“ผมเริ่มทำประติมากรรม ‘โคยกี๊ก้อน’ ราวปี 2564 ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปมังกรสีเหลือง คลุมทับท่อน้ำบริเวณเขื่อนริมแม่น้ำแม่กลองตรงตลาดโคยกี๊ ที่เลือกทำมังกรตัวนี้ก็เพราะเมื่อทีมงานมัณฑนศิลป์ร่วมกับชาวชุมชนสร้างสรรค์งานศิลปะในที่สาธารณะบริเวณริมแม่น้ำตามจุดต่างๆ ตัวแทนชุมชนเห็นว่าท่อน้ำตรงนี้มีทัศนะที่ไม่น่ามอง เราเลยตกลงกันว่า งั้นทำงานศิลปะปิดมันไปเลยดีกว่า นั่นล่ะครับ มังกรตัวนี้จึงยาวเป็นพิเศษ เพราะจะได้คลุมทับท่อน้ำ และเป็นที่นั่งพักให้กับผู้สัญจรไปมาด้วยผมชอบกระบวนการสร้างสรรค์มังกรตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะนี่เป็นผลจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของเมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผมชวนนักศึกษาที่ผมสอนร่วมลงพื้นที่กับเยาวชนและตัวแทนชุมชนในเมืองราชบุรี เรียนรู้เรื่องการทำเซรามิกด้วยกัน และเราก็นำเซรามิกที่ได้จากเวิร์คช็อปนี้แหละ มาให้ทุกคนช่วยกันประกอบเป็นเกล็ดของเจ้าโคยกี๊ก้อน หลังจากโคยกี๊ก้อนแล้วเสร็จ…
“ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรให้เรารวมกลุ่มกับเพื่อน ร่วมกันออกแบบแนวคิดพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองราชบุรี พวกเราเห็นตรงกันว่าอยากสร้างแลนด์มาร์คทางศิลปะให้กับเมืองค่ะเราตั้งชื่อทีมว่า T.5 New Modern โดยเริ่มจากการวาดแผนที่เมืองราชบุรีพร้อมแลนด์มาร์คของเมืองประกอบเข้าไป อาทิ โอ่งมังกรที่เถ้าฮ่งไถ่ พระพุทธรูปที่เขาแก่นจันทร์และวัดช่องลม สะพานดำ ไปจนถึงผึ้งที่อำเภอสวนผึ้ง และอื่นๆ หลังจากนั้น เราก็ลดขนาดของพื้นที่ให้เล็กลงมา เพราะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวดังๆ นั้น นักท่องเที่ยวต่างรู้จักอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำเป็นเส้นทางเดินเท้าในตัวเมือง ก็คงจะน่าสนใจไม่น้อย…
“ราชบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ทำโอ่งมังกร เพราะดินเหนียวแดงที่นี่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การทำโอ่ง มันทนความร้อนได้มากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส นั่นทำให้เมื่อเผาออกมา โอ่งจึงสามารถกักเก็บน้ำได้อย่างดีเยี่ยม ไม่รั่วซึมโอ่งมังกรเป็นตัวแทนการผสมผสานของจีนและไทย ชาวจีนที่อพยพมาราชบุรีมีทักษะในการทำเครื่องปั้นดินเผาติดตัวมา ส่วนราชบุรีก็มีดินที่มีคุณสมบัติเหมาะจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี และก็เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวจีน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมลวดลายบนโอ่งจึงเป็นมังกร แต่ก่อนตรงริมน้ำแม่กลอง บริเวณที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จะมีท่าน้ำที่พ่อค้าจากทั่วสารทิศเดินเรือเข้ามาเพื่อรับซื้อโอ่งมังกรไปขายตามเมืองที่อยู่ร่องน้ำต่างๆ ในภาคกลาง จากแม่กลองไปลุ่มน้ำป่าสัก เข้าอยุธยา…
“ปีที่แล้ว ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากรประกาศรับสมัครนักเรียนในราชบุรีให้มาประกวดการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวของเมือง หนูกับเพื่อนอีก 4 คนก็รวมกลุ่มไปสมัคร ตั้งชื่อทีมว่า จาร์ ดรีมเมอร์ (Jar Dreamer) โดยนำโอ่ง (jar) ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองมาตั้ง ประมาณว่าเป็นทีมนักฝันที่อยากเห็นเมืองราชบุรีเติบโตไปในแบบที่เราเป็นราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์เยอะมาก ย้อนไปตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีโบราณสถานสวยงามที่หลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะวัดมหาธาตุที่หนูชอบ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าที่มีศิลปะจากยุคสมัยต่างๆ ของบ้านเราซ้อนทับกันอยู่ เวลาเข้าไปในบริเวณวัด…
ก่อนหน้านี้ผมเป็นวิศวกรที่ประเทศเยอรมนี แต่มีเหตุให้ต้องกลับมาบ้านที่อัมพวา แล้วบังเอิญได้รู้จักคุณพ่อ (บาทหลวง) ที่สอนหนังสือที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ท่านชวนให้ผมมาสอนที่นี่ ความที่ช่วงนั้นผมรับงานติวเตอร์สอนภาษาเยอรมันและวิชาฟิสิกส์ให้นักเรียนที่ราชบุรีอยู่แล้ว จนพบว่าเราชอบสอนหนังสือให้เด็กๆ ก็เลยตกลงมาสอนประจำที่โรงเรียนนี้ ตอนนี้สอนมาได้ 4 ปีแล้วครับ ผมเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และเป็นหัวหน้างานหลักสูตรการอาชีพ โดยตำแหน่งหลังนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดให้นักเรียนได้เลือกวิชาชีพที่เขาอยากเรียนเสริมไปพร้อมกับหลักสูตรการศึกษาทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 แผน ได้แก่…
“โคยกี๊เป็นภาษาจีนแปลว่าริมน้ำ ตลาดโคยกี๊จึงมีความหมายว่าตลาดริมน้ำ ชื่อของตลาดเก่าแก่เมืองราชบุรี ที่นี่เป็นแหล่งขนส่งสินค้าหลักของเมือง โอ่งมังกรที่ขึ้นชื่อแต่ไหนแต่ไรก็มีการขนส่งผ่านท่าเรือตรงนี้พี่เป็นเจ้าของร้านศรีสำอางค์เฟอร์นิเจอร์ เป็นรุ่นที่ 3 รุ่นแรกคืออาม่าพี่ ท่านอพยพจากเมืองจีนมาปักหลักอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองที่ราชบุรี และเปิดร้านนี้ พี่ยังมีรูปถ่ายของอาม่าตอนสาวๆ ซึ่งท่านถ่ายรูปที่ศาลาท่าเรือแดง เป็นท่าเรือเก่าข้างจวนผู้ว่าฯ ช่วงปี พ.ศ. 2480 เขื่อนกั้นน้ำตอนนั้นยังเป็นเขื่อนดิน และถึงแม้จะมีรถไฟวิ่งแล้ว แต่ก็ยังมีการส่งสินค้าทางเรือกันอยู่ ชุมชนที่พี่อยู่มีชื่อว่าชุมชนคนตลาด…
“ผมขายของที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ก่อนตลาดเก่านี่เป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัดราชบุรี ถนนอัมรินทร์หน้าร้านนี้เป็นน้องๆ เยาวราช ส่วนถนนวรเดชที่อยู่เลียบแม่น้ำด้านหลังนี้ก็คึกคักทั้งวัน เมื่อก่อนใครจะซื้อหาอะไรก็เข้ามาในตลาดนี้ ทั้งจากโพธาราม จอมบึง สวนผึ้ง ดำเนินสะดวก และอื่นๆ ต้องมาที่นี่หมด แต่มายุคหลัง พอมีห้างค้าปลีกมาเปิด และมีตลาดนัดจัดขึ้นตามชานเมืองและต่างอำเภอ ความเจริญกระจายตัว ย่านนี้ก็ค่อยๆ เงียบลงเมื่อก่อนผมขายเสื้อผ้าอย่างเดียว ต่อให้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ก็ยังพอขายได้…
“เราสามคนไม่มีใครเป็นคนราชบุรีเลย แต่ย้ายมาเพื่อรับราชการครูที่นี่ ครูออยอยู่เมืองนี้มา 15 ปี ครูเจี๊ยบอยู่มา 13 ปี ส่วนครูสุรชัยอยู่มา 2 ปี แต่เราทั้งหมดก็หวังจะอยู่ที่นี่จนเกษียณ เพราะชอบเมืองนี้ ชอบวัฒนธรรม ความใกล้ชิดธรรมชาติ และผู้คนที่อัธยาศัยดีเราไม่ได้สอนด้วยกัน ครูออยสอนสังคมและประวัติศาสตร์ ครูเจี๊ยบสอนฟิสิกส์ และครูสุรชัยสอนวิชาดนตรีพื้นบ้าน แต่ที่ได้ร่วมงานกันเพราะเราอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา…
“เราเกิดและโตที่ราชบุรี ก่อนย้ายไปเรียนและทำงานที่อื่นอยู่พักใหญ่ จนโชคชะตาพาให้เราเลือกกลับมาทำงานที่นี่ ก็คิดว่าถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรสักอย่าง นอกจากสิ่งนั้นจะทำให้เราอยู่ได้ ก็ควรต้องสร้างประโยชน์อะไรให้เมืองบ้านเกิดเราด้วย และเพราะแบบนี้ เมื่อราว 6 ปีที่แล้ว เราจึงสร้างโรงแรม ณ เวลา ให้ออกมาโดยสะท้อนความเป็นราชบุรี และอยากให้เป็นเมืองอย่างที่เราอยากเห็น คือ เรามองราชบุรีไม่ใช่เมืองที่แฟนซีหรือหรูหรา แต่เป็นเมืองเรียบง่ายที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ มีความคิดสร้างสรรค์ และเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม…
“ตอนนี้เรียนอยู่มอหก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ค่ะ เราเรียนตั้งแต่มัธยมต้น และได้รู้จักชมรมโบราณคดีซึ่งรับเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมปลาย ความที่เราสนใจประวัติศาสตร์ และเห็นบรรยากาศของรุ่นพี่ในชมรมที่ผูกพันกันเหมือนครอบครัว โดยไม่มีระบบโซตัสด้วย พอขึ้นมอสี่ก็เลยสมัครเข้าชมรมนี้ชมรมนี้มีคนอยากเข้าเยอะ ก็เลยต้องส่งใบสมัครและสัมภาษณ์กัน รุ่นพี่ปีสุดท้ายหรือที่เรียกว่ามาสเตอร์จะเป็นคนคัดเลือกสมาชิกใหม่ อย่างปีนี้หนูเป็นมาสเตอร์ ก็จะเป็นคนคัดเลือกน้องเข้ามาในชมรม ก็ดูที่ทัศนคติ ความสนใจ และความพร้อมอื่นๆ หน้าที่หลักของสมาชิกในชมรมไม่ใช่แค่การเฝ้าพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) แต่สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้ทักษะการทำทะเบียนโบราณวัตถุ…