City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก

แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย

อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว ไปจนถึงเมกกะโปรเจกต์ที่เปิดทำการในปี 2563 อย่าง ‘หอโหวด ๑๐๑’ แลนด์มาร์คแห่งใหม่ ที่เกิดจากการนำรูปลักษณ์ของเครื่องดนตรีพื้นถิ่นที่คิดค้นโดยคนร้อยเอ็ดอย่าง ‘โหวด’ มาพัฒนาเป็นหอชมเมืองสีทองอร่ามสูง 101 เมตร ใจกลางเมือง 

จากเมืองรองที่ถูกจดจำในฐานะทางผ่าน และไร้ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติคอยดึงดูดผู้คน ปัจจุบันหอโหวดได้รองรับผู้มาเยือนร้อยเอ็ดเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 5 แสนคน (ทำรายได้ในการเก็บบัตรเข้าชมกว่า 101 ล้านบาทในปี 2565) และกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาล และการพัฒนาเมืองใหม่อย่างมีนัยสำคัญมาถึงปัจจุบัน

WeCitizens ฉบับนี้ พาทุกคนไปทำความรู้จักร้อยเอ็ด พร้อมกับสำรวจวิสัยทัศน์ของทีมนักบริหารเมือง ที่ผสมผสานงานวิจัยการพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (Smart Living City) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับรักษาอัตลักษณ์เมืองเก่าอันงามสง่าเมืองนี้ไว้ต่อไป

WeCitizens ฉบับนี้ พาทุกคนไปทำความรู้จักร้อยเอ็ด พร้อมกับสำรวจวิสัยทัศน์ของทีมนักบริหารเมือง ที่ผสมผสานงานวิจัยการพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (Smart Living City) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับรักษาอัตลักษณ์เมืองเก่าอันงามสง่าเมืองนี้ไว้ต่อไป

อ่าน WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด (E-book) ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/zpam/

“คำว่า ‘ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ’ คือสำนวนที่แปลว่า ‘ทั่วทุกแห่งหน’ขณะที่ ‘เจ็ดย่านน้ำ’ บ่งบอกถึงพื้นที่ ‘ร้อยเอ็ด’ ก็หมายถึงปริมาณที่มากมายมหาศาล ทั้งนี้ ในบริบทการพัฒนาเมือง ‘ร้อยเอ็ด’ อาจสื่อนัยถึงการยกระดับเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตคนร้อยเอ็ด ให้ดีขึ้นอย่างครอบคลุมทั่วทุกแห่งหน”

๑๐๑ เมืองเศรษฐกิจดีเกินร้อย

สอดรับไปกับการแผนพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดในด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลเมือง ผ่านการยกระดับสิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรม โครงการวิจัยภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ในชื่อ โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย เศรษฐกิจดีเกินร้อย: การยกระดับนิเวศเศรษฐกิจของเมืองร้อยเอ็ด ก็เป็นเหมือนเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมให้เทศบาลร้อยเอ็ดบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนโดย ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และคณะ ร่วมกับนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ โดยมีเป้าหมายพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดให้น่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น โดยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และเมืองชายแดน พร้อมทั้งพื้นที่ทดลองนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

ในส่วนของการดำเนินการวิจัย ได้แบ่งออกเป็น ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของเมือง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชนต่าง ๆ ทั้ง 20 ชุมชน และเครือข่ายผู้ประกอบการในเขตเทศบาล รวมถึงกระบวนการการประชุมกลุ่มเน้น (Focus Group Discussions) เพื่อสำรวจและค้นหาผลิตภัณฑ์ของเมืองที่โดดเด่น เครือข่ายของผู้คนที่จะมาร่วมพัฒนาเมือง รวมถึงจุดแข็ง และจุดอ่อนของเมือง 2) พัฒนากรอบแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองร้อยเอ็ดสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจด้วยการเดินเท้าบนความปลอดภัยและทันสมัย โดยกระบวนการนี้ยังรวมถึง กิจกรรม ‘Hack เมือง’ นำ City Data มาแชร์กับผู้คน เพื่อเกิดกระบวนการร่วมออกแบบ (Co-Design) การสร้างข้อตกลงร่วมกัน (Consensus building) และนำไปสู่กิจกรรมการลงมือพัฒนาเมืองร่วมกัน (Collaborative) เป็นการกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองแบบจากล่างขึ้นบน (bottom up) ที่สะท้อนความต้องการของผู้คนในเมืองอย่างแท้จริง 3) พัฒนากรอบแนวทางการยกระดับนิเวศเศรษฐกิจเมืองร้อยเอ็ดสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และ 4) เพื่อขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมโปรแกรมบ่มเพาะ ตลอดจนเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการลงทุนระดับพื้นที่เมืองร้อยเอ็ด

       ทั้งนี้ นอกจากผลลัพธ์ของโครงการวิจัยที่เป็น City Data แผนพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่มีความน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (แผน 3 ระยะ) และโปรแกรมบ่มเพาะการพัฒนาเมือง เพื่อให้เทศบาลฯ นำไปกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาเมืองต่อไป รูปธรรมของโครงการดังกล่าวยังปรากฏอยู่ในเชิงรูปธรรมผ่านการบรรจุข้อมูลของเมืองที่ได้ในแอปพลิเคชั่น ‘ร่วมเรียน’ และ ‘ร่วมค้า’ ที่ทีมนักวิจัยพัฒนาผ่านงบสนับสนุนจาก บพท. ปีที่แล้ว เป็น open source data เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล รวมถึงการสร้าง Eco Room 101 ภายในหอโหวดกลางใจเมือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นพื้นที่กลางสำหรับการกระจายข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ไปจนถึงจัดเวิร์กช็อปกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม เกิดเป็นแพลทฟอร์มข้อมูลและกิจกรรมสำหรับคนในเมืองทั้งรูปแบบ online และ offline ต่อไป  

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

  1. เพื่อศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์ศักยภาพเมืองร้อยเอ็ด ในการพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
  2. เพื่อพัฒนากรอบแนวทางการยกระดับนิเวศเศรษฐกิจเมืองร้อยเอ็ดสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
  3. เพื่อจัดทำระบบข้อมูลเมืองร้อยเอ็ด ยกระดับมาตรฐานข้อมูลเมือง
  4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานและแผนการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด
  5. เพื่อขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

ติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ได้ที่
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
https://www.facebook.com/researchreru 

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago