จากที่มองพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ ที่ดูไม่มีอะไร ทุกวันนี้เราพบแต่โอกาสที่ทำให้เมืทองเป็นในแบบที่พวกเราอยากให้เป็น

3 years ago

“เราเรียนมาทางดุริยางคศิลป์ หลังจากเรียนจบก็เป็นครูสอนดนตรี และเล่นดนตรีกลางคืนอยู่เชียงใหม่อยู่พักใหญ่ๆ จนประมาณ 5 ปีที่แล้ว เราอกหัก ตอนนั้นเป็นอารมณ์ชั่ววูบเหมือนกัน ตัดสินใจขับรถกลับบ้านที่พะเยา แม่ก็เปิดประตูบ้านรับ หลังจากนั้นก็ไม่ให้ไปไหนเลย (หัวเราะ)ตอนแรกก็ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรหรอก พ่อแม่เราเป็นข้าราชการเกษียณ พี่ชายขายก๋วยเตี๋ยวเป็ด ส่วน ค่าจ้างนักดนตรีของที่นี่ก็ถูกกว่าเชียงใหม่เกือบครึ่ง ทำเป็นอาชีพแทบไม่ได้ ที่สำคัญเราพบว่าพะเยาเงียบมากๆ คือในแง่การใช้ชีวิตอยู่ มันก็สงบและสะดวกสบายดีหรอก…

รางวัลสำหรับเมืองก็เป็นเพียงรางวัลครับ แต่หัวใจจริงๆ คือชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมือง

3 years ago

“แม้เทศบาลเมืองพะเยาจะมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนพะเยาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เศรษฐกิจดี และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้ว แต่การได้ร่วมมือกับทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ก็ช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับชาวบ้านได้อย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของความคิดสร้างสรรค์และการส่งเสริมทักษะความรู้ใหม่ๆที่เห็นได้ชัดคือการที่มีทีมอาจารย์ร่วมกับผู้ประกอบการที่ทำสินค้า OTOP ออกแบบฉลากสินค้า บรรจุภัณฑ์ การถนอมอาหาร ไปจนถึงแบรนด์ดิ้ง เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสินค้าท้องถิ่นที่เป็นมาให้ดูมีความเป็นสากลมากขึ้น ช่วยขยายตลาดให้สินค้าได้มากกว่าเดิม หรืออย่างเรื่องการศึกษา ในฐานะตัวแทนสำนักงานเทศบาล ผมรู้สึกปลื้มใจที่ทีมงานจากมหาวิทยาลัย ได้ประสานให้เกิดวิชาใหม่ๆ ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล…

น้อยคนนักที่อยากจะเรียนศิลปะในมหาวิทยาลัยที่เพิ่งเปิดใหม่ แถมยังอยู่ถึงจังหวัดพะเยา

3 years ago

“จริงๆ ก็เป็นการจับผลัดจับผลูพอสมควรครับ ก่อนหน้านี้ผมเป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก สอนอยู่สักพัก เพื่อนรุ่นพี่เขาทำหลักสูตรศิลปะขึ้นมาใหม่ให้วิทยาเขตพะเยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา) ผมอ่านหลักสูตรแล้วสนใจ เลยย้ายมาสอนประจำที่นี่ ทุกวันนี้สอนมา 8 ปีแล้วผมสนใจหลักสูตรนี้ตรงที่เขามุ่งเน้นให้ศิลปะ งานออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์รับใช้ชุมชน หาใช่การผลิตบัณฑิตศิลปะเพื่อเข้าหาแวดวงศิลปะเป็นศูนย์กลาง ต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาคุณเป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อยากเรียนปริญญาด้านศิลปะ คุณก็จะมุ่งไปหามหาวิทยาลัยศิลปากร ลาดกระบัง หรือวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่…

ชมเรื่องราวการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัดภาคเหนือ

3 years ago

https://youtu.be/wTy-1y05ip8 ชมเรื่องราวการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ตามกรอบการพัฒนาขององค์การ UNESCO บนฐานทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง และเมืองพะเยา

ถ้าเมืองเราดี หรือมีพื้นที่ที่ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกมีความหวัง พวกเขาจะกลับมาเอง

3 years ago

“ผมเคยเป็นผู้จัดการร้านเหล้าที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นงานที่ทำระหว่างเรียนปริญญาตรีจนกระทั่งเรียนจบ จากนั้นก็ไปลองใช้ชีวิตและทำงานหลายอย่างที่แอลเอ ราว 2 ปี ก่อนกลับมาหางานทำที่เชียงใหม่อีกสักพัก แล้วกลับมาอยู่บ้านที่พะเยาก็ได้รู้จักอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยพะเยา อาจารย์โป้งเป็นอีกคนที่ทดลองใช้ชีวิตมาหลายที่ก่อนจะมาปักหลักที่พะเยา ผมกับอาจารย์โป้งเห็นตรงกันว่าพะเยายังขาดพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เราจึงร่วมหุ้นกันเปิด Junk Yard เป็นทั้งบาร์และอาร์ทสเปซ มีกิจกรรมฉายหนัง แสดงงานศิลปะ และดีเจ นั่นคือเมื่อเกือบ…

ท่องไปในประวัติศาสตร์ 1,300 ปี<br />8 พื้นที่แห่งการเรียนรู้ใน 4 ยุคสมัยของเมืองลำปาง

3 years ago

กุกุฎนคร อาลัมภางค์ เขลางค์นคร เมืองละคร นครลำปาง ฯลฯ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจากทั้งหมด 11 ชื่อที่ผู้คนในยุคต่างๆ เคยใช้เรียกเมืองที่ปัจจุบันรู้จักกันดีในนาม ‘จังหวัดลำปาง’ โดยสาเหตุที่ทำให้เมืองรุ่มรวยไปด้วยชื่อเรียกมากขนาดนี้ ก็เพราะเมื่อสืบสาวจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ จะพบว่าเมืองลุ่มแม่น้ำวังแห่งนี้มีอายุเก่าแก่ถึง 1,300 ปี และใช่ นอกจากภาพจำถึงรถม้าและชามตราไก่ ด้วยอายุที่ยาวนานอันมาพร้อมกับโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ท่ามกลางวิถีของเมืองสมัยใหม่ หลายคนจึงจดจำลำปางในฐานะ…

จากฐานภูมิวัฒนธรรมสู่แบรนด์ ‘ครั่ง’ ที่ไปไกลกว่างานวิจัย<br />สนทนากับ ดร.ขวัญนภา สุขคร ว่าด้วยบทบาทของมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเมืองลำปาง

3 years ago

ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกเราว่าสาเหตุที่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ลำปางขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพราะลำปางมีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากตัวสถาบันของเธอเองมีส่วนขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับเครือข่ายชุมชนมามากกว่า 20 ปี ก่อนที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Learning City คืออะไรเสียอีก “พันธกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง คือการสกัดองค์ความรู้เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเราก็มีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาจังหวัดลำปางมามากกว่า 10 ปี อย่างไรก็ดี…

ลำปางเป็นเมืองที่มีศักยภาพ มีกลุ่มคนที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมเพื่อเมืองไม่น้อย แต่กลับไม่มีพื้นที่ของกิจกรรมร่วมสมัยเพื่อรองรับคนรุ่นใหม่เท่าที่ควร

3 years ago

“สมัยปู่ผมเป็นหนุ่ม แกซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ที่ติดแม่น้ำวังในชุมชนบ้านต้าไว้ และก็ปล่อยให้มันเป็นป่ารกมาอย่างนั้นมาหลายปี มีเหตุการณ์หนึ่งที่จุดประกายสู่อาชีพของผมทุกวันนี้ คือความที่พ่อผมเอาป้ายคำว่ายินดีต้อนรับมาติดไว้ตรงรั้วของที่ดินนั้น แล้วมีคนจากตัวเมืองลำปางขับรถมาถามพ่อว่าร้านอาหารเราเปิดหรือยัง พ่อก็บอกเราไม่ได้ทำร้าน ตรงนั้นเป็นแค่ที่ดินรก ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นวิศวกรโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ส่วนแฟนทำงานนิตยสารอยู่ที่กรุงเทพฯ เราก็คุยกันว่าจริงๆ ที่ดินตรงนั้นมันมีศักยภาพนะ ขนาดร้าง คนยังเข้าใจผิดว่าเป็นร้านเลย ก็ประจวบเหมาะกับที่ผมรู้สึกอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำมา 8 ปีแล้วด้วย ก็เลยบอกกับแฟนว่างั้นเรากลับลำปาง…

พนักงานเสิร์ฟทุกคนเป็นนักเรียนนักศึกษาพาร์ทไทม์ มีตั้งแต่มอสี่ ปวช. ปวส. ไปจนถึงจบปริญญา

3 years ago

“พื้นเพเราเป็นคนอุทัยธานี ส่วนสามีเป็นคนลำปางที่โตมาในกาดกองต้า ความที่เราทั้งคู่ชอบกินของอร่อยๆ เหมือนกัน เลยตัดสินใจเช่าอาคารในย่านกาดกองต้าเปิดร้านเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน โดยตอนแรกทำในรูปแบบธุรกิจโต๊ะจีน พอขายได้อยู่ แต่ดันมาเจอช่วงฟองสบู่แตกช่วงปี 2540 ร้านเลยโดนกระทบหนัก จึงเปลี่ยนรูปแบบมาขายอาหารที่ราคาย่อมเยาลง เราใช้ตำรับอาหารและทรัพยากรเดิมเลย แต่ปรับเมนูและระดับราคาให้ขายง่ายขึ้น โดยใช้ชื่อร้านว่า ‘อร่อยบาทเดียว’ ขายข้าวต้มถ้วยละบาท รองรับลูกค้าทุกระดับ ธุรกิจตอนแรกยังทรงๆ เพราะตอนนั้นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ก็กัดฟันสู้อยู่หลายปี…

นอกจากบทบาทด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว สถานีรถไฟลำปางยังเชื่อมโยงกับเมืองในด้านสังคมด้วย

3 years ago

“สถานีรถไฟลำปางสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2458 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของเมืองในอดีต เพราะในยุคสมัยนั้นลำปางมีธนาคารแห่งชาติ มีสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ธุรกิจอะไรต่างๆ ก็มาเปิดกันที่นี่ โดยมีสถานีรถไฟแห่งนี้เหมือนเป็นประตูเชื่อม เพราะนอกจากการขนส่งผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ รถไฟยังใช้ขนสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ พืชผักผลไม้ ยาสูบ ไปจนถึงเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรจากกรุงเทพฯ ส่งมายังธนาคารแห่งชาติที่อยู่ใกล้ๆ ทหารก็ใช้รถไฟขนยุทโธปกรณ์ กระทั่งรถถังก็ยังเคยขึ้นรถไฟมาแล้ว…