กิจกรรมการกวนข้าวยาคู้ที่คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกับชุมชน ทำให้วัดและชุมชนมีชีวิตชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง

3 years ago

“โยมเห็นไหมว่าเจดีย์วัดชมพูนี่เหมือนพระธาตุดอยสุเทพเลย เจดีย์นี้สร้างสมัยเดียวกับบนดอยสุเทพนั่นแหละ หลังจากพระเจ้ากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ท่านก็อยากให้พระมารดาได้สักการะด้วย แต่สมัยก่อนไม่มีถนน ขึ้นไปไหว้พระบนดอยนี่ลำบาก ท่านเลยโปรดให้สร้างเจดีย์รูปแบบเดียวกันตรงนี้แทน และตั้งชื่อว่าวัดใหม่พิมพา ตามชื่อพระมารดาพระนางพิมพาเทวี จนภายหลังมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดชมพู ตามครูบาชมพูที่เคยมาพำนักสมัยพระเจ้ากาวิละ เจดีย์วัดชมพูเลยเป็นคู่แฝดของพระธาตุดอยสุเทพมาจนทุกวันนี้ ญาติโยมคนไหนไม่สะดวกขึ้นดอยสุเทพ ก็มาสักการะที่นี่ได้ หลวงพ่อย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตอน พ.ศ. 2509 ต่อจากครูบาแก้ว สุคันโธ สมัยนั้นครูบาแก้วท่านสมถะ…

11 ปีจากจุดเริ่มของการแก้ปัญหาของเมืองเชียงใหม่ด้วยการใช้วัฒนธรรมเป็นตัวนำ จนกลายมาเป็นเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่

3 years ago

“รูปแบบของานยอสวยไหว้สาพญามังราย ฉลองครบรอบ 726 ปีเมืองเชียงใหม่ ที่ทางเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมจัดงานไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แตกต่างจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือในที่สุดเราก็สามารถสืบค้นจากเอกสารโบราณเกี่ยวกับเครื่องบวงสรวงหอบรรพกษัตริย์ตามประเพณีดั้งเดิมได้ เราจึงมีการจัดเครื่องสักการะเป็นกับข้าวพื้นเมือง 9 อย่างตรงตามเอกสาร ไม่ใช่การถวายหัวหมูแบบธรรมเนียมเซ่นไหว้ของคนจีนเหมือนก่อน หลายคนอาจสงสัยว่าจะอะไรกันหนักหนากับเครื่องเซ่นไหว้ ก็ต้องบอกว่าในเมื่อเราจะทำตามประเพณีแล้ว เราก็ควรเข้าใจความหมายในทุกบริบทของประเพณี ทำไมคนโบราณถึงเลือกใช้กับข้าว 9 อย่างนี้ ทำไมต้องถวายขันโตกแยกถาดเหล้า ถาดล้างมือ…

การพานักเรียนนักศึกษาลงไปศึกษาชุมชน เป็นประโยชน์ต่อทั้งเด็กนักเรียนและชุมชนที่จะออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว กระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือเป็นแนวทางในการเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ของตัวเองต่อไป

3 years ago

“คนส่วนใหญ่มักมองว่าชุมชนคือที่อยู่อาศัย แต่ที่จริงแล้วในทุกชุมชนต่างมีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและเป็นต้นทุนในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสังคมต่อไปไม่จบไม่สิ้น โครงการหลากมิติแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการลงพื้นที่ไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน โดยในทางกลับกันเราก็หวังให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการกระตุ้นผู้คนในชุมชนให้กลับมาทบทวนมรดกในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นต้นทุนในการต่อยอดไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ในระยะแรก เราส่งเทียบเชิญไปยังสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอเมือง ให้ส่งตัวแทนนักเรียนมาร่วมกิจกรรมโรงเรียนละ 5 คน โดยออกแบบกิจกรรมไว้ 3 ระดับ ใน 3…

เชียงใหม่ เมืองแห่งการเรียนรู้ คนในเมืองควรต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในวิธีคิดของเมือง และเป็นเจ้าของวัฒนธรรมที่แท้จริง

3 years ago

“ผมนั่งรถผ่านย่านช้างม่อยเพื่อไปโรงเรียนที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำปิงตั้งแต่เด็ก ความทรงจำของผมคือที่นี่เป็นย่านตึกแถวเก่าๆ ที่มีโกดังเต็มไปหมด ไม่ได้มีเสน่ห์หรือคุณค่าอะไร กระทั่งผมไปเรียนต่างประเทศและกลับมาทำงานที่เชียงใหม่เมื่อราว 5 ปีที่แล้ว จึงเห็นว่าย่านนี้เปลี่ยนไปมาก มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ บูรณะตึกให้กลายเป็นคาเฟ่หรือร้านรวงที่สอดรับกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเห็นได้ตามเมืองเก่าแก่ใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลก พอได้กลับมาเห็นที่ช้างม่อย ย่านที่ผมมองข้ามมาตลอด จึงรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ ความที่ผมเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรม ผมจึงมักชวนนักศึกษาในชั้นเรียนให้ลงพื้นที่ไปเรียนรู้วิถีตามย่านต่างๆ ในเมืองอย่างสม่ำเสมอ ช้างม่อยเป็นหนึ่งในที่ที่ผมไม่เคยพลาดที่จะพานักศึกษามาเยือน เพราะมันไม่ใช่แค่รูปแบบของอาคารพาณิชย์ในยุคโมเดิร์น…

บ้านเรียน (Homeschool) การเรียนที่บ้านแต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเรียนแต่ที่บ้านอย่างเดียว

3 years ago

“ตอนอยู่ในโรงเรียน หนูเรียนและทำข้อสอบได้ดี ซึ่งครูหลายคนก็บอกว่าเราน่าจะไปเรียนต่อสายวิทย์ ไปเรียนต่อหมอได้แน่ๆ ซึ่งตอนนั้นเราอายุแค่ 9 ขวบเอง ไม่ได้คิดอะไร จนวันหนึ่งแม่มาบอกว่าจะให้ออกจากโรงเรียนมาเรียนที่บ้านเป็นเพื่อนน้อง หนูก็ดีใจนะ เพราะไม่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียนแล้ว (หัวเราะ) แต่เอาเข้าจริง อึดอัดมากๆ ค่ะ เพราะเราเรียนอยู่บ้าน ก็ย่อมขี้เกียจเป็นธรรมดา ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่สักพักเพื่อให้เรารับผิดชอบต่อบทเรียน เรียนคือเรียน พักคือพัก…

การเรียนรู้อยู่ในทุกที่ เกิดได้ทุกเวลา แต่จะทำอย่างไรให้ทุกคนได้รู้ ได้เข้าถึงเท่าๆ กัน

3 years ago

“สามีเราเป็นคนออสเตรีย เปิดออฟฟิศด้านซอฟต์แวร์อยู่เชียงใหม่ เราเคยร่วมงานกัน ก่อนจะคบหาและใช้ชีวิตด้วยกัน พอมีลูกคนแรก สามีก็เปรยเรื่องการเรียนโฮมสคูลมาก่อนแล้ว แต่ตอนนั้นเราอยากลองให้ลูกเข้าโรงเรียนปกติดูก่อน เรามีลูกสองคน อายุห่างกันสามปี พอเริ่มสังเกตว่ามิคาเอลลูกคนเล็ก ไม่ค่อยมีความสุขกับการเรียนในห้องเรียนเท่าไหร่ ซึ่งก็พอดีได้รู้จากพี่ชัช (ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ) เรื่องการจัดการศึกษาทางเลือกในครอบครัว เราก็เรียนรู้เรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง ก่อนมาคุยกับลูกๆ ว่า เรามาเรียนหนังสือกันที่บ้านไหม เดี๋ยวแม่สอนเอง…

Top 5 ปัญหาของเมืองเชียงใหม่ และผลของบาดแผลทางเศรษฐกิจจาก Covid 19

3 years ago

สถิติด้านเศรษฐกิจ บริการ การท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ ในช่วงเผชิญวิกฤต Covid-19 และผลตรวจสุขภาพเมืองเชียงใหม่ กับ Top 5 ปัญหาเมืองเชียงใหม่ที่รุนแรง และเรียกร้องการแก้ไขเร่งด่วน โจทย์การพัฒนาเมือง ที่ไม่ไช่เพียงผู้บริหารเมือง หรือภาคธุรกิจต้องร่วมตระหนักรับผิดชอบ แต่คือสถานการณ์ที่เราคนเชียงใหม่ทุกคน ซึ่งล้วนมีส่วนร่วมรับผลกระทบ และเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันการแก้ไขปัญหา การป้องกัน บรรเทา และก้าวข้ามไปสู่เมืองที่ดีกว่า…

ลูกๆ หลานๆ สอนให้เล่นไลน์ เลยมาขายกับข้าวทาง(ออน)ไลน์

3 years ago

“แม่ไม่มีลูก มีแต่หลานๆ และความที่เราเป็นประธานชุมชนและอยู่มานาน คนในชุมชนและในตลาดจึงเรียกเราติดปากว่าแม่ เลยมีลูกๆ เป็นพ่อค้าแม่ค้าในตลาดแทน (ยิ้ม) ลูกๆ และหลานๆ เหล่านี้นี่แหละสอนแม่ใช้ไลน์ สอนให้รู้ว่าจะจ่ายเงินหรือรับโอนเงินทางมือถืออย่างไร ซึ่งทำให้ชีวิตแม่ง่ายขึ้นมาก แม่มีกลุ่มไลน์ที่ตั้งไว้ขายอาหาร ในทุกๆ เย็น เราจะเขียนบอกคนในกลุ่มว่าพรุ่งนี้จะทำกับข้าวอะไรบ้าง ไข่คว่ำ หลามบอน น้ำพริกแมงดา แกงฮังเล…

ทำความรู้จัก Learning City

3 years ago

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้”…

เชียงใหม่เป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน วิถีชีวิตดั้งเดิมก็เปลี่ยนตาม งานหัตถกรรมหลายชิ้นก็กำลังสูญหายไปด้วย

3 years ago

“เราเป็นคนชอบงานจักสาน และใช้มันในชีวิตประจำวัน ครั้งหนึ่งเราไปเดินตลาด สวมเดรสและถือตะกร้าหวายไปด้วย เดินไปสักพัก มีคุณป้ามาทักว่าขายอะไรน่ะลูก เรายิ้ม และบอกว่าเป็นคนซื้อเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) หลังจากวันนั้นมาเราก็คิด อืม… ถ้างานจักสานแบบนี้มันถูกปรับดีไซน์ให้สอดคล้องการแต่งกายของคนสมัยนี้ก็น่าจะดีนะ แบบที่เรายังเห็นว่าทุกวันนี้ยังมีคนสานข้องใส่ปลาขายอยู่ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่ซื้อไปจับปลาจริงๆ แต่ถ้ามีการปรับดีไซน์อีกหน่อย ข้องจับปลาก็อาจจะเป็นได้มากกว่าพรอบหรือของตบแต่งบ้าน หากเป็นของใช้ที่ไปกับยุคสมัยได้จริงๆ หลังเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมที่เชียงใหม่ เราไปทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ งานหนักแต่ก็สนุก…