“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่ จึงย้อนกลับมามองบ้านเกิดเราว่าจริง ๆ เมืองเราก็เป็นแบบนั้นได้ โดยที่ผ่านมา เราก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนต่าง…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ชวนผมร่วมทำงานในโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้ เพราะปกติเขาก็มีคนทำโคมขายกันอยู่แล้ว จนเทศบาลฯ ริเริ่มความคิดให้ชุมชนมาช่วยกันทำโคมขายนี่แหละ ปีนี้ชุมชนเรา (ชุมชนชัยมงคล)…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง สี เสียง แบบเดียวกับคอนเสิร์ตพี่เบิร์ดริมแม่น้ำบ้านเราได้น่ะ เห็นแล้วก็รู้สึกว่า โห…
“ผมเคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาก่อน พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัครชุมชน และก็อยู่บ้านเฉย ๆ จนเทศบาลเขาชวนผมกับภรรยาไปเรียนทำโคม เพื่อจะให้ชุมชนเราผลิตโคมไปขายให้กับเทศบาลฯ ต่อ ชุมชนเรา (ชุมชนสันป่ายางหลวง) เป็นชุมชนแรกที่เข้าไปเรียนทำโคม น่าจะ 6-7 ปีก่อนได้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังอะไรนัก แค่เห็นว่าเป็นงานฝีมือที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริมได้ด้วย แต่ทำไปทำมาชักสนุก พอเห็นว่าโคมที่เราทำมันถูกไปใช้ในเทศกาลโคมแสนดวงด้วย ก็รู้สึกภูมิใจเราทำโคมกันเองที่บ้าน ผมเป็นคนขึ้นโครง ภรรยาเป็นคนติดกระดาษและตบแต่ง ปีนี้เรามีออร์เดอร์ 800…
“ผมเกิดและโตที่ลำพูน บ้านผมอยู่นอกเขตเทศบาล แต่ห่างจากเมืองแค่ 6 กิโลเมตร ตอนเด็กเรียนโรงเรียนประถมแถวบ้าน ก่อนเข้าเรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนวัดพระธาตุหริภุญชัย ผมบวชเรียนอยู่ 2 ปี แล้วจึงย้ายไปเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนประจำจังหวัดหลังจากเรียนจบ ผมเข้ารับราชการ งานแรกอยู่ที่เชียงใหม่ ก่อนจะย้ายไปหลายเมือง กระทั่งได้กลับมาประจำที่เทศบาลเมืองลำพูนเมื่อธันวาคม 2566 แม้ในอนาคตอาจต้องย้ายตามระบบราชการ แต่ผมหวังเสมอว่าจะได้กลับมาประจำที่นี่อีกครั้ง สิ่งที่ทำให้ลำพูนเป็นเมืองที่พิเศษสำหรับผม ไม่ใช่แค่โบราณสถานหรือประวัติศาสตร์…
“ผู้สูงอายุสำหรับผมไม่ใช่ภาระ แต่เป็นคลังปัญญาของสังคมเช่นนั้นแล้ว อย่าเรียกพวกเขาว่า ‘แก่’ เลย เรียก ‘ผู้เชี่ยวชาญชีวิต’ ดีกว่า” "ภารกิจดูแลสุขภาวะคนนนท์ กับเมืองที่พัฒนาแบบมีหัวใจ"สมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรีสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรีคนปัจจุบัน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2488 ปัจจุบันอายุ 79 ปีชายผู้มักสวมแว่นกันแดด…
"เรามีโคม และเรามีคน คนลำพูนที่ช่วยกันทำโคมประดับเมือง ไม่ใช่แค่หลักร้อยหรือหลักพัน แต่เป็นหลักแสนดวง" นายกบุ่น - ประภัสร์ ภู่เจริญ ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำพูนครั้งแรกในปี 2538 ขณะมีอายุเพียงสามสิบต้น ๆ นับเป็นหนึ่งในนายกเทศมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศ ณ ขณะนั้น ด้วยพื้นเพจากครอบครัวนักธุรกิจ ประกอบกับทีมงานรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดก้าวหน้า เขาได้ผลักดันให้ลำพูนซึ่งเคยเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้าม กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา โดดเด่นทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตของผู้คนหนึ่งในผลงานที่เห็นได้ชัดคือการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบคูเมืองโบราณให้กลายเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่น ขยายพื้นที่สีเขียว…
“สืบเนื่องจากงานวิจัยเมื่อปีก่อน (แนวทางการพัฒนาเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดยคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากทุนวิจัยของบพท. ปี 2566) จนมาถึงงานวิจัยการพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัวในปีนี้ ได้สำรวจพื้นที่เทศบาลเมืองสระบุรี ว่าพื้นที่ตรงไหนมีศักยภาพ ใครใช้ประโยชน์บ้าง ก็จะมีโครงการมารองรับการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้เพื่อตอบโจทย์ให้คนยังอยากใช้ชีวิตอยู่ในเมือง รู้สึกว่าเมืองตอบโจทย์การใช้ชีวิต ด้านสุขภาพ ด้านการประกอบอาชีพ หรือการมีอนาคตที่ดีกับเมือง อยากลงหลักปักฐาน มากกว่าไปทำงานในกรุงเทพฯ คือสระบุรีจะมีรถไฟความเร็วสูง มีระบบคมนาคมขนส่ง…
“เราย้ายจากเทศบาลเมืองเขาสามยอด ลพบุรี มาอยู่เทศบาลเมืองสระบุรีประมาณ 2 ปี ก็พอดีกับท่านนายกฯ คนใหม่ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี ปี 2564-ปัจจุบัน) ที่เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง วาง 4 ยุทธศาสตร์ ‘สร้างเมืองน่าอยู่ สร้างคนคุณภาพ’ ทำงานโดยการประสาน ลงพื้นที่…