“เราเริ่มสนใจประเด็นการพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง คือราวปี 2553 ตอนเป็นประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสาน คือก่อนหน้านี้เราทำรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และเป็นอาจารย์สอนด้านการสื่อสาร แต่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องประเด็นเมืองนัก เพราะขอนแก่นมีคนทำเรื่องนี้เยอะอยู่แล้ว แต่พอมาทำงานด้านการประสานงานกิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสารที่โฟกัสไปที่เด็กและเยาวชน จึงทำให้เรากลับมาคิดถึงพื้นที่ส่งเสริมสิ่งนี้ในเมือง อีกอย่างคือ เราก็มีลูกด้วย ก็อยากให้ลูกเข้าถึงพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ในเมือง เลยคิดว่าน่าจะใช้บทบาทของเราขับเคลื่อนพื้นที่เหล่านี้ได้ ขอนแก่นมีต้นทุนที่ดีตรงที่มีห้องสมุดเด็กสวนดอกคูนอยู่ตรงบึงแก่นนคร ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่นเขาจ้างให้มูลนิธิไทยสร้างสรรค์ทำไว้ และความที่เราชอบพาลูกไปใช้พื้นที่บ่อยๆ ก็เลยได้ร่วมเป็นภาคีจัดกิจกรรมกับเขา ช่วงที่เรามาเป็นประธานสโมสรฯ ก็ทำให้เรารู้สึกว่า…
“ถึงขอนแก่นจะเป็นเมืองที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของอีสาน แต่เมืองก็กลับมีมุมมืดอยู่ไม่น้อย มุมมืดที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ การเข้าไม่ถึงโอกาส ไปจนถึงสภาพแวดล้อมของชุมชนแออัดหลายจุด ซึ่งทำให้เด็กหลายๆ คนหลุดออกจากระบบการศึกษา ไปจนถึงเลือกเดินทางผิด อย่างสมัยก่อนชุมชนที่ผมอยู่เป็นชุมชนเปลี่ยวๆ และอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีวัยรุ่นมาซ่องสุมกันมาก ผมก็พบว่ามีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันหลายคนที่หันไปหารายได้พิเศษด้วยการเดินยาเสพติด ผมก็ยังได้รับการชักชวนด้วย อย่างไรก็ตาม ผมโชคดีที่โรงเรียนผม เขามีกิจกรรมนอกห้องเรียนให้เลือกหลากหลาย และมันก็ช่วยดึงความสนใจของผมไปอยู่ที่กิจกรรมเหล่านี้ อย่างผมเข้าร่วมโครงการทูบีนัมเบอร์วัน (TO BE…
“โครงการขนส่งมวลชนรถไฟรางเบาขอนแก่น (LRT) เป็นหนึ่งในโครงการสมาร์ทซิตี้ในส่วนของสมาร์ทโมบิลิตี้ (smart mobility) เราเริ่มคุยกันจริงจัง ตอนที่ผมดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยมีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม รวมถึงสถาบันการศึกษาในเมือง มาหารือกันว่าเราต้องการขนส่งมวลชนแบบไหนที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เมืองเราได้และแนวคิดเรื่องการทำระบบรางก็เริ่มขึ้นจากตรงนั้น อย่างไรก็ดี โมเดลนี้ก็แตกต่างจากโมเดลด้านขนส่งมวลชนอื่นๆ ตรงที่มันต้องเป็นโครงการที่บริหารจัดการและลงทุนโดยท้องถิ่นเอง…
“ผมเกิดที่ขอนแก่น มีโอกาสไปเรียนที่กรุงเทพ และเคยเข้าไปช่วยงาน ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยนายกฯ ชวน ตอนนั้นเมืองไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบ Fixed พอโดนโจมตีก็กลายเป็นแบบลอยตัว ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องที่ผมสนใจอยากช่วยแก้ไข เลยไปต่อเรียนต่อที่อเมริกาด้าน Risk Management Financial Engineering ตอนแรกก็คิดอยู่ว่าจะไปทำงานที่แบงค์ชาติ แต่คุณพ่อชวนให้กลับมาช่วยทำ…
“ผมจบด้านภาพยนตร์และทำงานด้านนี้ต่อที่กรุงเทพฯ พักหนึ่ง กระทั่งราวๆ 8 ปีก่อน พ่อป่วย เลยกลับขอนแก่นมาดูแลท่าน และก็ไม่รู้สึกอยากกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ อีกแล้ว จึงมาทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่นี่ และอยู่ไปสักพักจนปี 2561 ก็เปิด Hidden Town ในย่านถนนศรีจันทร์ ตอนแรกตั้งใจให้เป็นค็อกเทลบาร์ แล้วก็ปรับมาเป็นบาร์แจ๊ส (jazz bar)…
“ผมเป็นผู้รับเหมามาก่อน ทำได้พักใหญ่ๆ ก็กลับมาสานต่อธุรกิจของแม่ที่แก่งคอย เป็นรุ่นสอง ร้านทองร้านนี้เริ่มโดยคุณแม่ แม่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในแก่งคอย ตอนเด็กๆ แกเคยเล่าให้ฟังว่ายังวิ่งหนีลูกระเบิดอยู่เลย หลังสงครามโลกสิ้นสุด ผู้คนที่รอดชีวิตในสมัยนั้นก็มาเริ่มธุรกิจจากศูนย์กันใหม่ๆ แม่ก็เริ่มทำงานหลากหลายจนได้มาเปิดร้านทอง ลูกค้าหลักๆ คือคนแก่งคอยและอำเภอใกล้เคียง ทั้งผู้ประกอบการในตลาด ข้าราชการ รวมถึงคนทำงานโรงงานรอบๆ ผมก็จะไปเลือกทองคำรูปพรรณจากร้านขายส่งที่เยาวราช พิจารณาจากความนิยมของคนที่นี่ และนำมาวางขายที่ร้านข้อได้เปรียบของการขายทองคือต่อให้เศรษฐกิจแย่ยังไง ถึงกำลังซื้อลดลง…
“กระชายมันชอบขึ้นริมตลิ่ง สังเกตดูที่ดินริมแม่น้ำป่าสัก หมู่ 8 (บ้านช่องใต้ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย) เนี่ย จะมีกระชายขึ้นเองเยอะไปหมด ชาวบ้านแถวนี้เขาก็เก็บส่งขายพ่อค้าคนกลาง เป็นรายได้กันจริงจังจนมีอยู่วันหนึ่งสักสิบกว่าปีที่แล้ว ช่วงนั้นกระชายล้นตลาดและราคามันตก ชาวบ้านเขาก็เก็บกระชายมากองรวมกัน 3-400 กิโลกรัมได้นี่แหละ ปรากฏว่าพ่อค้าคนกลางเขาไม่มารับซื้อ ก็ไม่รู้จะทำยังไงกันดีวันนั้นนั่นแหละที่ป้าเอากระชายที่กองไว้ส่วนหนึ่งกลับบ้าน เอาไปขัดล้างทำความสะอาด ที่บ้านป้ามีเครื่องบดอยู่ตัวหนึ่ง ก็เลยลองบดกระชายและคั้นออกมาเป็นน้ำ…
“พี่เป็นคนอยุธยา แต่สามีเป็นคนแก่งคอย พอแต่งงานกัน ก็เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ มาช่วยสามีทำกระชังปลาที่ตำบลบ้านป่า (พงศ์ศักดิ์แพปลา)สามีพี่ทำแพปลาจนอยู่ตัวและส่งลูกเรียนจนจบหมด พี่ก็เริ่มมีเวลาว่าง เลยชวนแม่บ้านมาตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชนด้วยกัน เพราะเห็นว่าแต่ละคนก็มีทักษะการทำขนม เลยเอาความรู้มาแบ่งปันกัน และทำกลุ่มทำขนมส่งขายตามที่ต่างๆ เราตั้งกลุ่มในปี 2561 มีสมาชิก 47 คน แต่หลักๆ จะมีแม่บ้านหมุนเวียนมาทำขนมราวๆ 6-7 คน…
“พี่ทำบริษัททัวร์มา 30 กว่าปี เรียกได้ว่าเกือบทั้งชีวิต แต่ก่อนนี้ก็เหมือนคนในอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่คือทำเรื่องการท่องเที่ยวจ๋า พาทัวร์ไปดูนั่นนี่ทั้งในและต่างประเทศ ไปกินข้าว ไปช้อปปิ้ง ไปพักผ่อน จนมีอยู่ครั้งหนึ่งที่จู่ๆ เราก็รู้สึกเหมือนที่ไหนก็เหมือนกันหมด พอสถานที่ใดสถานที่หนึ่งถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยว หลายชุมชนก็ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อรองรับกระแสของตลาด สูญเสียอัตลักษณ์ตัวเองไป ตรงนี้มันทำให้พี่ฉุกคิด และค่อยๆ เบนเข็มมาทำงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเต็มตัว ก็เริ่มจากเข้าไปเรียนรู้ชุมชน หาจุดเด่น จุดด้อย…
“สมัยก่อนถ้าเป็นคนที่อื่นมาอยู่สระบุรี จะภาคเหนือหรืออีสาน เขาก็จะเรียกว่าคนลาวหมดครับ พอเมืองสระบุรีเริ่มเติบโตเพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้ง คนจากที่อื่นก็ย้ายมาทำงานที่นี่กันเยอะอย่างตลาดที่ผมขายของอยู่ทุกวันนี้ในเทศบาลเมืองแก่งคอย ก็เป็นตลาดที่ขยายมาจากตลาดเทศบาลฝั่งตรงข้าม ก็มีพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่มาตั้งแผงขายบนถนน จนเทศบาลเขาก็ผ่อนผันให้เป็นตลาดชั่วคราว โดยให้ขายแค่ช่วงเย็น ความที่คนต่างถิ่นมาขายตรงนี้เยอะ เลยเรียกต่อๆ กันว่าตลาดลาวมาจนถึงวันนี้ ก่อนหน้านี้ ผมทำงานบริษัทบริษัทผลิตสุขภัณฑ์ของแบรนด์ต่างประเทศที่มาเปิดโรงงานในแก่งคอย ผมเจอแฟนที่บริษัท แม่ของแฟนขายขนมไทยอยู่ตลาดลาวนี่ ขายมา 50 ปีแล้ว มีขนมชั้น…