอาร์ทสเปซ มีกิจกรรมฉายหนัง แสดงงานศิลปะ และดีเจ นั่นคือเมื่อเกือบ…
กุกุฎนคร อาลัมภางค์ เขลางค์นคร เมืองละคร นครลำปาง ฯลฯ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจากทั้งหมด 11 ชื่อที่ผู้คนในยุคต่างๆ เคยใช้เรียกเมืองที่ปัจจุบันรู้จักกันดีในนาม ‘จังหวัดลำปาง’ โดยสาเหตุที่ทำให้เมืองรุ่มรวยไปด้วยชื่อเรียกมากขนาดนี้ ก็เพราะเมื่อสืบสาวจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ จะพบว่าเมืองลุ่มแม่น้ำวังแห่งนี้มีอายุเก่าแก่ถึง 1,300 ปี และใช่ นอกจากภาพจำถึงรถม้าและชามตราไก่ ด้วยอายุที่ยาวนานอันมาพร้อมกับโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ท่ามกลางวิถีของเมืองสมัยใหม่ หลายคนจึงจดจำลำปางในฐานะ…
ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกเราว่าสาเหตุที่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ลำปางขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพราะลำปางมีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากตัวสถาบันของเธอเองมีส่วนขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับเครือข่ายชุมชนมามากกว่า 20 ปี ก่อนที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Learning City คืออะไรเสียอีก “พันธกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง คือการสกัดองค์ความรู้เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเราก็มีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาจังหวัดลำปางมามากกว่า 10 ปี อย่างไรก็ดี…
“สมัยปู่ผมเป็นหนุ่ม แกซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ที่ติดแม่น้ำวังในชุมชนบ้านต้าไว้ และก็ปล่อยให้มันเป็นป่ารกมาอย่างนั้นมาหลายปี มีเหตุการณ์หนึ่งที่จุดประกายสู่อาชีพของผมทุกวันนี้ คือความที่พ่อผมเอาป้ายคำว่ายินดีต้อนรับมาติดไว้ตรงรั้วของที่ดินนั้น แล้วมีคนจากตัวเมืองลำปางขับรถมาถามพ่อว่าร้านอาหารเราเปิดหรือยัง พ่อก็บอกเราไม่ได้ทำร้าน ตรงนั้นเป็นแค่ที่ดินรก ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นวิศวกรโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ส่วนแฟนทำงานนิตยสารอยู่ที่กรุงเทพฯ เราก็คุยกันว่าจริงๆ ที่ดินตรงนั้นมันมีศักยภาพนะ ขนาดร้าง คนยังเข้าใจผิดว่าเป็นร้านเลย ก็ประจวบเหมาะกับที่ผมรู้สึกอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำมา 8 ปีแล้วด้วย ก็เลยบอกกับแฟนว่างั้นเรากลับลำปาง…
“พื้นเพเราเป็นคนอุทัยธานี ส่วนสามีเป็นคนลำปางที่โตมาในกาดกองต้า ความที่เราทั้งคู่ชอบกินของอร่อยๆ เหมือนกัน เลยตัดสินใจเช่าอาคารในย่านกาดกองต้าเปิดร้านเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน โดยตอนแรกทำในรูปแบบธุรกิจโต๊ะจีน พอขายได้อยู่ แต่ดันมาเจอช่วงฟองสบู่แตกช่วงปี 2540 ร้านเลยโดนกระทบหนัก จึงเปลี่ยนรูปแบบมาขายอาหารที่ราคาย่อมเยาลง เราใช้ตำรับอาหารและทรัพยากรเดิมเลย แต่ปรับเมนูและระดับราคาให้ขายง่ายขึ้น โดยใช้ชื่อร้านว่า ‘อร่อยบาทเดียว’ ขายข้าวต้มถ้วยละบาท รองรับลูกค้าทุกระดับ ธุรกิจตอนแรกยังทรงๆ เพราะตอนนั้นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ก็กัดฟันสู้อยู่หลายปี…
“สถานีรถไฟลำปางสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2458 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของเมืองในอดีต เพราะในยุคสมัยนั้นลำปางมีธนาคารแห่งชาติ มีสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ธุรกิจอะไรต่างๆ ก็มาเปิดกันที่นี่ โดยมีสถานีรถไฟแห่งนี้เหมือนเป็นประตูเชื่อม เพราะนอกจากการขนส่งผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ รถไฟยังใช้ขนสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ พืชผักผลไม้ ยาสูบ ไปจนถึงเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรจากกรุงเทพฯ ส่งมายังธนาคารแห่งชาติที่อยู่ใกล้ๆ ทหารก็ใช้รถไฟขนยุทโธปกรณ์ กระทั่งรถถังก็ยังเคยขึ้นรถไฟมาแล้ว…
“ตอนหนุ่มๆ ผมเป็นช่างกลึงในอู่ซ่อมรถ แต่มีความฝันมาตลอดว่าอยากขับรถม้า พอเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งเลยซื้อม้ามาเลี้ยงก่อน จำได้ว่าซื้อมาตัวละ 900 บาท สมัยสัก 50 ปีก่อน ลำปางยังมีรถไม่เยอะ เลยมีคนเอาม้ามาขี่เล่นกลางถนน ผมก็เอามาขี่เล่นด้วย ทำความคุ้นเคยกับมันไป จากนั้นก็ไปเรียนวิธีการขับรถม้าจากคนที่ขับมาก่อน จนลูกชายขึ้น ม.1 ผมจึงตัดสินใจลาออก แล้วหันมาขับรถม้าเต็มตัว สมัยนั้นรถม้าในลำปางเป็นที่นิยมมาก…
“ผมเริ่มตลาด We Market เมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากการที่ได้รู้จักกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ย้ายกลับมาทำธุรกิจที่บ้าน ก็คุยกันว่าเราน่าจะมีช่องทางในการทำมาหากินมากขึ้นด้วยการทำตลาดที่จำหน่ายอาหารปลอดภัย ต้นไม้ และผลิตภัณฑ์ที่มีความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ตอนแรกคิดถึงการของบประมาณจากหน่วยงานรัฐต่างๆ มาทำ เพราะผมก็เคยทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน แต่มาคิดดูแล้วว่าถ้าเราของบเขามาทำ คนให้งบเขาก็คาดหวังในภาพของเขา ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนกว่าภาพของเรา สุดท้ายก็ลงมือทำกันเอง เพราะผมก็มีทักษะด้านการทำสื่อวิดีโอและสื่อออนไลน์ด้วย ก็มีต้นทุนในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์อยู่พอสมควร เราเปิดตลาดที่แรกหลังโรงเรียนอนุบาลลำปาง…