เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Report) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง รวมถึงพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากโจทย์หลักที่เทศบาลฯ โดย…
น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบันแต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา แม้ชาวบ้านหลายรุ่นจะคุ้นชินกับน้ำที่ท่วมเรือกสวนและบ้านเรือนในฤดูน้ำหลาก หากไม่ใช่กับปัจจุบัน เมื่อชุมชนปากเกร็ดกลายมาเป็นนครขนาดใหญ่ที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริหารจัดการระดับประเทศเช่นนี้ เทศบาลนครปากเกร็ดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนนทบุรี…
“ป้าเป็นคนอ่างทอง แต่ย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ประถมฯ พอเรียนจบ ไม่อยากอยู่เมืองที่พลุกพล่าน น้ำท่วมบ่อย บ้านแพง เลยมองหาชานเมืองที่สงบและราคาจับต้องได้ จนมาเจอปากเกร็ด ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 เป็นบ้านจัดสรรของการเคหะ ตั้งอยู่เยื้อง ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ อยู่กันมา 40 กว่าปีแล้ว ทุกวันนี้เหลืออยู่จริงราว…
“คลองในพื้นที่ปากเกร็ดเป็นทั้งคลองดั้งเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 คลอง รวมถึงลำราง ลำกระโดง และคูน้ำจำนวนหนึ่ง การดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นงานที่ซับซ้อน เนื่องจากคลองบางแห่งมีปัญหาด้านกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำและการป้องกันน้ำท่วมคลองบางพูดเป็นหนึ่งในคลองที่มีปัญหาหนักที่สุด โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากคลองมีลักษณะคดเคี้ยวและอยู่ติดกับบ้านเรือนประชาชน อีกทั้งประตูระบายน้ำบางแห่งยังชำรุด ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำเป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด โดยตรวจสอบค่า DO (ค่าออกซิเจนละลายน้ำ), BOD (ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์),…
“ผมเป็นคนสุพรรณบุรี มาได้ภรรยาที่เกาะเกร็ด เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่วัยรุ่น ทำอาชีพขับเรือรับส่งคนจากเกาะเกร็ดไปปากเกร็ดหรือเมืองนนท์บ้าง รับ-ส่งตามท่าเรือต่าง ๆ คล้ายกับวินมอเตอร์ไซค์นี่แหละมีเรือรับส่งทั้งหมด 14 ลำ คนขับทุกคนเป็นคนเกาะเกร็ด ในวันธรรมดา คนบนเกาะส่วนหนึ่งเขาจะเลือกเดินทางเข้าเมืองด้วยการนั่งเรือข้ามฟากที่ท่าวัดสนามเหนือ แล้วก็นั่งรถเมล์ หรือรถสาธารณะอื่น ๆ ต่อ แต่ก็มีอีกส่วนใช้บริการพวกเรา ก็สามารถไปส่งตามที่ต่าง ๆ ที่ใกล้จุดต่อรถเขาได้ไวขึ้น…
“โครงการ ‘รู้สู้น้ำ’ เป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำที่พัฒนาโดยเทศบาลนครปากเกร็ด เพื่อแก้ปัญหาน้ำขังระบายไม่ทันในเขตเทศบาลฯ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 โดยพัฒนาต่อยอดจาก ‘ปากเกร็ดโมเดล’ เดิม สู่ ‘ปากเกร็ดโมเดลใหม่’ ที่ผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS)หัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือความสามารถของเทศบาลฯ ในการจัดการข้อมูลจำนวนมากให้เป็นระบบ และนำมาใช้ได้อย่างตรงจุด เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำ การประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน วัสดุอุปกรณ์…
“สำหรับเรา ปากเกร็ดเป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาพใหญ่ได้ดีเรามาอยู่ที่นี่เมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นเมืองยังไม่พลุกพล่าน สงบ อากาศดี และผู้คนในชุมชนก็รู้จักกันหมด เป็นเพื่อนบ้านที่ดี แต่พอเมืองขยายขึ้น สิ่งที่ตามมาคือมลภาวะอย่าง PM 2.5 ปัญหาขยะ หรือน้ำขังแบบเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเมื่อเมืองยิ่งขยาย ก็ยิ่งเห็นชัดว่าปัญหาโลกร้อน หรือโลกรวนเนี่ย เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และที่สำคัญ…
“สำหรับครู ปากเกร็ดเป็นเมืองที่น่าอยู่เสมอมา และครูก็ภูมิใจที่โรงเรียนของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความน่าอยู่มากขึ้นโรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพที่ 116 ก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจของคุณผาสุก มณีจักร ที่อยากขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก ๆ ชาวปากเกร็ด ท่านจึงบริจาคที่ดินสำหรับตั้งโรงเรียน ก่อนที่ทางหน่วยงานราชการและชาวบ้านจะร่วมกันสมทบทุนในการสร้างอาคาร โดยคำว่า ‘มิตรภาพ’ ในชื่อโรงเรียน จึงสะท้อนถึงความร่วมมือของคนในพื้นที่นอกจากเรื่องวิชาการ โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน และทักษะการใช้ชีวิต เรามีโครงการสวนสมุนไพรที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การปลูกพืช…
“ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปดูงานที่โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งเดือน สิ่งที่ได้เห็นคือการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน รวมถึงการบูรณาการศาสตร์วิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อขับเคลื่อน แนวทางนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมกลับมาพัฒนาการเรียนการสอนที่โรงเรียนผาสุกฯ ที่ผมสอนอยู่ผมมักจะบอกนักเรียนเสมอว่า เราไม่ได้เรียนศิลปะเพื่อที่จะเป็นศิลปิน แต่การได้เรียนศิลปะจะทำให้มีความคิดที่เป็นระบบ รู้จักวิเคราะห์ มีความอ่อนโยน และเข้าใจคนอื่น ซึ่งมันเป็นทักษะสำคัญในการดำรงชีวิตพื้นเพผมไม่ใช่คนปากเกร็ด แต่ก็ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาจะ 10…