“ถ้าเราดูตามเอกสารและหลักฐานทางงานศิลปกรรม ราชบุรีมีการอาศัยอยู่ของผู้คนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านโคกพริก ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมืองราชบุรี ความน่าสนใจก็คือพื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นเส้นทางของแม่น้ำแม่กลองสายเก่า ซึ่งเมื่อแม่น้ำมีการเปลี่ยนเส้นทางในยุคต่อๆ มา ก็มีการเกิดขึ้นของชุมชนตามไปด้วย ทั้งเมืองโบราณคูบัว บริเวณวัดมหาธาตุ มาจนถึงเส้นทางใจกลางตัวเมืองในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำนำมาสู่การตั้งถิ่นฐานของผู้คนในแต่ละยุค และนำมาสู่การกระจายตัวของงานศิลปกรรมที่เป็นผลผลิตของผู้คน เราจึงพบโบราณวัตถุที่สะท้อนยุคสมัยต่างๆ กระจายอยู่ทั่วเมือง ขณะเดียวกัน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำแม่กลอง ก็ยังได้ดึงดูดให้ผู้คนจากพื้นที่ต่างๆ มาลงหลักปักฐาน…
“หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมเมืองราชบุรีกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ หนูก็ได้รวมทีมกับเพื่อนๆ เข้าประกวดแนวคิดการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง เราตั้งชื่อทีมว่า Jungle Kids โดยนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองราชบุรี แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่หลัก พร้อมออกแบบของที่ระลึกในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสะสมให้ครบ โดย 5 พื้นที่ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตลาดโคยกี๊ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดช่องลม และวัดมหาธาตุ…
“ความที่ชาวบ้านคูบัวส่วนหนึ่งเป็นลูกหลานชาวไทยวนที่ถูกกวาดต้อนจากเชียงแสนมาที่เมืองราชบุรีในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ศิลปวัฒนธรรมไทยวนจึงยังคงมีการสืบสานต่อกันที่นี่ หลายบ้านยังคงพูดคำเมือง อาศัยในบ้านเรือนยกสูง นุ่งผ้าซิ่น และที่สำคัญคือยังคงทอผ้าซิ่นตีนจกแบบดั้งเดิมอยู่เนื่องจากเราสอนวิชาเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งทอที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เราเห็นว่าราชบุรีคือเมืองที่เป็นคล้ายชั้นเรียนเรื่องการทอผ้าอันยอดเยี่ยมโดยที่ไม่ต้องพานักศึกษาเดินทางไปดูงานที่ไหนไกล เพราะที่นี่มีครบตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของแบรนด์ Pasaya โรงงานทอผ้าขาวม้าขนาดกลางที่มีอยู่หลายแห่ง และที่สำคัญคือแหล่งผลิตผ้าซิ่นตีนจกในระดับครัวเรือนอย่างที่เห็นในบ้านคูบัวแห่งนี้ โจทย์หนึ่งของงานวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่เรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 2 คือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางศิลปะหัตถศิลป์ (Art & Craft…
“ทีมมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลงพื้นที่เมืองราชบุรีร่วมกับทางคณะโบราณคดี มาตั้งแต่โครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์ในปี 2563 ซึ่งได้รับทุนจาก บพท. เช่นเดียวกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปี 2564-2565 โดยในโครงการนั้น เราได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปหัตถศิลป์ท้องถิ่น ครอบคลุมตั้งแต่การวาดรูป การปั้นดิน การทำความเข้าใจงานหัตถกรรมพื้นบ้าน และการแชร์ความคิดด้านการออกแบบเมืองที่ทุกคนอยากเห็น กิจกรรมครั้งนั้นทำให้เราพบว่าเด็กราชบุรีหลายคนแม้จะคุ้นเคยกับโอ่งมังกร แต่ก็แทบไม่เคยสัมผัสดินที่ใช้ปั้นโอ่งเลย เราก็เลยให้เขาลองปั้นดิน และมาร่วมกันออกแบบประติมากรรมที่สะท้อนความเป็นเมืองราชบุรี เพื่อนำไปติดตั้งบริเวณริมแม่น้ำแม่กลองกันประติมากรรมรูปมังกร…
“แม่เรียนทอผ้ามาจากแม่ (คุณยายซ้อน กำลังหาญ) และพี่สาว (ทองอยู่ กำลังหาญ) แม่ของแม่มีลูก 5 คน ลูกชาย 2 ลูกสาว 3 โดยลูกสาว 3 คนของบ้านจะทอผ้าเป็นทุกคน เพราะเกิดมาก็เห็นแม่ทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้านแล้ว ลูกๆ หลานๆ ที่เป็นผู้หญิงครอบครัวนี้…
“ความที่เราเป็นนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์และศิลปะจีนในประเทศไทยมาอยู่แล้ว พอได้ลงพื้นที่ราชบุรี ทำโครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์เมื่อปี 2563 บริเวณชุมชนตลาดเก่า (ตลาดโคยกี๊) เมืองราชบุรี ซึ่งมีรากเหง้าของวัฒนธรรมชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทย จึงทำให้การศึกษาวิจัยของเราโครงการนี้เชื่อมร้อยกันได้ง่าย เราพบว่าผู้คนในชุมชนตลาดเก่าต่างตระหนักดีถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ และมีความแอคทีฟอยากเห็นย่านที่พวกเขาอาศัยได้รับการพัฒนา เพียงแต่เขาไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไร พอเราได้แลกเปลี่ยนกันก็พบว่า ชาวชุมชนต้องการสร้างสื่อที่เป็นรูปธรรมจากฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยคิดถึงการสร้างแลนด์มาร์ค หรือจุดถ่ายรูปเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปและเรียนรู้ในพื้นที่ด้วยเหตุนี้ นอกจากการจัดทำฐานข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมทั้งในรูปแบบของเอกสารและฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองเก่า…
“ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” มีสองโครงการวิจัยย่อย หนึ่ง. คือการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ สอง. การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม พื้นที่การเรียนรู้เทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผมรับหน้าที่หัวหน้าโครงการฯ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ จากโครงการย่อยที่หนึ่ง ซึ่งทีมดร.ลัญจกร…
“ภายใต้โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เรารับผิดชอบดูแลการจัดศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตร เก็บข้อมูลทั้งอำเภอขลุง ครอบคลุมทั้ง 12 ตำบล เราแยกกลุ่มชัดเจน กลุ่มที่เป็นเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนิสิตนักศึกษา กระจายไป 200 กว่าชุดข้อมูล เพื่อสอบถามและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชิงเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรดั้งเดิม…
“สิบสี่ปีที่แล้ว เราทำงานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ยุคนั้นเป็นยุคที่มีการนำเด็กๆ ในพื้นที่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์กัน พิพิธภัณฑ์เราก็ทำกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์อาสาเหมือนกัน โดยชวนนักเรียนจากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองและวัตถุจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราไปชวนเด็กนักเรียน ส่วนมากเขาจะถามคำแรกก่อนว่ามีใบประกาศนียบัตรไหม เพราะเขาอยากเอาไปเป็นพอร์ตโฟลิโอ ขณะเดียวกัน เมื่อประสานไปยังโรงเรียนต่างๆ คุณครูก็มักจะเลือกเด็กนักเรียนที่เก่งที่สุดหรือมีทักษะทางการสื่อสารที่ดีที่สุดมาร่วมกิจกรรม ผลปรากฏว่า หลังจากที่เราอบรมความรู้ต่างๆ แก่เด็กๆ และมอบใบประกาศนียบัตรเสร็จเรียบร้อย เด็กๆ…
“น้าของตาลเคยทำงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตาลจึงมีความผูกพันและสนใจเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จนขึ้นมัธยมปลาย และเห็นว่าโรงเรียนเรา (เบญจมราชูทิศ ราชบุรี) มีชมรมโบราณคดีที่เป็นชมรมใหญ่ด้วย ก็เลยสมัครเข้ามาความที่ตาลสนใจเรื่องเก่าๆ ก็เลยชอบเล่าเรื่อง กิจกรรมของชมรมที่ชอบเป็นพิเศษ จึงเป็นการนำชมพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) เพราะมันไม่ใช่แค่การท่องจำเพื่อเล่าให้คนอื่นฟังว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้คืออะไรหรือมีความหมายอย่างไร แต่ยังเป็นการหาวิธีสื่อสารให้กับผู้ฟังหลากหลายที่มา อย่างเพื่อนนักเรียนจากสถาบันอื่น คณะครูที่เข้ามาดูงานเพื่อไปพัฒนาพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนของเขา บุคคลทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติ แต่ละกลุ่มล้วนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน…