“ในโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ เรารับผิดชอบในการออกแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่การเรียนรู้ของโครงการ โดยพื้นที่เรียนรู้ที่ว่า คือ ‘ตลาดสร้างสุข’ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันอังคารบนถนนรอบอาคารศาลากลางหลังเก่า หรือหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ตลาดนี้ (ตลาดสร้างสุข) เป็นโครงการที่ทีมวิจัยของเราต่อยอดมาจาก ‘ตลาดนัดเด็กดี’ ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้ภายในตลาดเมืองเก่าย้อนเวลา ณ ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ ในปี 2564 เพราะตลาดหรือถนนคนเดินคือพื้นที่จับจ่ายใช้สอยและผ่อนคลายสำหรับทุกคนในครอบครัว เราจึงเห็นว่าควรหนุนเสริมพื้นที่กิจกรรมให้เด็กๆ ที่มากับผู้ปกครอง รวมถึงวัยรุ่นได้มีสถานที่ให้พบปะและทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์…
“พื้นเพแม่เป็นคนอำเภอสหัสขันธ์เดิม แต่ก่อนอำเภอแม่น้ำท่วมบ่อยมาก ก็เลยมีการย้ายตัวอำเภอมาอยู่บริเวณอุทยานไดโนเสาร์ในปัจจุบัน ส่วนแม่ก็ย้ายบ้านเหมือนกัน เพราะได้แฟนเป็นคนอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จึงย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 แม่เป็นประธานชุมชนทุ่งสระ ทำธุรกิจรับทำโต๊ะจีน และทำกับข้าวตามงานหรือพิธีต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังรับจ้างเทศบาลกวาดถนนด้วย จะกวาดสองรอบต่อวันคือช่วงเช้าและเย็น แม่กวาดเอง แต่ถ้าวันไหนมีงานที่ต้องทำอาหาร ก็จะจ้างให้คนอื่นมากวาดแทน ก่อนหน้านี้แม่ทำงานโรงพยาบาลเอกชนในเมืองนี่แหละ ทำมา 20 กว่าปีแล้ว…
“วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่ากาฬสินธุ์ และเป็นวัดประจำจังหวัดกาฬสินธุ์วัดแห่งนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2378 ปีนี้ก็ 179 ปีแล้ว แม้ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนถึงผู้สร้าง แต่ดูจากศิลปกรรมแล้ว เข้าใจว่าช่างกลุ่มลาวเป็นคนสร้างวัดนี้ขึ้น วัดนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับเมืองหลายสิ่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทจำลองแก่งสำโรง และพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกาฬสินธุ์ อาตมาไม่ทราบว่ารอยพระพุทธจำลองนี้มีอายุเท่าไหร่แล้ว แต่นักโบราณคดีเขาสันนิษฐานกันว่าสร้างตั้งแต่สมัยขอม ยุคก่อนจะมีเมืองกาฬสินธุ์…
“ครูเป็นคนอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ค่ะ อำเภอห้วยเม็กอยู่ด้านตะวันตก ชายขอบสุดของจังหวัด ติดกับอำเภอชื่นชมของจังหวัดมหาสารคาม ความที่สมัยก่อน รถสาธารณะยังไม่ได้ครอบคลุมเส้นทางเหมือนทุกวันนี้ ครูเลยเลือกเรียนมัธยมที่โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเดินทางจากบ้านเราไปสะดวกกว่าในตัวอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ก่อนจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จึงกลายเป็นว่า แม้เราเกิดที่กาฬสินธุ์ แต่ก็ไม่ได้มีความทรงจำหรือประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับเมืองนี้สักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม หลังเรียนจบ ครูก็ดันสอบบรรจุได้ที่โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา…
“พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคารศาลากลางหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ แต่เดิมพิพิธภัณฑ์นี้เป็นของสำนักงานจังหวัดฯ มีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดูแลตรงนั้น กระทั่งมีการย้ายศาลากลางไปอยู่นอกเมือง จึงมีการถ่ายโอนพิพิธภัณฑ์ให้มาอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ในปี 2563 ก่อนที่เทศบาลฯ จะร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนจัดตั้งหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่บริเวณชั้นล่าง และเปิดทำการมาถึงปัจจุบัน หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์เปิดก่อนโควิด-19 ไม่นาน จึงไม่เป็นที่รับรู้ของคนส่วนใหญ่เท่าไหร่ จนสถานการณ์เริ่มซา ทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เขาก็มาร่วมกับเทศบาลฯ เพื่อทำวิจัยเรื่องพื้นที่การเรียนรู้ และใช้หอศิลป์กับพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ของเราเป็นศูนย์กลาง จึงมีกิจกรรมต่างๆ…
โรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 1,200 คน ข้อได้เปรียบของโรงเรียนเราคือ ทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ตรงข้ามโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และรายล้อมด้วยสถานที่สำคัญๆ ของเมือง เช่น อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ และอื่นๆ นี่จึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยมสำหรับให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้เมืองของตัวเอง…
“พี่ทำงานกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ บทบาทคือการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้านในเขตเทศบาล เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับทางเทศบาล พี่เลยได้รับมอบหมายให้ช่วยประสานงานในโครงการย่อยที่ 1 เรื่องข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในเขตเทศบาล ว่าแต่ละชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จุดเด่น จุดด้อย รวมถึงของดีของชุมชนที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ และก็เพราะพี่ทำงานตรงนี้ จึงพบว่าหลายชุมชนต่างมีผลิตภัณฑ์ วิถีชีวิต ไปจนถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน ที่ไม่เพียงจะต่อยอดด้วยการนำหลักสูตรการเรียนรู้ไปพัฒนาพื้นที่ แต่ยังสามารถนำผลผลิตนั้นๆ มาจำหน่ายได้ นั่นจึงเป็นที่มาของตลาดสร้างสุข ถนนคนเดินในรูปแบบตลาดวัฒนธรรม…
“ราว 30 ปีที่แล้ว ป้าตามลุงโช (โชฎึก คงสมของ) ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ลุงโชไปทำงานที่การบินไทย ส่วนป้าขายส้มตำและไก่ย่างด้วยรถเข็นคันเล็กๆ โดยเริ่มจากขายจากหน้าหมู่บ้าน อาศัยป้ายโฆษณาหมู่บ้านอันใหญ่เป็นที่วางรถเข็นและหลบแดด ช่วงแรกขายไม่ดี ท้อใจมาก ร้อนก็ร้อน ก็คิดจะเลิกขายแล้ว แต่พอผ่านไป 6 เดือน ลูกค้าบอกปากต่อปาก ทีนี้เลยมีคนมารุมซื้อเยอะมาก…
“หลายคนเข้าใจว่าการเป็นคนจัดตลาดจะต้องสวมเสื้อเชิ้ตผ้าลื่นๆ ถือกระเป๋าแบบอาเสี่ย และห้อยพระด้วยสร้อยทองเส้นโตๆ คอยเก็บเงินพ่อค้าแม่ค้าในตลาด ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลยครับ (หัวเราะ) ผมก็แต่งตัวง่ายๆ เหมือนพ่อค้าทั่วไปแหละ ที่สำคัญ ผมเก็บค่าเช่าแผงแค่หลักสิบบาทเท่านั้นผมเรียนจบการตลาดมา แต่ไม่เคยมีความคิดว่าจบมาจะเป็นคนจัดตลาดเลย หลังเรียนจบผมไปทำงานบริษัทอยู่พักใหญ่ จนรู้สึกอิ่มตัว เลยกลับกาฬสินธุ์มาช่วยธุรกิจที่บ้าน ครอบครัวผมทำฟาร์มออร์แกนิก ชื่อสวนจารุวรรณ Organic พอกลับมา ก็ได้มีโอกาสรู้จักกับทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัด…
ผมเป็นคนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ครอบครัวผมปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2529 แต่สมัยก่อนผมไม่เคยคิดที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟเลย ผมเรียนหนังสือในระบบตามปกติที่กรุงเทพฯ จบมาก็ได้ทำงานโรงงานของแบรนด์สุราเจ้าหนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายโรงงานต่างจังหวัด โรงงานมีทั้งหมด 12 แห่งทั่วประเทศ ผมก็จะเดินทางไปตรวจสอบโรงงานละ 2 เดือน หมุนเวียนไปแบบนี้ทั่วประเทศ ผมทำงานนี้มา 5 ปีแล้ว จนรู้สึกไม่อยากเดินทางบ่อย พอดีได้แฟนเป็นคนกาฬสินธุ์…