“ผมเกิดที่ยะลา เรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจนถึง ม.6 แล้วไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่อื่น สมัยที่ผมเรียนที่นี่ ชั้นเรียนของผมครึ่งหนึ่งเป็นคนพุทธ อีกครึ่งเป็นคนมุสลิม แต่เราเป็นเพื่อนกันหมด หรือกระทั่งครอบครัวผมที่เป็นคนเชื้อสายจีน ยายและแม่ของผมก็ค้าขายกับคนมุสลิมจนสนิทสนมเป็นเพื่อนฝูงกันมาตลอด แต่ไหนแต่ไร คนยะลาอยู่มาแบบนี้ กระทั่งวันหนึ่งจู่ๆ ทั้งรัฐและสื่อต่างๆ ก็มาบอกว่าเราไม่เหมือนกัน จากนั้นเหตุการณ์ความไม่สงบช่วงปี 2547 ก็มาซ้ำสถานการณ์ ช่องว่างของความแตกต่างจึงถูกถ่างออกไปใหญ่ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ยะลา…
“ส่วนบริหารการศึกษา สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กำลังอยู่ระหว่างจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องราวท้องถิ่นของเมืองยะลา เพราะเราคิดว่าการทำให้คนยะลารู้จักประวัติศาสตร์และที่มาของบ้านเกิดตัวเองได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากการปูพื้นที่การศึกษาในห้องเรียนตั้งแต่เด็กก่อนหน้านี้เรามีการบรรจุวิชาท้องถิ่นเมืองยะลาไว้อยู่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลอยู่แล้ว เพียงแต่เรายังไม่มีตำราเรียนใช้อย่างเป็นทางการที่สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้อ่าน ทั้งนี้ การที่เทศบาลนครยะลาได้ร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดงาน ‘ยะลาสตอรี่’ ซึ่งมีรูปแบบการเล่าเรื่องเมืองยะลาอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย ก็มีส่วนสำคัญทำให้ทางเรากลับมาปรับปรุงหลักสูตรการสอนเรื่องท้องถิ่นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันของคนรุ่นใหม่ เพราะเราต้องบอกนักเรียนให้ได้ก่อนว่าเราจะเรียนรู้เรื่องเมืองของเราไปทำไม เรียนเพื่อได้รู้จักตัวเอง รู้จักบ้านเกิดของเราเอง และรู้จักที่จะใช้ต้นทุนตรงนี้มาพัฒนาเมืองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราเอง จากนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่บทเรียนเรื่องท้องถิ่นมีความสนุกสนานหรือเพลิดเพลิน เพราะสิ่งนี้จะทำให้การศึกษาเข้าถึงนักเรียนได้มากที่สุด หลังจากปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียนการสอนอันนี้…
“พ่อแม่ผมเป็นคนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ผมเกิดที่นั่น ก่อนที่พ่อและแม่ตัดสินใจย้ายกลับมาเปิดร้านอาหารที่เมืองยะลาตอนผมอายุ 2 ขวบร้านอาหารที่ยะลาของครอบครัวตั้งอยู่บนถนนสายหลักที่เชื่อมไปยังจังหวัดปัตตานีและหาดใหญ่ พอผมจำความได้ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ก็เริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งถนนหน้าบ้านผมนี่มีการวางระเบิดกันบ่อย เพราะมันเป็นเหมือนเส้นเลือดหลัก บ่อยขนาดที่ว่าคนแถวนั้นได้ยินเสียงระเบิดจนชิน เป็นความเคยชินที่ชวนหดหู่นะครับ ช่วงที่ผมโตมานี่ยอมรับว่ายะลาไม่น่าอยู่เลย แต่ละวันดำเนินไปด้วยความหวาดระแวง ขณะเดียวกันบรรยากาศในเมืองมันก็เหมือนถูกประโคมด้วยความแตกแยกทางวัฒนธรรม การที่คุณเป็นคนมุสลิมเข้าไปในบางชุมชนก็จะได้ความรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจในชุมชนนั้น เช่นเดียวกับที่คุณเป็นคนพุทธ และเข้ามาในชุมชนมุสลิมก็จะเจอความรู้สึกคล้ายๆ กันอย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ว่านี้มันกลับไม่เกิดในโรงเรียนที่ผมเรียนอยู่ ทุกคนไม่ว่าคุณจะนับถืออะไรก็ล้วนเป็นเพื่อนกัน…
“ยะลาเป็นเมืองตักศิลาของการศึกษา เราเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาในระดับภูมิภาคที่มีสถาบันการศึกษาในทุกระดับ ขนาดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคใต้ตอนล่าง ก็ยังตั้งอยู่ที่นี่ ผมตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และนั่นทำให้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานในเทศบาลนครยะลา จึงมีวิสัยทัศน์อันเด่นชัด โดยวาง motto ไว้ว่า ‘สร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่มวลชน’ และเพราะเหตุนี้ เทศบาลนครยะลาจึงให้ความสำคัญกับพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ เพราะเราเห็นว่าพื้นที่ของการใช้ชีวิตและพื้นที่ของการเรียนรู้คือพื้นที่เดียวกัน เรามีอุทยานการเรียนรู้ TK Park…
“ผมเป็นคนอำเภอยะรัง เรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ ม.อ. ปัตตานี ช่วงที่เรียนผมมีความฝันอยากทำภาพยนตร์ และสนใจบอกเล่าวัฒนธรรมร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เลยรวมเพื่อนทั้งหมด 5 คน ตั้งกลุ่มทำหนังสารคดีประกวดของโครงการ Deep South Young Film Maker เรื่องแรกที่เราทำด้วยกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักดนตรีสามรุ่นในสังคมมุสลิมของสามจังหวัด ตอนส่งประกวด กรรมการเขาก็ให้ตั้งชื่อกลุ่ม คุยกันอยู่สักพัก แล้วมาลงเอยที่ชื่อ…
“ถามว่าเด็กยะลาขาดอะไร มองในภาพรวม ผมว่าคงจะตอบยาก เพราะเอาจริงๆ เด็กยะลามีต้นทุนที่ดีกว่าเด็กในเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองมากกว่า ผมไม่ได้เกิดที่ยะลา แต่เริ่มต้นชีวิตราชการครั้งแรกที่นี่ โดยระหว่างนั้นก็มีโอกาสย้ายไปทำงานและใช้ชีวิตที่อื่นอยู่พักใหญ่ ก่อนกลับมาประจำที่เมืองแห่งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวิถีชีวิตและสาธารณูปโภคของเมืองอื่นๆ ที่ผมไปเจอมา ผมกล้าพูดว่าถ้ามองเรื่องต้นทุน เด็กยะลากินขาด ในเขตเทศบาลนครยะลาเรามีครบทั้งสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกระดับ มีสนามกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งในสวนและพื้นที่ริมแม่น้ำ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ…
“ย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ. 2547 ยะลาเคยเป็นเมืองที่น่ารักและน่าอยู่มากๆ จำได้ว่าผู้คนไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือศาสนาอะไรก็ล้วนเป็นมิตร คนในชุมชนรู้จักและเข้าถึงกัน บางคนต่างศาสนาแต่กินข้าวโต๊ะเดียวกันก็มีให้เห็นบ่อย แต่พอมีเหตุการณ์ความไม่สงบเท่านั้นแหละ ทุกอย่างเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ พอเกิดความรุนแรง ผู้คนก็หวาดระแวงกัน แถมยังมีกระแสว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ในชุมชน จากที่เคยไปมาหาสู่กัน เราก็ค่อยๆ ถอยห่างคนที่อยู่ต่างศาสนา พอมีคนต่างถิ่นหรือคนแปลกหน้าเข้ามา จากที่เราเคยยิ้มแย้มต้อนรับ ก็กลายเป็นความตึงเครียดไม่ไว้วางใจ และพอไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงตรงไหนหรือเวลาไหน กิจกรรมในเมืองก็ถูกระงับหมด…
“เราเติบโตมาในสังคมมุสลิม เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางบรรยากาศที่ค่อนข้างเคร่งครัด ขัดแย้งกับตัวตนที่เป็น LGBT ของเรา ตอนเป็นวัยรุ่นเราคิดมาตลอดว่าสิ่งที่เราเป็นคือปมด้อย เราก็พยายามกลบปมด้อยด้วยการตั้งใจเรียน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปสอบแข่งขันที่นั่นที่นี่ และทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้ เป็นความเคยชินในวัยเด็กที่ดูตลกร้ายมากๆ จนได้มารู้จักพี่บอล (เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์) ในช่วงที่เราเรียนมหาวิทยาลัยนี่แหละ ที่ทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง พี่บอลเป็นเหมือนแม่ที่คอยให้กำลังใจลูกสาวอย่างพวกเราทุกคนไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาอะไร…
“ปี 2558 ผมเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำเนื้อหานิทรรศการที่ TK Park ยะลา และมีโอกาสได้จัดนิทรรศการผ้าพื้นถิ่นภาคใต้ชื่อว่า ‘นุ่ง ห่ม พัน วิถีแดนใต้’ โดยนำผ้าโบราณจากภาคใต้ขึ้นไปจัดแสดงที่กรุงเทพฯ งานค่อนข้างใหญ่ และมีนักสะสมผ้าจากทั่วสารทิศมารับชมนิทรรศการนี้จุดประกายให้ผมสนใจศึกษาเรื่องผ้าพื้นถิ่นในเชิงลึกอย่างมาก ขณะเดียวกัน ระหว่างที่จัดงาน ก็มีกูรูเรื่องผ้าคนหนึ่งมาทักว่ามีข้อมูลในงานจุดหนึ่งคลาดเคลื่อน ข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับผ้าเปอลางี ซึ่งเป็นเทคนิคการทำผ้ามัดย้อมชนิดหนึ่งในวัฒนธรรมมลายู ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นปมในใจผมมาก…
“เริ่มจากอาของผมที่เป็นนายช่างเขียนคัทเอาท์ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตในอำเภอสุไหงโกลก ตอนนั้นผมเรียน ม.1 เรียนได้ครึ่งเทอม เห็นว่าที่บ้านไม่ค่อยมีเงินส่งผมเรียนแล้ว จึงลาออก และขอตามไปอยู่กับอา ไปให้อาฝึกเขียนรูปให้ หวังทำเป็นอาชีพผมไม่มีทักษะทางศิลปะเลย ก็เริ่มจากไปช่วยอาเตรียมเฟรมวาดรูป กวนสี และล้างพู่กันให้ ระหว่างที่อาเขียนรูป ผมก็ดูวิธีการทำงานของเขาแทบไม่กะพริบตา ทำแบบนี้อยู่สองปี จนรู้แล้วว่าจะวาดเส้น ลงสี หรือลงน้ำหนักพู่กันอย่างไร อาก็ให้ผมลองลงมือเขียน ที่โรงหนังเฉลิมเขตจะมีช่างใหญ่ซึ่งก็คืออาผมหนึ่งคน…