“ผมเกิดและโตที่แก่งคอย เตี่ยเปิดร้านขายของชำอยู่ในตลาดเทศบาล เปิดมาตั้งแต่สมัยสงครามโลก เมื่อก่อนตอนผมเป็นเด็ก ผมชอบเดินจากร้านไปวิ่งเล่นแถวตลาดท่าน้ำ ตรงนั้นจะเห็นเรือขนสินค้าจากที่ต่างๆ มาเทียบท่า บางส่วนเขาก็ขนสินค้าขึ้นฝั่งเพื่อขนถ่ายไปทางรถไฟต่อ แก่งคอยสมัยนั้นเศรษฐกิจดี ค้าขายคล่องตัว คนจากที่อื่นนำผลผลิตทางการเกษตรมาขาย คนในตลาดก็ตั้งตารอว่าแต่ละวันจะมีผลผลิตอะไรมาให้ซื้อบ้าง ซื้อขายกันเสร็จ ก่อนกลับพวกเขาก็จะซื้อข้าวของเครื่องใช้หรือเสื้อผ้าในตลาดกลับไป คนขายและคนซื้อรู้จักกันหมด มันมีบรรยากาศแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนทุกคนเป็นเพื่อนบ้านกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า พอยุคสมัยเปลี่ยน สภาพสังคมหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยก็เปลี่ยนตาม…
“ผมเรียนจบด้านไบโอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา จบมาช่วงโควิดพอดี เลยคิดว่ากลับมาตั้งหลักที่แก่งคอยบ้านเกิดเราก่อน เพราะที่บ้านมีผู้สูงอายุเยอะ ก็กลับมาช่วยพ่อดูแลอากง อาม่า และอาโก พอดีกับตอนที่กลับทางบริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ได้ร่วมกับ Depa (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) และเทศบาลเมืองแก่งคอย ทำโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมือง เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่มาทำงานโครงการสมาร์ทซิตี้เชื่อมกับทางเทศบาล ผมเลยสมัครเข้ามาทำงานนี้ และความที่ผมทำธุรกิจส่วนตัวปลูกผักไฮโดรโปนิกในโรงเรือนที่บ้านอยู่แล้วด้วย โดยส่งขายที่ร้านของพ่อในตลาดสดเป็นหลัก…
“บทบาทของหนูคือนักดิจิทัลพัฒนาเมือง เป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างเทศบาลเมืองแก่งคอยกับทางสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ในการขับเคลื่อนเมืองแก่งคอยให้เป็นสมาร์ทซิตี้ ก็ทำทั้งเขียนโครงการที่พยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาเมืองหรือทำให้เมืองน่าอยู่ หรือถ้าทาง Depa เขามีทุนสนับสนุนที่น่าจะสอดคล้องกับเมืองของเราได้ หนูก็จะนำเสนอไปที่เทศบาล เป็นต้นพอมาอยู่ตรงนี้ก็เห็นโอกาสหลายอย่างเลยค่ะ อย่างการทำสมาร์ทบัส (smart bus) เส้นทางรถสาธารณะที่คอยรับส่งผู้คนในเมือง เพราะที่ผ่านมาเมืองเราไม่มีรถสาธารณะวิ่งในเมืองเลย หรือการทำป้ายรถเมล์อัจฉริยะสำหรับเส้นทางรถประจำทางที่วิ่งระหว่างอำเภอหรือวิ่งเข้าตัวอำเภอเมืองสระบุรี เป็นป้ายที่แจ้งข้อมูลรถแบบเรียลไทม์ว่ารถถึงจุดไหนแล้ว เป็นต้นอีกเรื่องที่พยายามทำอยู่คือ CDP…
“พี่เป็นคนแก่งคอย เคยทำงานโรงงานผลิตอะไหล่คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอยู่ที่อำเภอบางปะอิน ก็จะนั่งรถจากแก่งคอยไปทำงานที่นั่นทุกเช้า ส่วนสามีพี่เป็นคนต่างถิ่น แต่มาได้งานที่โรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงที่แก่งคอย เลยมาอยู่ด้วยกันที่นี่ความที่เราสองคนทำงานโรงงาน เลยต้องส่งลูกไปให้ญาติช่วยเลี้ยง จนลูกขึ้น ม.1 พี่ก็พบว่าลูกค่อนข้างเกเรและมีอาการผิดปกติทางอารมณ์ ปัญหาก็อยู่ที่เราเองนี่แหละที่มีเวลาให้เขาไม่มากพอ ไม่ใช่เรื่องอื่น เลยตัดสินใจลาออกจากงานที่โรงงาน และเอาเขากลับมาเลี้ยงเอง จะได้มีเวลาดูแลเขาเต็มที่ พอออกจากงาน ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับลูก พาเขาไปหาหมอที่โรงพยาบาลในอำเภอเมืองเป็นประจำ และอยู่เป็นเพื่อนเขา โดยช่วงหลังๆ…
“เตี่ยพี่แกเคยอยู่ซัวเถา มีวันหนึ่งก็มีเพื่อนบ้านมาบอกว่าจีนกำลังจะมีการปฏิวัติ ถ้าเป็นได้ ให้เดินทางไปเมืองไทยดีกว่า เดี๋ยวจะหนีออกมาไม่ได้ เตี่ยก็เลยนั่งเรือหนีออกมา แกเล่าให้พี่ฟังว่าระหว่างนั่งเรืออยู่ ดันไปเจอพวกทหารญี่ปุ่นบุกยึดเรือ และเอาพวกเตี่ยไปทิ้งที่เกาะไหหลำ เตี่ยกับเพื่อนก็ต้องเดินเท้าจากไหหลำกลับมาตั้งหลักที่ซัวเถา แล้วค่อยวางแผนเดินทางใหม่ จนอายุ 12 แกถึงอพยพมาอยู่เมืองไทยได้ แกเริ่มต้นจากการเป็นลูกจ้างแถวบ้านหม้อที่กรุงเทพฯ ทำได้สักพัก ช่วงนั้นมีสงครามมหาเอเชียบูรพา ก็มีข่าวว่าที่กรุงเทพฯ จะมีระเบิดอีก ก็เลยหนีมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่แก่งคอย…
We Citizens ชวนผู้อ่านมาฟังเสียงของย่านกะดี ผ่านการอ่านย่านกะดีจีน-คลองสานใน E-Magazine ฉบับ "เสียงกะดีจีน" ที่จะพาทุกท่านไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผู้คน สังคมพหุวัฒนธรรมของย่านที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร อ่านนิตยสารออนไลน์ได้ที่ Wecitizens : เสียงกะดีจีน - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
หากคุณไม่ใช่คนในพื้นที่หรือมีโอกาสได้แวะเวียนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ่อยๆ เราค่อนข้างมั่นใจว่าคงนึกภาพเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่นและทางทิศเหนือของเมืองร้อยเอ็ดไม่ออก ณ ผืนดินที่ระหว่างกลางของแอ่งอารยธรรมโคราชและแอ่งอารยธรรมสกลนคร สองแอ่งอารยธรรมหลักที่รวมกันเกิดเป็นภาคอีสาน การอธิบายทัศนียภาพปัจจุบันของกาฬสินธุ์ให้ชัดเจนมากที่สุด บางทีอาจไม่ใช่ วิถีชีวิตริมเขื่อนลำปาว แหล่งขุดพบไดโนเสาร์ หรือตำนานเก่าแก่ว่าด้วยเมืองฟ้าแดดสงยาง หรือองค์ประกอบอื่นๆ ในคำขวัญจังหวัดหากเป็นความเคลื่อนไหวเล็กๆ ที่เราพบบนถนนคนเดินงานมหกรรมฟื้นใจเมือง ‘ภูมิถิ่น แก่งสำโรง โค้งสงเปลือย’ ที่ทางเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และ…
เมื่อโครงการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา เริ่มต้นขึ้นเป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2434 ก่อนจะแล้วเสร็จด้วยระยะทางทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443 ได้ก่อสร้างทางผ่านกลางหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา จำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ ทำให้หมู่บ้านถููกระเบิดหินทำทางรถไฟเป็นช่อง จึงเรียกหมู่บ้านปากช่องเขานั้นว่า…
“หนูชื่อเด็กหญิงสุมินตรา ศรีงาม อยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ ส่วนหนูชื่อเด็กหญิงยิ่งลักษณ์ ถิ่นกระไสย อยู่ชั้น ป.6 โรงเรียนเดียวกัน เราสองคนอยู่ชมรมดนตรี และเป็นสมาชิกวงดอกพะยอม วงดนตรีประจำโรงเรียน มีครูเสนีย์และครูชลลดาเป็นผู้ฝึกสอนและดูแลวง วงเรามีสมาชิกประมาณ 12-13 คน เป็นวงสตริงผสมโปงลาง…
“ผมเป็นคนนครปฐม ย้ายมาตั้งครอบครัวที่กาฬสินธุ์ อยู่ที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้ว สมัยก่อนผมเป็นผู้จัดการบริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต พออายุ 55 ก็เกษียณก่อนกำหนด และมาทำงานจิตอาสาจริงๆ ก็เริ่มงานจิตอาสามาก่อนเกษียณด้วยซ้ำ ที่ทำงานนี้เพราะครั้งหนึ่งผมเคยป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับปอด น้ำหนักลดเหลือไม่ถึง 50 กิโลกรัม ตอนนั้นคิดว่าเราอาจจะตายได้ แต่ก็ยังรอด ก็เลยคิดว่าเราอาจตายอีกทีเมื่อไหร่ไม่รู้ งั้นเอาเวลาที่เหลือไปช่วยคนอื่นดีกว่า ก็เลยไปทำงานมูลนิธิ ปรับปรุงรถกระบะตัวเองให้มีเครื่องอำนวยความสะดวก สำหรับรับส่งผู้ป่วยหรือคนชราที่ไม่สามารถเดินทางเองได้ไปโรงพยาบาล…