“เตี่ยผมย้ายจากซัวเถามาอยู่หาดใหญ่ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แกทำงานรับจ้างส่งของตั้งแต่เด็กจนมีเงินเปิดร้านขายของชำที่บ้านหลังนี้ โดยตอนเช้า ด้วยความที่บ้านเราอยู่ในตัวเมือง แม่เลยทำน้ำชาขายด้วย โดยรับพวกอาหารเช้าง่ายๆ อย่างข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวห่อ หรือปาท่องโก๋มาขายกับน้ำชา ก็มีลูกค้าที่เป็นคนในตัวเมืองหาดใหญ่มากินอย่างต่อเนื่อง ราวๆ 20 กว่าปีที่แล้ว ผมเห็นว่าเตี่ยกับแม่มีอายุมาก จากเดิมที่ผมช่วยแกส่งของมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยชวนแฟนมาทำติ่มซำ และให้พวกเขาได้พัก ความคิดเรื่องทำติ่มซำเป็นของแฟน…
“แม้จะอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางย่านธุรกิจของหาดใหญ่ แต่พื้นที่ที่ผมอยู่ก็เป็นชุมชนเมือง ทั้งยังเป็นชุมชนแรกๆ ตั้งแต่มีการตั้งเมืองหาดใหญ่ด้วย ชุมชนเรามีชื่อว่าพระเสน่หามนตรี ตั้งตามชื่อของนายอำเภอคนแรกของหาดใหญ่ ชุมชนพระเสน่หามนตรีเดิมเป็นพื้นที่เดียวกับชุมชนกิมหยงสันติสุข ก่อนจะแยกออกมา และเป็น 1 ใน 103 ชุมชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ในปัจจุบัน พื้นที่เราเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าใหญ่ๆ ของเมืองสามแห่ง ได้แก่ ศูนย์การค้าโอเดียน ลี การ์เด้นส์ และเซ็นทรัลพลาซา…
“ตอนจบมาใหม่ๆ เราทำอาชีพครู แต่ความที่เราชอบทำกิจกรรมและงานภาคสนาม จึงพบว่าครูไม่ตอบโจทย์ชีวิตเราเท่าไหร่ จนมาเจอกับพี่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ - ผู้เรียบเรียง) พี่ชมพู่ก็ชวนมาทำงาน เรารู้จักกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยที่เราทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว จึงตกปากรับคำลูกเหรียงคือชื่อของพืชท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่กว่าจะออกเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี คือต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟูมฟัก แต่เมื่อมันแตกกิ่งก้านสาขาแล้ว ก็จะให้ร่มเงาแผ่กว้าง และเมล็ดพันธุ์ก็พร้อมจะงอกไปยังพื้นที่อื่นๆ…
“เราแค่อยากกลับมาอยู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าจะกลับมาทำอะไร เราเรียนจบศิลปะ (ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ผู้เรียบเรียง) และทำงานสายครีเอทีฟตั้งแต่เรียนจบ ย้อนกลับไปเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เรานึกไม่ออกเลยนะว่าทักษะทางวิชาชีพที่มี จะไปประกอบอาชีพอะไรในยะลาได้เราเริ่มอาชีพใหม่ในบ้านเกิดของตัวเองด้วยการร่วมกับน้องสาวเปิดร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ชื่อ Living Room ที่เลือกทำร้านก็เพราะเราทั้งสองคนชอบทำอาหาร และเห็นว่ายะลายังไม่มีร้านที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยแบบนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นรูปแบบหนึ่งของงานครีเอทีฟที่เราถนัดด้วยเช่นกัน ทั้งการทำสไตล์ลิ่ง การออกแบบเมนูอาหาร…
“เมื่อก่อนถนนรวมมิตร ที่ตั้งของร้านกาแฟผม เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจของเมืองยะลา มีโชว์รูมร้านค้ามาเปิดเยอะ พลุกพล่านแทบทั้งวัน กระทั่งมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2547 ผู้ประกอบการก็พากันย้ายหนีไปที่อื่นเกือบหมด แม้หลายปีผ่านไป สถานการณ์คลี่คลาย ถนนที่อยู่ในตัวเมืองสายนี้ก็เงียบลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังเรียนจบและไปฝึกประสบการณ์ทำกาแฟในร้านที่ผมหุ้นกับเพื่อนที่ปัตตานีมาหนึ่งปี ผมก็คิดถึงการกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟที่ยะลา เพราะตอนนั้นยะลายังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบ specialty ขณะที่คนดื่มกาแฟหลายคนก็เริ่มมองหาร้านแบบนี้ จนมาเจออาคารให้เช่าบนถนนรวมมิตรนี่แหละ ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มมีผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าบนถนนสายนี้บ้างแล้วหลังจากซบเซามานาน เกรโช (Gratio)…
“แม่ผมเป็นช่างเย็บผ้า จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างซนและไปกวนแม่ตอนทำงาน แม่เลยเอาสมุดวาดเขียนและดินสอสีมาให้ผมวาดรูประหว่างรอแม่ กลายเป็นว่าผมชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กตอนแรกอยากเรียนสถาปัตย์ครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วว่าทำไม พอจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เลยเลือกเรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - ผู้เรียบเรียง) แทน ที่เลือกสาขานี้เพราะเหมือนเราสามารถประยุกต์ทักษะทางศิลปะที่เราชอบให้เป็นอาชีพอันหลากหลายได้ โดยระหว่างเรียนผมก็พบตัวเองว่าน่าจะจบไปทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ ตอนทำโปรเจกต์เรียนจบ…
“ความที่ยะลาเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่กลับมีสถาบันการศึกษาที่ครบในทุกระดับและทุกระบบ รวมถึงเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ TK Park ในระดับภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทยด้วย สิ่งนี้เป็นต้นทุนที่ดีมากๆ ในการส่งเสริมการศึกษาท่านนายกเทศมนตรี (พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) มักจะบอกกับทุกคนเสมอว่า ยะลาคือตักศิลาของการศึกษาทางภาคใต้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องเกินเลยแต่อย่างใด เพราะถ้าเทียบกับหาดใหญ่ที่เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า และมีสถาบันอุดมศึกษาที่มากกว่า แต่หาดใหญ่ก็ไม่มีสถาบันที่หลากหลายเท่ายะลา เรามีตั้งแต่โรงเรียนตำรวจไปจนถึงมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติตั้งอยู่ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นเมืองที่มีการจัดการศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมในระดับท้องถิ่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในส่วนของเทศบาลนครยะลา เราค่อนข้างมีอิสระในการจัดการศึกษาด้วยตัวเอง…
“แม้จังหวัดยะลาจะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ก็กลับมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจตั้งแต่พื้นที่เมือง ท้องไร่สำหรับทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำ ผืนป่า และภูเขา ทั้งนี้ยะลายังต่างจากสามจังหวัดในชายแดนใต้ที่ต่างมีป่าเขตร้อนชื้นมลายูเหมือนกัน คือยะลามีผืนป่าฮาลาบาลา ที่มีเขตภูเขาฮาลาเป็นภูเขาสูง เป็นป่ามลายูบนพื้นที่สูงแห่งเดียว และเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากอย่างนกไต่ไม้สีน้ำเงิน นกแว่นภูเขา และอื่นๆ ซึ่งมีให้ดูที่นี่ที่เดียวในไทย ภูมิศาสตร์ที่หลากหลายเช่นนี้นำมาซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และองค์ความรู้มากมายมหาศาลที่เกี่ยวเนื่องกัน พวกเราจึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าองค์ความรู้เหล่านี้มันไม่ถูกเผยแพร่ ได้ทำให้เยาวชนในยะลาตระหนักถึงคุณค่าอันนำมาซึ่งการอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นทุนในการพัฒนาเมืองของเราต่อไป…
“พี่เป็นคนนครศรีธรรมราช มีโอกาสมาเยือนยะลาครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน ชอบความที่เมืองไม่เอะอะวุ่นวาย ผู้คนเป็นมิตร อากาศดี มีสวนสาธารณะที่ร่มรื่น และผังเมืองที่สวยมาก เลยคิดว่ายังไงเสียเราจะต้องสอบบรรจุเป็นข้าราชการที่นี่ให้ได้ ปัจจุบันพี่เป็นผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครยะลา หน้าที่หลักคือทำแผนยุทธศาสตร์ของเมือง นำนโยบายของผู้บริหารแปลงออกมาเป็นงานปฏิบัติการ ดูเรื่องการจัดสรรงบประมาณ แผนประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศของเทศบาล เทศบาลนครยะลาเรามีพื้นที่การเรียนรู้หลักๆ คือ TK Park Yala…
“ก่อนหน้านี้เรากับสามีเป็นวิศวกรอยู่กรุงเทพฯ พอเราคลอดลูก ความที่ไม่อยากรบกวนพ่อแม่ให้ขึ้นมาช่วยเลี้ยง และเราก็ไม่ไว้ใจสถานรับเลี้ยงเด็กในยุคนั้น จึงตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อกลับบ้านที่ปักษ์ใต้มาเลี้ยงลูก เราอยู่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ครอบครัวเราทำธุรกิจโรงพิมพ์ ตอนนั้นลูกยังเล็ก ก็พอช่วยงานครอบครัวเล็กๆ น้อยๆ อยู่พักใหญ่ จนมีอยู่วันหนึ่ง ป้าฝากให้เราขับรถมาส่งของที่ร้านดอกไม้ในตัวเมือง เราเห็นดอกไม้สวยดี ก็เลยซื้อกลับมาสองห่อ กะจะเอาไปขายปลีกที่บ้าน ปรากฏว่าขายวันเดียวหมด เลยขับรถกลับไปซื้อมาขายใหม่…