“ร้านแนบเคหาสน์เปิดเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 เปิดเย้ยโควิดเลย เปิดแล้วก็คนแน่นทั้งเดือนเพราะร้านอื่นปิดหมด ที่ผมทำร้านนี้เพราะหัวหินไม่มีสภากาแฟให้นั่งเลย คิดว่าบ้านตัวเอง เท็กซ์เจอร์ได้อยู่แล้ว ตัวร้านอายุประมาณ 120 ปี ตัวเรือนไทยด้านหลังบ้านประมาณ 140 ปีแล้ว คือบ้านหลังนี้เดิมตั้งอยู่ที่ตลาดดอนมะขาม ตรงห้าแยก ทางลงศาลเจ้าแถวโรงแรมฮิลตัน แล้วพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรมาขอซื้อที่ที่บ้าน…
“สาธารณสุขมีหน้าที่ทำให้คนแข็งแรง ส่งเสริมป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยเร็ว ไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่รักษาและฟื้นฟู หรือไปโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด หรือไปโรงพยาบาลโดยไม่ต้องเจ็บป่วย เปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นแหล่งเรียนรู้ #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเอง เราอยากให้เขามี Health Literacy ให้รู้จักการดูแลตัวเอง พึ่งตัวเอง เราคิดว่าวิธีคิดของคนน่ะสำคัญ กรอบงานวิจัยนี้คือเปลี่ยนวิธีคิด แล้วเบื้องหลังที่ฉุกให้คนคิดทำอะไรคือสำนึกร่วม ชวนคุย ชวนคิด ชวนเปิดพื้นที่…
“ตอนผมเป็นเด็กอายุประมาณ 7 ขวบ ตอนเช้าหลวงปู่สุวรรณ วัดวิเวกสันติธรรม หัวหิน จะมาปลุก ไปหิ้วปิ่นโตหลวงปู่ออกบิณฑบาต แล้ววันหนึ่งผมไปเจอคุณตามุ้ย ประคำทอง ช่างต่อเรือฉลอมจิ๋ว ท่านนั่งทำเรือฉลอมอยู่ ราคาเรือฉลอมจิ๋วของท่านลำละตั้ง 700 บาท สมัยนั้นข้าวสารถังละ 20 บาทนะ ตอนนั้นก็ดูๆ ไม่ได้สนใจอะไร…
“ชมรมนาฏศิลป์หัวหินเริ่มต้นจากกิจกรรม “รำฟ้อนหน้าบ้านพ่อ” ตอนในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เทศบาลเมืองหัวหินประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาร่วมจุดเทียนรำถวายหน้าวังไกลกังวล ช่วงนั้นครูยังสอนคณิตศาสตร์อยู่โรงเรียนหัวหิน เทศบาลฯ มอบหมายให้ครูเป็นคนสอนรำให้ชาวบ้านที่มาร่วมรำประมาณ 1,500 คน เราเลยคิดว่าทำยังไงจะได้ประสานความสัมพันธ์นี้ต่อเนื่องไป 50 วัน 100 วัน จนถวายพระเพลิง อยากให้วัฒนธรรมไทยนี้ยั่งยืนเลยจัดตั้งเป็นชมรม และวิสาหกิจชุมชนศูนย์นาฏศิลป์เมืองหัวหิน…
หัวหิน เมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองแห่งความสุข ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยหัวหน้าชุดโครงการ ดร.ศิวัช บุญเกิด มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญจา ชูช่วย เป็นหัวหน้าโครงการย่อย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย” และอาจารย์อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ หัวหน้าโครงการย่อย “การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้…
“ผมเป็นหนึ่งในคณะนักวิจัยโครงการการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน บทบาทผมคือพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัย อบรมพัฒนาความรู้พื้นฐานให้บุคลากรในชุมชนสามารถเป็นคนที่นำเรื่องราว สินค้า หรือบริการ มาเล่า เพื่อให้เกิดมูลค่า พอเขามีความรู้แล้ว เราก็อยากเป็นต้นแบบของชุมชนที่ใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง คือชุมชนอาจจะขายผ่านลาซาด้า เดลิเวอรี ช้อปปี้ หรือสื่อต่างๆ ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งเขาก็บ่นว่าไม่เหลืออะไร…
“หัวหินเมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นดอนทราย ไม่มีคนอยู่ ยังไม่มีคำว่า “หัวหิน” เลย แล้วทางเพชรบุรีทำมาหากินไม่ค่อยดี ทางนี้ที่เยอะ เขาเลยพากันย้ายลงมาอยู่แถวนี้ สมัยนั้นเรียกกันว่า “บ้านสมอเรียง” มาจากคำว่าถมอเรียง ภาษาขอมแปลว่าหินหรือศิลาเรียงกัน พอน้ำทะเลลด มองไปชายทะเล จะเห็นหินเป็นก้อนๆ เรียงๆ ต่อกันเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล เลยเรียกกันว่า “แหลมหิน”…
“พวกเราเป็นกลุ่มช่างตัดผมชายมีอยู่ทั่วประเทศไทย เราเริ่มโครงการคนดีจิตอาสา ตัดผมฟรี ทำดีเพื่อพ่อร.๙ ได้ทำกิจกรรมจิตอาสาตัดผมฟรีให้คนที่มาร่วมถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท้องสนามหลวง แล้วผมก็สานต่อกิจกรรมตรงนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างวันนี้ที่เรามาทำกิจกรรมออกหน่วยให้กับประชาชนชาวหัวหินและบุคคลทั่วไปที่หน้าสถานีรถไฟหัวหิน ผมก็จะลงในเพจพลเมืองหัวหินนะครับ บางคนเขาตามเรา ถ้าอาจารย์ป้อมมา จะมารอเลย เอาน้ำ ขนมมาให้เวลาเราทำงาน เรามีรอบออกหน่วยบริการตัดผมฟรีอาทิตย์ละ 4 วัน วันจันทร์ อังคาร…
"ตะโก้เสวยคือเราทำเป็นชิ้นเล็กในกระทงใบเตย กินคำเดียว แล้วก็เพราะมีคนจากในวังมาซื้อ ตอนหลังก็กลับมาซื้อประจำ เวลาในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล ทรงโปรดให้ขึ้นโต๊ะเสวย พอมาสั่ง เขาก็จะบอกว่า "ขึ้นที่" เราก็รู้ละ เวลาทำตะโก้เข้าวัง เราไม่ใช้แม็กติดกระทง ไม่กลัด ต้องเลือกใบเตยแข็งๆ เอามาพับให้กระทงอยู่ตัว สมเด็จฟ้าหญิงเพชรรัตน์ (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ…
“ผมปั่นสามล้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ตอนอายุ 17 สมัยนั้นไม่มีรถอะไร มีแต่สามล้ออย่างเดียว ตอนนั้นคล้ายๆ ว่าเราก็ทำสนุกๆ งั้นแหละ ไม่ได้คิดเป็นอาชีพจริงจัง ก็ทำๆ หยุดๆ มาจริงจังช่วงหลังนี้ 40 ปีละ รถก็ซื้อมาตั้งแต่แรกเริ่ม ถูก คันละ 5-600…