“คนมักเข้าใจกันว่าชาวลำปางในศตวรรษที่แล้วร่ำรวยจากการทำสัมปทานค้าไม้ แต่เปล่าเลย รายได้จากการค้าไม้นี่เข้ากระเป๋าคนอังกฤษหมด ที่คนในพื้นที่รวยๆ กันนี่ส่วนหนึ่งมาจากการค้าฝิ่น สมัยก่อนฝิ่นยังเสรี หลังธนาคารกรุงไทยในตลาดยังเคยมีโรงฝิ่นขนาดใหญ่ พ่อค้าจีนล่องเรือมาใช้บริการกันงอมแงม แต่ในขณะเดียวกันยุคค้าไม้ ก็ทำให้เกิดธุรกิจอื่นๆ ขึ้นตามมาในเมือง จนทำให้ลำปางรุ่งเรืองอย่างมากในตอนนั้น สมัยพี่เป็นเด็ก พี่ยังทันเห็นที่เขาขนท่อนซุงกันอยู่เลยนะ ตอนนั้นแม่น้ำวังตั้งแต่เกาะคาลงมาเต็มไปด้วยท่อนซุงในแบบที่ลงไปวิ่งเล่นบนแม่น้ำได้เลย ก่อนพี่จะเกิด ครอบครัวแม่พี่อยู่เกาะคา แกยังเคยทำงานรับจ้างขนท่อนซุงขึ้นฝั่งอยู่เลย จนช่วงหลังๆ การขนไม้เริ่มซาลง…
“ลุงพิทักษ์เคยเป็นหลงจู๊มาก่อน แกทำหน้าที่คล้ายเซลล์แมน ซึ่งต้องขับรถส่งของในเส้นทางลำปางไปจนถึงอำเภอแม่สายที่เชียงราย ส่วนป้าเป็นคนห้างฉัตรที่เข้ามาทำงานในตัวเมือง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราเจอกันที่ลำปาง หลังจากตกลงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ความที่ลุงแกไม่อยากเดินทางบ่อยอีกแล้ว จึงนำเงินเก็บมาเปิดร้านขายของชำอยู่ในย่านกาดกองต้านี่ สมัยนั้นกาดกองต้าบนถนนตลาดเก่าที่เลียบริมแม่น้ำวังเงียบเหงามาก ยังไม่มีถนนคนเดิน และบ้านส่วนใหญ่ก็ปิดไว้ ไม่ได้ทำการค้า แต่ความที่ซอยหลิ่งจันทร์หมันที่ร้านเราเปิด เป็นคิวรถไปอำเภอเมืองปาน ลูกค้าหลักของร้านจึงเป็นคนจากอำเภอรอบนอกที่นั่งรถประจำทาง ซึ่งสมัยนั้นเป็นรถคอกหมูเข้ามาทำธุระในเมือง สมัยก่อนรถขนคนมาแน่นทุกรอบเลย…
“ผมเกิดกรุงเทพฯ สอบเอ็นทรานซ์ติดคณะวิศวะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปี 2528 แต่พอได้เรียนไป มันไม่ใช่ชีวิตผมเลย ระหว่างนั้นก็ได้ไปรู้จักกับพี่คนหนึ่งที่เขาทำงานหัตถกรรมส่งขายที่ไนท์บาซาร์ เห็นแล้วชอบ และพบว่าเราพอมีทักษะด้านงานฝีมือ ก็เลยไปเรียนรู้กับเขา จนไม่ได้ไปเรียนหนังสือเลย ทำให้สุดท้ายโดนรีไทร์ อาจเป็นค่านิยมในยุคนั้นด้วยแหละ ถ้าคุณเรียนหนังสือเก่ง ก็ต้องไปเรียนหมอ เรียนวิศวะ อะไรแบบนี้ คือตอนแรกผมก็เดินตามไปโดยไม่ได้คิดว่าจริงๆ แล้วตัวเองชอบอะไร จนมาเจอเรื่องงานฝีมือที่ทำให้ผมค้นพบว่าจริงๆ เราชอบงานหัตถกรรมและการสร้างสรรค์…
“หม่องโง่ยซิ่นคือชื่อทวดของผม ท่านเป็นลูกของหม่องส่วยอัตถ์ ชาวมะละแหม่งที่เข้ามาดูแลกิจการไม้ให้บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าในลำปางเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ทวดของผมสร้างอาคารหลังนี้เมื่อปี พ.ศ. 2451 ใช้เป็นสำนักงานและที่รับรองให้นักธุรกิจที่เข้ามาทำสัมปทานค้าไม้ รวมถึงยังเคยรับรองเจ้าผู้ครองนครลำปางด้วย และเช่นเดียวกับอาคารทรงโคโลเนียลหลังอื่นๆ ในกาดกองต้า สถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมค้าไม้ในอดีต ซึ่งต่อมากลายมาเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองลำปาง ผมทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และรับช่วงดูแลอาคารหลังนี้ต่อมาจากคุณพ่อ ซึ่งตอนแรกก็ใช้อาคารนี้จัดเก็บวัสดุก่อสร้าง จนภายหลังที่น้ำท่วมหนักในปี 2548 และผู้คนในย่านร่วมกันจัดตั้งถนนคนเดิน ปลุกกระแสการฟื้นฟูอาคารเก่าในพื้นที่ จุดประกายให้ผมกลับมาฟื้นฟูอาคารหลังนี้…
“ผมเกษียณจากราชการทหารก่อนกำหนดเมื่อปี พ.ศ. 2544 ตอนอายุ 48 ปี พื้นเพเป็นคนลพบุรี แต่มีโอกาสได้มาประจำการที่ลำปางและมีครอบครัวที่นี่ ก่อนหน้านี้ผมไปประจำการอยู่ตามชายแดนในยุคที่รัฐบาลยังรบกับคอมมิวนิสต์ ก่อนจะลาออกราว 3-4 ปี ผมพบว่าปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศเรา หาใช่เรื่องลัทธิทางการเมืองอย่างที่เคยเข้าใจ แต่เป็นเรื่องยาเสพติดและเยาวชน ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างสังคมไทย หลังออกจากราชการผมเลยเริ่มต้นก่อตั้ง ‘มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม’ ผมจำไม่ได้ว่ามีทักษะของการเป็นวิทยากรติดตัวมาตอนไหน แต่ความที่ผมประจำการในหลายพื้นที่และเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านจึงมีข้อมูลเชิงลึก…
“ผมสนใจทฤษฎีพื้นที่ทางสังคม (social space) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาผมจะศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งมีรูปแบบเป็นทฤษฎีเป็นหลัก ไม่ได้ลงไปทำกับชีวิตของคนจริงๆ จนพอดีกับที่ บพท. ประกาศทุนเรื่อง learning city ผมจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีในการทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผมได้ลงไปทำงานกับผู้คนในเมืองเชียงใหม่จริงๆ และที่สำคัญ ผมมองว่านี่เป็นโอกาสจะใช้งานวิจัยในการมีส่วนแก้ปัญหาเมือง ก่อนทำงานโครงการนี้ ผมทำวิจัยร่วมกับพี่ตา (สุวารี วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่…
“สารตั้งต้นของโครงการ ‘เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพลวัตรที่ยั่งยืน’ มาจากเวทีเชียงใหม่ฮอม เวทีสาธารณะที่ชวนผู้คนในภาคส่วนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว (พ.ศ. 2561) ในเวทีนั้นผู้คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าปัญหาที่เมืองเรากำลังเผชิญมีสองเรื่องใหญ่ คือเรื่องเศรษฐกิจอันเกิดจากผลกระทบของโควิด-19 และปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจึงเลยนำสองเรื่องนี้มาตั้งโจทย์ว่าถ้างั้นเราจะสนับสนุนให้คนเชียงใหม่เรียนรู้เรื่องใดบ้าง ที่จะนำมาสู่กระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมาคิดถึงการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้สอดรับกับความเป็นเมืองท่องเที่ยว ส่วนประเด็นที่สองเรามองเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมเพื่อเป็นโมเดลในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง แม้จะแบ่งเป็น 2 โครงการย่อยที่แตกต่างอย่างชัดเจน…
“แม้เชียงใหม่จะมีคูเมืองที่เป็นเหมือนสวนหย่อมใจกลางเมือง และมีดอยสุเทพเป็นฉากหลัง แต่ข้อเท็จจริงคือ คนในเมืองกลับมีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก โดยเมื่อเทียบขนาดพื้นที่กับประชากรโดยเฉลี่ย เราจะมีพื้นที่สีเขียวราว 6 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตร นี่ยังไม่นับรวมประชากรแฝง เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือแรงงานอื่นๆ ที่ประมาณ 5 แสนคน ถ้านับรวมจำนวนนี้เข้าไป…
“สมัยยังเด็ก ผมมีความฝันอยากเรียนและทำงานด้านอนิเมชั่น แต่ป๊าอยากให้เรียนไปทางสายวิทย์ เขามองว่าอาชีพหมอหรือวิศวกรมั่นคงกว่า แกก็เคี่ยวเข็ญให้ผมไปทางนั้น ซึ่งนั่นทำให้ผมเริ่มไม่สนุกกับการเรียน น่าจะเป็นช่วงมัธยมสองที่ญาติไปเปิดร้านอาหารไทยในกัวลาลัมเปอร์ ผมเลยดร็อปเรียน และขอตามไปช่วยงานครัวที่นั่น ซึ่งนั่นแหละครับ หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้กลับไปเรียนหนังสือสายสามัญอีกเลย ผมโตมาในครอบครัวค่อนข้างใหญ่ มีพี่น้องและลูกพี่ลูกน้องอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 คน ความที่ผมเป็นคนเกือบโตสุด เลยมักเป็นคนทำอาหารให้น้องๆ กิน ซึ่งทักษะนี้ได้มาจากปู่ แกสอนให้ผมจับมีดหั่นผัก…
“ระหว่างเรียนมัธยมปลายที่พิษณุโลก ผมมีโอกาสลงพื้นที่ชุมชนที่อำเภอพรหมพิราม ในฐานะอาสาสมัครโครงการยุววิจัยของ สกว. (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม: สกสว. - ผู้เรียบเรียง) การลงพื้นที่ครั้งนั้นเปิดโลกผมมาก เพราะมันไม่ใช่แค่ความสนุกจากการได้ทำงานเป็นทีม หรือการได้เรียนรู้จากชาวบ้าน แต่ยังทำให้เราตระหนักว่าหากมีแผนยุทธศาสตร์ชัดเจน การทำงานภาคประชาสังคมสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนในพื้นที่ได้จริงๆ จนพอถึงเวลาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมจึงเลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าถ้าเราอยากทำงานสายนี้ การอยู่ในเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของภาคประชาสังคม จะทำให้ผมได้เรียนรู้มากขึ้น…