ผมเป็นคนพ่ายแพ้กับการศึกษาในระบบ เรียนไม่เก่ง เป็นเด็กหลังห้อง แต่อาศัยว่าตัวเองชอบทำกิจกรรมจึงจบออกมาได้ โดยเริ่มจากทำงานค่ายอาสาสมัยเรียนมัธยม พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ค่อยได้ไปเรียน แต่ทำกิจกรรมกับชมรม พร้อมกับรับงานพิเศษที่ดูแลเรื่องการศึกษานอกห้องเรียนเรื่อยมาเริ่มจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเยาวชนของ สสส. ตามมาด้วยงานออกแบบกระบวนการสอนเด็กๆ ในสถานพินิจ ซึ่งเป็นโครงการของ กสศ. (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) รวมถึงงานภาคประชาสังคมกับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ซึ่งงานหลังผมมีโอกาสได้ทำมาตั้งแต่สมัยมัธยม ด้วยประสบการณ์แบบนี้ ทำให้ผมเชื่อว่า ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนในระบบ การศึกษานอกระบบก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างพลวัตรขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ…
“ผมเกิดที่ตำบลบ้านเพ จังหวัดระยอง อย่างที่รู้กันว่าถ้าคุณจะมีอาชีพที่ความมั่นคงในจังหวัดนี้ก็ต้องทำงานโรงงาน ผมจึงเลือกเรียนการไฟฟ้าเพื่อจบออกมาเป็นช่างไฟฟ้าอยู่โรงงานสิบกว่าปีอย่างไรก็ตาม ผมพบว่าแต่ไหนแต่ไรมาเป็นคนชอบศิลปะ พอทำงานไฟฟ้าจนเริ่มอิ่มตัว จึงซื้อเครื่องดนตรีไทยและหนังสือมาหัดเล่นด้วยตัวเอง เล่นอยู่หลายชนิดจนมาถึงซอสามสาย ซึ่งไม่มีหนังสือบอกวิธีการเล่นให้อ่าน จึงไปหาครูสอนดนตรีไทยตามโรงเรียนที่ระยองให้เขาสอนให้ พอเรียนจนเล่นได้แม่น ครูท่านก็ชวนให้ผมมาเป็นครูสอนเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ต่ออีกที เลยมีงานพิเศษเป็นครูสอนดนตรีไทยนอกเวลางานช่างไฟฟ้าพอเข้าสู่โลกดนตรีไทย ผมก็เริ่มสนใจเอกสารโบราณรวมถึงการเขียนอักษรโบราณ ก็เหมือนเดิม ไปหาหนังสือมาอ่าน และเริ่มหัดเขียนอักษรโบราณด้วยตัวเอง ผมสนุกกับงานอดิเรกนี้จนภายหลังมาเปิดเพจเกี่ยวกับการเขียนอักษร (อักษราร้อยวลีลิขิต…
“ผมชื่อเฉลียว นามสกุลราชบุรี หลายคนเข้าใจว่าผมเป็นคนราชบุรี แต่จริงๆ ผมเกิดที่ตรัง ทำงานอยู่ระยองมาหลายสิบปี ตอนนี้เกษียณ ใครถามก็จะบอกว่าเป็นคนระยองผมเคยรับราชการเขตพื้นที่ประถมการศึกษาระยอง ควบคู่ไปกับการทำงานสภาวัฒนธรรม พอทำงานด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมมากเข้า ก็พบว่าระยองยังไม่ค่อยมีการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเท่าที่ควร หรือคุณไปหาอ่านเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ จะพบเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเมืองนี้สั้นๆ ถ้าไม่มีการบอกเล่าปากต่อปาก ลูกหลานคนระยองคงไม่มีใครได้รู้ประวัติศาสตร์บ้านเกิดตัวเองด้วยเหตุนี้ผมจึงเริ่มรวบรวมข้อมูล ทั้งจากจดหมายเหตุ ประวัติท้องถิ่น ไปจนถึงการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ จนสามารถเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยเขียนเล่มแรกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองแกลง…
“ผมไม่เคยชอบไปโรงเรียนตอนเด็กมากๆ เหตุเพราะโดนครูทำโทษด้วยไม้เรียวจากเรื่องที่ไร้สาระ และถ้าเราตั้งคำถามครู ก็มักจะโดนด่าว่าเป็นเด็กเถียงผู้ใหญ่…เลยคิดว่าถ้าโตมา ผมอยากเป็นครูที่ดีกว่านี้ และนั่นทำให้พอเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ผมจึงเลือกคณะครุศาสตร์ (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)จนเรียนจบออกมา ก็คิดว่าการเป็นแค่ครูยังไม่พอ ถ้าเราอยากออกแบบโรงเรียนหรือวิธีการสอนหนังสือในแบบของเราได้ ก็ควรต้องเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน (หัวเราะ) หากระหว่างนั้นช่วงคาบเกี่ยวก่อนเรียนจบ ผมได้ชวนเพื่อนๆ ที่มีความคิดแบบเดียวกันมาตั้งกลุ่ม Dot to Dot…
“ผมเรียนรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนที่เรียนจบเป็นช่วงโควิดระบาดพอดี มหาวิทยาลัยจึงให้นักศึกษากลับไปอยู่บ้าน เราสอบปลายภาคผ่านทางออนไลน์จากที่บ้าน ไม่มีพิธีปัจฉิมนิเทศ ไม่ได้เลี้ยงร่ำลาเพื่อนๆ กลายเป็นว่าต้องมาอยู่บ้านที่ระยองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบตอนแรกตั้งใจไว้ว่าถ้าเรียนจบ ผมอาจจะหางานทำที่กรุงเทพฯ ก่อน แต่พอสถานการณ์เป็นแบบนี้ ประกอบกับพอกลับมาอยู่บ้านก็พบว่าพ่อสุขภาพไม่ค่อยดีด้วย เลยตัดสินใจหางานทำที่นี่ ก็ได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานอำเภอ เป็นงานสัญญาจ้าง 1 ปี นั่นเป็นงานแรกที่ผมทำ จนทำงานนี้มาได้ใกล้ครบสัญญา เห็นว่าโควิดยังไม่ซาเสียที…
“ภาษาถิ่นระยองจะเหน่อคล้ายจันทบุรี แต่ก็มีหลายอย่างที่ต่างไป แบบฟังปุ๊บก็รู้ปั๊บว่านี่คนระยอง เช่น เวลาคนระยองมีธุระต้องรีบไปจะพูดว่า ‘กะเหลือกะหลน’ ขับรถตกหลุม จะบอกว่าขับรถตก ‘กะหลุก’ ทำอะไรไม่คล่องตัวเขาว่า ‘กะงอกกะแงก’ แต่หลายคำก็เหมือนคำภาคกลางที่ใช้กันทั่วไป แต่เราจะออกเสียงต่ำกว่า เช่นไปวัด เราบอกว่า ‘ไปวั่ด’ ทุเรียนเราเรียกว่า ‘ทุ่เรียน’ และแน่นอน อย่างที่ทราบกันพูดอะไรเรามักลงท้ายว่า…
“ถ้าคนระยองเรียนจบด็อกเตอร์ แต่กลับหางานทำที่บ้านเกิดของตัวเองไม่ได้ ผมว่ามันไม่ใช่ขณะเดียวกัน แม้เมืองของเราจะขึ้นชื่อเรื่องเศรษฐกิจที่ดี แต่เศรษฐกิจที่ดีที่ว่านี้ กลับถูกขับเคลื่อนจากคนทำงานจากจังหวัดอื่นๆ ที่ย้ายเข้ามาทำงานในเมืองเรา อันนี้ผมว่าก็ไม่ถูกออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ต่อต้านอะไรคนจากที่อื่นนะ เพียงแต่รู้สึกเสียดายที่คนระยองเราน่าจะมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบ้านเมืองเราให้มากกว่าที่เป็นอยู่ นั่นทำให้ผมกลับไปหาสาเหตุ จนมาพบว่าปัจจัยสำคัญคือการศึกษา ที่ผ่านมา คนระยองเรียนผิดทาง จบออกมาจึงต้องไปหางานที่อื่นหมด และนั่นทำให้ทุกภาคส่วนในจังหวัด เห็นตรงกันว่าถึงเวลาแล้วที่การศึกษาระยองต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของเมืองจริงๆ เสียที ระยองมีจุดเด่นอะไร? อุตสาหกรรม ประมง…
“ที่ดินตรงนี้ประมาณ 80 ไร่ เป็นของกงสีครอบครัวผม ซึ่งอยู่ติดกับป่าโกงกางกลางเมืองระยอง ส่วนใหญ่เราปล่อยไว้เป็นพื้นที่สีเขียว แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้ประโยชน์ อย่างบ่อน้ำตรงนี้เป็นบ่อพักน้ำสำหรับทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่อยู่ถัดไป หรืออาคารด้านหลังเคยเป็นโรงไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ของลุง แต่ปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งผมจบสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นก็กลับมาทำงานในด้านการพัฒนาชุมชนที่ระยองได้ราวหนึ่งปี และพบว่ามุมมองของเรากับบริษัทไม่ตรงกัน จึงลาออกมา ความที่ผมเป็นนักกีฬาแบดมินตันอยู่แล้ว และมีโรงไม้เก่าในพื้นที่บ้านอยู่ เลยตัดสินใจเปลี่ยนโรงไม้นี้มาเป็นคอร์ทแบดมินตันให้เช่า และก็ใช้พื้นที่นี้เปิดสอนแบดมินตันไปพร้อมกัน พอเปิดคอร์ทแบดแล้ว ก็พบว่าช่วงกลางวันที่ไม่มีคนมาใช้สนาม…
“แม้ชื่อจะเป็นบริษัท แต่ ‘ระยองพัฒนาเมือง’ ไม่ได้ทำธุรกิจ เราจดทะเบียนให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยมีรูปแบบที่ว่าถ้ากิจกรรมของเราสร้างกำไรมาได้ รายได้ดังกล่าวจะไม่เข้าสู่กระเป๋าหุ้นส่วน แต่จะเป็นการนำรายได้นั้นไปลงทุนกับกิจกรรมการพัฒนาเมืองอื่นๆ ต่อไป ความท้าทายของเมืองระยองก็อย่างที่ทราบกัน เขตเทศบาลถูกขนาบหัวท้ายด้วยโรงงานขนาดใหญ่ พื้นที่เมืองไม่ได้ใหญ่ แต่มีประชากรซึ่งรวมประชากรแฝงมากถึง 200,000 กว่าคน ซึ่งโรงงานที่ขนาบเราก็มีทั้งโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซ เรียกได้ว่าหันไปตะวันออกหรือตะวันตกก็จะเจอปล่องปล่อยควันขนาดใหญ่ตระหง่านอยู่ แต่ข้อดีก็คือ เรามีป่าชายเลนอยู่ตรงกลาง มีชายทะเล และมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง…
“ช่วงราวปี 2549 เจ้าหน้าที่กองสิ่งแวดล้อมชวนตัวแทนชุมชนของเราไปดูงานป่าชายเลนที่สถานีพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จังหวัดจันทบุรี และชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด สองพื้นที่นั้นเขามีป่าโกงกางเหมือนเรา แต่ของเขาป่าสมบูรณ์ ส่วนของเรามีแต่พื้นที่ว่างเจิ่งน้ำและโขด เสื่อมโทรม หรือถ้ามี ป่าก็ถูกบุกรุกเอาเข้าจริงตัวเมืองระยองเรามีป่ามากกว่า 300 ไร่อีกนะ แต่พอมันไม่ถูกจัดการดีๆ มันจึงถูกรุกล้ำอยู่เรื่อยๆ จนเหลือเท่านี้ พอได้เห็นว่าชาวบ้านที่นั่นเขามีวิธีจัดการพื้นที่อย่างไร…