“โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ ตั้งขึ้นโดยคณะภราดาลาซาล นิกายโรมันคาทอลิก มีผู้ก่อตั้งคือนักบุญยอห์น แบพติสต์ เดอลาซาล เมื่อสามร้อยกว่าปีที่แล้ว พันธกิจหลักคือการจัดการศึกษาให้แก่เยาวชนและผู้ยากไร้ โดยในประเทศไทยมีโรงเรียนลาซาลอยู่ด้วยกัน 4 แห่ง นอกจากที่นครสวรรค์ ก็มีจันทบุรี บางนา (กรุงเทพฯ) และสังขละบุรี (กาญจนบุรี) โดยล่าสุดเรามีแผนจะเปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมอยากเป็นครูตั้งแต่เด็ก…
“เมื่อก่อนผมอยู่ชุมชนป้อมหนึ่ง ใกล้ๆ ตลาดลาวในตัวเมืองนครสวรรค์ ที่เรียกว่าตลาดลาวนี่ไม่ใช่คนลาวหรอก แต่เป็นคนจากภาคเหนือล่องเรือขนสินค้ามาขาย บางส่วนก็มาตั้งรกรากที่ปากน้ำโพ คนจีนที่นี่เรียกคนเหนือว่าลาว ก็เลยเรียกตลาดลาว แต่หลังๆ มาก็กลายเป็นคนเชื้อสายจีนอยู่เสียเยอะตลาดลาวอยู่ติดแม่น้ำปิง เดินเท้าไปไม่ไกลก็คือปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงพาสานบนเกาะยมนั่นแหละ พวกเราอยู่ทันเห็นสมัยที่ตรงนั้นเป็นศูนย์กลางของการขนส่งทางเรือ ตรงตลาดเทศบาลก็มีท่าเรือที่รับคนไปชุมแสง อีกสายไปก้าวเลี้ยว ขณะที่เรือที่สวนมาส่วนหนึ่งจะเป็นเรือขนข้าวสารไปส่งภาคเหนือ ถ้าใครจะเดินทางไปภาคเหนือ ก็มาขึ้นเรือหางยาวที่นี่ สมัยก่อนแม่น้ำกว้างกว่านี้ แม่น้ำจะอยู่ติดตึกเลย ซุงลอยเต็มแม่น้ำโดยส่วนใหญ่จะมาจอดตรงท่าเดชาฯ…
“ในฐานะที่ผมเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงมีโอกาสได้รับเชิญให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาเมืองของเราในมิติต่างๆ อยู่บ่อยๆ รวมถึงล่าสุดที่เกิดกฎบัตรนครสวรรค์ขึ้น ผมก็เข้าไปร่วมขับเคลื่อนกลไกที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นเมืองศิลปะจะทำยังไงให้เมืองของเราเป็นเมืองศิลปะ? แน่นอน การนำงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมให้ศิลปินท้องถิ่น หรือดึงศิลปินต่างชาติมาทำโครงการในบ้านเรา ทั้งทางด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และการแสดง เป็นสิ่งจำเป็น หรือการมีพื้นที่ทางศิลปะอย่างหอศิลป์ก็ใช่ แต่สำคัญกว่านั้นคือ การทำให้คนในเมืองรับรู้และเห็นคุณค่าของศิลปะ ทำให้ศิลปะกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของพวกเขา กลไกแห่งการเรียนรู้จึงเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ การทำให้คนนครสวรรค์เข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตัวเอง เข้าใจความหลากหลาย…
“เราลาออกจากงานประจำในบริษัทที่กรุงเทพฯ และกลับบ้านมาทำสวนผักและผลไม้ที่นครสวรรค์ราวปี 2560 ปลูกฝรั่ง มะม่วง ส้มโอ มะนาว กล้วย ฯลฯ ตั้งชื่อว่า ‘ไร่อุดมสุข’ ที่หันมาทำการเกษตร จะว่าเป็นเทรนด์ก็ใช่ และเราก็มีที่ดินที่บ้านเป็นต้นทุนอยู่แล้ว เราก็อยากอยู่บ้านด้วย จึงคิดว่าถ้าทำตรงนี้ได้ก็น่าจะมีความยั่งยืนกว่า ขณะเดียวกัน ก็มาคิดว่าถ้าเราสามารถทำฟาร์มเกษตรที่สามารถผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคได้ เมืองของเราก็น่าจะยั่งยืนไปด้วย ก็เลยศึกษาข้อมูลเรื่องนี้…
“ราวๆ 50 ปีที่แล้ว ผมเป็นเด็กอยู่ชุมชนบ้านเกาะ ความบันเทิงของคนที่นั่นคือการฟังเพลงจากเครื่องไฟ ทีนี้หลายคนมักเจอปัญหาเดียวกัน คือเพลงไหนที่มีเสียงแหลมๆ คอยล์ในลำโพงจะชอบขาด คอยล์เป็นอะไหล่นำเข้าจากอเมริกา พอมันขาดทีนึง ก็ต้องเสียเงินซ่อมไปหลายร้อย ซึ่งสมัยนั้นคือแพงมากความที่ผมเคยทำงานโรงสีข้าวและโรงบดแร่มาก่อน ก็พอมีความรู้เรื่องกลไกและเครื่องจักร เลยทดลองแกะไดอะแฟรมออกมาและพันขดลวดใส่เพื่อใช้แทนคอยล์ นั่นคือเมื่อราว 30 กว่าปีก่อน ที่ผมหาวิธีผลิตไดอะแฟรมคนแรกมาขาย ขายแผ่นละ 20…
“ชื่อนายตี๋ ลูกชิ้นปลากราย มาจากชื่อเตี่ยค่ะ เตี่ยชื่อเล่นชื่อตี๋ ชื่อจริงชื่อคมสันต์ สุวิทยารักษ์ เปิดร้านนี้มาเกือบ 30 ปีแล้ว แรกเริ่มเลย ต้องย้อนไปสมัยอากง อากงเป็นคนจีนมาตั้งรกรากที่นครสวรรค์ และทำก๋วยเตี๋ยวเป็ดขายเป็นหลัก พร้อมกับขายลูกชิ้นปลากรายเสริมด้วย หลังอากงเสียชีวิต เตี่ยก็มารับช่วงต่อ โดยขายลูกชิ้นปลากรายอย่างเดียว เพราะสมัยนั้นลูกชิ้นปลากรายเริ่มเป็นของฝากของจังหวัดนครสวรรค์แล้ว โดยทำส่งร้านค้าในตลาดก่อน พวกแผงปลา…
“หจก. ลิ่มเชียงเส็ง เริ่มต้นมาจากรุ่นอากงผมช่วงก่อน พ.ศ. 2500 โดยเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ในนครสวรรค์ที่ได้รับใบอนุญาตทำโรงงานตอนปี 2507 อากงเริ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร พวกบัวรดน้ำ จอบ เสียม และอื่นๆ พ่อผมเป็นรุ่นที่สอง เริ่มมาทำแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ก่อนจะมาถึงรุ่นผมที่สานต่อพ่อทำโรงงานผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรครบวงจรผมโชคดีที่เกิดและเติบโตมาในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี และความที่อากงและพ่อปูพื้นกิจการ รวมถึงสร้างเครือข่ายลูกค้ามาไว้อย่างดี จึงเป็นเรื่องง่ายที่ผมจะนำต้นทุนนี้มาเสริมด้วยการวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ…
“เพราะชาวปากน้ำโพเห็นตรงกันว่าเราไม่อยากให้นครสวรรค์เป็นแค่เมืองผ่าน จึงมาหารือร่วมกันกับเทศบาลนครนครสวรรค์ว่าเราควรจะกำหนดทิศทางให้เมืองของเราเป็นไปในทางไหนตอนที่คุยกันตอนนั้น เทศบาลได้ร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการในเมืองและภาคส่วนต่างๆ จัดตั้งกฎบัตรนครสวรรค์ เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองแล้ว เราได้สร้างพาสานเป็นแลนด์มาร์คใหม่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว และได้ฟื้นฟูพื้นที่บริเวณเกาะญวนให้กลายเป็นสวนสาธารณะในชื่อคลองญวนชวนรักษ์แล้ว ก็มาพิจารณาจากต้นทุนและศักยภาพที่เรามี จนได้คำตอบว่าเมืองของเราที่ส่วนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยชาวไทยเชื้อสายจีน และอีกส่วนก็มีความเป็นพหุวัฒนธรรมค่อนข้างสูง ก็ควรจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เมื่อตกลงกันได้แบบนั้น ทุกคนก็เห็นตรงกันว่าเรามีที่ดินราว 3 ไร่เศษด้านหลังพาสาน ที่ผู้ประกอบการปากน้ำโพร่วมลงขันกันซื้อที่ดินไว้และยกให้เทศบาล ก็ประชุมกันแล้วตกลงจะทำ ‘อุทยานวัฒนธรรมต้นน้ำเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว แลนด์มาร์ค…
“ก่อนจะมีการจัดตั้ง บพท. หน่วยงานที่สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรคือ สกสว. เขาให้งบการทำวิจัยกับ 6 เมืองนำร่อง ได้แก่ ขอนแก่น ระยอง เชียงใหม่ ป่าตอง (ภูเก็ต) สระบุรี และอุดรธานี ส่วนเมืองนครสวรรค์ไม่ได้อยู่ในแผนนี้ตั้งแต่แรกอย่างไรก็ตาม เมื่อผมทราบข่าวถึงเครื่องมือการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่นี้ ผมก็ติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการนำองค์ความรู้นี้มาช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบ ผมมีโอกาสได้อ่านบทความของอาจารย์ฐาปนา…
“ผมเป็นคนปากน้ำโพ เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พอกลับมาอยู่บ้าน ช่วงปี 2527 เห็นเมืองกำลังเติบโต และก็เห็นวัสดุก่อสร้างกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ขณะเดียวกันพื้นเพของบ้านแฟนผมเขาขายวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว ผมก็เลยเข้ามาช่วยเต็มตัว โดยพยายามเปลี่ยนให้ร้านค้าแบบเดิมให้เข้าสู่โมเดิร์นเทรด ก่อนจะไปจับมือกับ SCG เป็นผู้แทนจำหน่ายรายใหญ่ให้เขาในโซนนี้ เมื่อก่อนเราเปิดร้านอยู่บนถนนสวรรค์วิถี ย่านใจกลางเมืองปากน้ำโพ มีบริการส่งวัสดุก่อสร้างไปที่ไซท์งานเลย ร้านเราจึงไม่ต้องการที่จอดรถอะไรมาก แต่ช่วงหลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้รับเหมาเขาอยากลดต้นทุนเรื่องค่าส่ง…