“ไอคอนสยามเปิดมาปีนี้เป็นปีที่สี่ แต่เรามีโอกาสมีส่วนร่วมกับโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานและต่อยอดโครงการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้มาก่อนที่ห้างจะเปิด คือโดยคอนเซปต์ เราไม่ใช่แค่ศูนย์การค้า เราบอกทุกคนว่า ไม่ใช่ที่ที่มาเพื่อซื้อของ แต่เราอยากให้เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกอย่างคือจุดเริ่มต้นนโยบายของผู้บริหารเลยว่า เมื่อไหร่ที่เรามีบิ๊กโพรเจกต์เกิดขึ้น มันจะมาทั้งความต้อนรับและข้อสงสัย เราจะเตรียมพื้นที่ยังไงไม่ให้เราสร้างความเดือดร้อน แต่เราจะเป็นคนที่มาด้วยความมีประโยชน์มากกว่า เลยเป็นที่มาที่เราอยากร่วมมือกับภาคการศึกษาหรือใครก็ตามที่มีแนวคิดนี้เหมือนกัน คือไอคอนสยามจะมาพร้อมกับนักท่องเที่ยววันละสองแสนคน เพราะฉะนั้นพื้นที่รอบๆ ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเขาจะได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ค้าขายหรือทำเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรามีคอนเซปต์เดียวกับโครงการวิจัยฯ ที่จะทำให้ทุกพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองเข้มแข็ง…
“คลองสานมีศักยภาพทั้งมิติเชิงประวัติศาสตร์ มิติเชิงวัฒนธรรม มิติของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย บริบทตัวพื้นที่คลองสานเองที่อยู่ริมน้ำ ชุมชนเก่าผสมกับวิถีชีวิตใหม่ๆ มีความเป็นย่านท่องเที่ยวด้วย ประกอบกับมีพื้นที่เอกชนแปลงหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติลดหย่อนภาษีให้เอกชนให้ที่ดินกับรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็เลยพัฒนาพื้นที่คลองสานเป็นต้นแบบ และเป็นย่านที่หลายๆ กลุ่มให้ความสนใจเข้าไปอยู่แล้ว ถ้าสามารถกระตุ้นให้ไปในทิศทางที่ไม่ได้ไปในทางท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาเพื่อชุมชนด้วย ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ ทำยังไงให้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะตรงนี้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจริงๆ เราหาสามเครือข่าย กลุ่มรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาคุยกัน ให้คนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมออกแบบโปรแกรมที่ทำให้มีการใช้งานที่ตอบสนองกับคนในพื้นที่จริงๆ…
“จุดเริ่มต้นของร้าน Deep Root Café คือการปั่นจักรยานมาเจอ นึกว่าคุ้นๆ นะ เป็นทางเดินกลับบ้านเราเองตอนยังเด็กมาก บ้านผมอยู่สำเพ็ง ฝั่งโน้น ผมเรียนโรงเรียนแสงอรุณ จากวัดซางตาครู้สเดินผ่านทางนี้ ก็ร้างๆ อยู่แล้วล่ะ พอมาเห็นรู้สึกสงสารพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นห้าสิบปี รู้สึกว่าเราพอจะทำอะไรบางอย่างได้มั้ย อีกข้อนึง ผมทำงานในตัวเมืองโซนสยามสแควร์ เราอยากหนีความวุ่นวาย อยากให้มีพื้นที่รีแลกซ์สำหรับคนในเมืองที่วุ่นวายกับชีวิตในวันหนึ่งๆ…
“ในตัวผมมีสองบทบาทคือนักวิชาการที่เป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ฯ และทำงานสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับบทบาทที่เป็นคนในชุมชนกุฎีจีน คือผมเป็นเขย แต่งงานก็เข้าไปอยู่ในย่านจนทุกวันนี้ ลูกก็โตอยู่ในย่าน ซึ่งสองบทบาทนี้เกื้อหนุนกัน เห็นมุมมองตั้งแต่ระดับนโยบาย การช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ เช่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามา ทำให้มองภาพรวมของชุมชนได้กว้างกว่าคนที่อยู่ในชุมชนเอง ขณะเดียวกัน ก็เห็นความต้องการของคนที่อยู่ในชุมชน รู้ว่าลิมิตของเขามีแค่ไหน…
“ผมเป็นคนอุดรฯ แต่มาจบนิติศาสตร์ ที่มข.ครับ จริง ๆ ไม่ได้เรียนมาทางสายศิลปะ ด้วยความที่ทางบ้านไม่ได้มีฐานะ ช่วงเรียนก็เลยหางานทำ ทำมันทุกอย่างรับหมด ตั้งแต่แจกใบปลิว ไปถึงขายน้ำปั่น หรือจะเล่นดนตรีอันนี้ก็รับ อย่างหลังนี่คือผมถนัด ชอบ และก็ทำวงกับเพื่อนแบบจริงจัง ก่อนจะจบได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำบทความ แล้วนิตยสารชื่อ ‘ทางอีสาน’ เป็นนิตยสาร Local…
“พวกเราเรียนสายศิลป์จีนธุรกิจ โรงเรียนดรุณาราชบุรี รุ่นที่เรียนสาขานี้มีอยู่ 12 คน แต่จะเรียนร่วมห้องกับเพื่อนที่เรียนศิลป์ภาษาอังกฤษและไอทีพร้อมกัน ยกเว้นวิชาหลักที่แยกกันไปเรียนตอน ม.4 เราสองคนได้ร่วมกิจกรรมอบรมยุวมัคคุเทศก์ของโครงการเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนต่อการมองเมืองราชบุรีบ้านเกิดของเรา เพราะแม้เราจะคุ้นเคยกับสถานที่ต่างๆ แต่ความเป็นจริง ถ้าเราไม่ได้รู้จักและสอบถามคนในพื้นที่ ก็กลับแทบไม่รู้ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆ เลย พอเข้าร่วมอบรมจึงได้รู้ว่า อ่อ ชุมชนริมน้ำตรงนี้เริ่มขึ้นมาได้อย่างไร โอ่งมังกรก็มีที่มาที่น่าสนใจนะ กำแพงเมืองเก่าทำไมถึงไปอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ…
“ผมเกิดอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ย้ายมาทำธุรกิจที่ราชบุรี แต่ถูกโกงเงิน เลยต้องมาสมัครเป็นลูกจ้างประจำสำนักงานไปรษณีย์ ทำได้สักพักก็มีปัญหากับหัวหน้างาน จึงลาออกมา พอดีกับที่ทาง อบจ. กำลังหาเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในวิหารบนเขาแก่นจันทร์ ผมก็เลยได้ทำงานนี้เขาแก่นจันทร์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองราชบุรี แม้เป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าขึ้นมาข้างบน ก็จะเห็นเมืองราชบุรีได้ทั้งหมด บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแก่นจันทร์ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเจ้าแม่แก่นจันทร์ วิญญาณอารักษ์ที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ ตามตำนานท้องถิ่นของเมืองราชบุรี นอกจากนี้ บริเวณเชิงเขายังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์รัชกาลที่…
“ถ้าเป็นผู้หญิงในครอบครัวพี่จะทอผ้าได้ทุกคนค่ะ ตอนเด็กๆ เราจะรวมตัวกันตรงใต้ถุนบ้าน มียายซ้อน (ยายซ้อน กำลังหาญ) คุณยายของพี่เป็นจุดศูนย์กลาง หลานๆ จะมากองรวมกัน และทอผ้าแข่งกัน ตื่นมาลงจากบ้านก็เจอกี่ทอผ้า เราโตมาแบบนั้น ตอนเด็กๆ ชอบไม่ชอบไม่รู้ แต่เริ่มทอเป็นตั้งแต่อายุ 15 ปีแล้ว พี่เป็นลูกสาวของยายพิมพ์ (พิมพ์ ชมพูเทศ)…
“หน้าที่ของสำนักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี คือดูแล อนุรักษ์ และบูรณะพื้นที่โบราณสถานและโบราณวัตถุใน 6 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ซึ่งเรายังมีพิพิธภัณฑ์ในความรับผิดชอบหลักอีก 2 แห่งคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี…
“อากงของผมเป็นชาวจีน ท่านนั่งเรือสำเภาจากบ้านเกิดลงมาประเทศไทย และล่องเรือเข้าแม่น้ำแม่กลองมาลงหลักปักฐานในเมืองราชบุรีราวเกือบ 100 ปีที่แล้ว ท่านน่าจะเป็นรุ่นต่อจากคนจีนที่เข้ามาบุกเบิกทำโอ่งมังกรที่เมืองเมืองนี้อากงเริ่มจากศูนย์ ก่อนก่อตั้งธุรกิจและส่งต่อมาที่รุ่นพ่อแม่ ผมโตมาในครอบครัวที่มีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว จึงสามารถริเริ่มธุรกิจของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อยได้ไม่ยาก แต่นั่นล่ะ แม้เรามีแต้มต่อที่ดี ก็ใช่ว่าชาวราชบุรีทุกคนจะมี พอทุกอย่างลงตัว ผมก็เลยอาสาเข้ามาสมัครเป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี หวังจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยกระดับให้เมืองของเราเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน ผมเข้ามาเป็นนายกเทศมนตรีในปี พ.ศ. 2564 มีความตั้งใจจะทำให้ราชบุรีพัฒนา…