“Learning City เป็นโครงการที่เทศบาลเมืองหัวหินให้ความสำคัญเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย เพราะเราต้องการสร้างหัวหินเป็น Learning Community เป็นสังคมแห่งการตระหนักรู้ รู้เท่าทัน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรเราใช้โมเดลนี้ในการแก้ปัญหาได้ ทีนี้การที่เราไปตั้งต้นที่พูลสุขเพราะเป็นชุมชนในเขตเทศบาลฯ ที่มีความเก่าแก่ มีจุดเด่นเรื่องวัฒนธรรม ความเป็นท้องถิ่น เพราะเป็นคนดั้งเดิมของหัวหิน แล้วประธานชุมชนตอนนั้นอายุน่าจะ 90 ปี ปัญหาอุปสรรคที่ดำเนินโครงการ คืออายุของผู้ที่เราไปสัมภาษณ์…
“ผมชอบดื่มกาแฟ นั่งทำงาน และพักผ่อนที่ร้านกาแฟอยู่แล้ว ก่อนเรียนจบ จึงมีความตั้งใจจะเปิดร้านกาแฟที่เมืองนคร เพราะตอนนั้นในตัวเมืองยังมีร้านกาแฟที่เป็นร้านแบบจริงจังไม่เยอะ แต่ครอบครัวก็ท้วง อยากให้ผมใช้เวลาทบทวนมากกว่านี้ ผมก็รับฟังโดยเลือกเรียนปริญญาโทที่กรุงเทพฯ ต่อ จนพอเรียนจบ ผมก็ไม่คิดจะทำอย่างอื่นเลย นอกจากกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟ Glur House คือร้านกาแฟเล็กๆ ที่ถอดมาจากความชอบส่วนตัวของผม เช้าและกลางวันขายกาแฟ ส่วนตอนเย็นในวันศุกร์และเสาร์เปิดเป็นบาร์ และความที่ผมชอบเล่นสเก็ตบอร์ด…
“เราเกิดและเติบโตที่ปากพูน ครอบครัวทำร้านขายของชำและร้านน้ำชาอยู่ในชุมชน ช่วงก่อนเรียนจบ เรามีโอกาสช่วยอาจารย์มานะ (ผศ.มานะ ขุนวีช่วย) ทำโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ในตำบลปากพูน เรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนแม้เราเป็นคนปากพูนเอง เราก็ไม่เคยรู้มาก่อน คือมารู้ตอนทำวิจัยนี่แหละค่ะว่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่หมู่บ้านเราเลยคือปกติ คนปากพูนจะทราบกันเรื่องยกพลขึ้นบก แต่จะรู้แค่ว่ามีเหตุการณ์เกิดที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อจ่าดำในค่ายวชิราวุธ ใกล้ๆ ตลาดท่าแพ (อนุสาวรีย์พ่อจ่าดำ หรืออนุสาวรีย์วีรไทย สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2…
“พื้นเพผมเป็นคนสมุทรสาคร ได้ภรรยาเป็นคนปากพูน เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ และความที่พ่อตาทำสวนมะพร้าว เลยรับกิจการทำสวนมะพร้าวต่อมา ก่อนหน้านี้ผมเป็นช่างก่อสร้าง จึงไม่มีปัญหากับการทำงานบนที่สูงอย่างการปีนต้นมะพร้าว ชุมชนที่ผมอยู่นี่มีการทำสวนมะพร้าวส่งต่อมาหลายรุ่น จะมีทั้งเก็บผลขาย ไม่ก็ทำน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งสวนของผมนี่ทำน้ำตาลมะพร้าวอย่างเดียว ทำมายี่สิบกว่าปีแล้ว ผมมีสวนอยู่ 7 ไร่ เป็นมะพร้าวน้ำตาล ลำต้นไม่สูง ใช้บันไดปีนเก็บได้เลย น้ำตาลสดนี่ได้จากช่อดอก ผมจะปีนขึ้นไปปาดตาลและหาถังไปรองน้ำตาลจากช่อดอก…
“เนื่องจากแต่เดิมเรามีอาชีพเป็น product specialist ของบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ จึงมีโอกาสได้ไปเห็นหลายเมืองทั่วประเทศ จากหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปสอนลูกค้าใช้เครื่องมืออยู่เสมอ ซึ่งจากที่ได้ไปเห็นมาทั้งหมด เราพบว่านครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่เราอยากใช้ชีวิตอยู่มากที่สุด ชอบหลายอย่างเลยค่ะ ทั้งภูเขา ทะเล อาหารการกิน ความเป็นเมืองที่ยังคงมีเสน่ห์แบบชนบท รวมถึงอุปนิสัยของคนท้องถิ่นที่เป็นมิตรและตรงไปตรงมา และนั่นทำให้แม้เราจะไม่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานที่นคร แต่ถ้าเรามีวันหยุด เราจึงเลือกมาใช้เวลาพักผ่อนที่เมืองแห่งนี้ เรามีความฝันมาตลอดว่าอยากเปิดร้านกาแฟ ประกอบกับที่เราอิ่มตัวกับงานประจำ ก็เลยคิดว่างั้นมาเปิดที่เมืองที่เราอยากมาใช้ชีวิตอยู่อย่างนครแล้วกัน…
“กลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลปากพูนเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของบทเรียนที่ว่า หากทุกคนหันหน้าเข้าหากัน และคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ต่อให้มีวิกฤต เราก็จะเจอโอกาส ผมเข้ารับราชการประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2561 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ทางตำบลปากพูน และอีกหลายชุมชนที่ทำประมงพื้นบ้านในจังหวัด ประสบปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำขาดแคลนจากการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายเลยมีการรณรงค์ให้เลิกทั้งหมด โดยทางหมู่ 4 ตำบลปากพูน ที่เป็นชุมชนเลียบคลองที่เชื่อมไปถึงปากอ่าวปากพูน เป็นตัวตั้งตัวตีในการยกเลิกอย่างจริงจัง จำได้เลยว่าช่วงสามเดือนแรก ชาวประมงที่นี่เขาก็แทบจะยอมแพ้กัน จนเข้าเดือนที่ 4 เท่านั้นแหละ…
“ผู้ใหญ่เกิดที่ปากพูนเลยค่ะ ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิก อบต.ปากพูน เราผูกพันกับพื้นที่ เข้าใจปัญหา และคิดว่าด้วยหน้าที่การงานเรามีส่วนพัฒนาบ้านเกิดเราได้ จนตำแหน่งใน อบต. หมดวาระลง เลยสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 เพราะคิดว่าในระดับหมู่บ้าน เราดูแลลูกบ้านเราได้ และก็มีอิสระในการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดเรา ตอนนี้ทำมา 13 ปีแล้ว ปีนี้เข้าปีที่ 14 หมู่…
“การอพยพแบบเทครัวคือการโยกย้ายถิ่นฐานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในลักษณะของการที่ผู้คนโยกย้ายไปทั้งครอบครัวหรือทั้งชุมชน ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีการอพยพรูปแบบนี้นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงศึกสงคราม เช่นที่ครั้งหนึ่งกองทัพนครศรีธรรมราชไปทำสงครามกับรัฐไทรบุรี และก็ได้นำเชลยศึกจากไทรบุรีกลับมาด้วยอย่างไรก็ดี ในตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีการอพยพแบบเทครัวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชุมชน นั่นคือราวทศวรรษ 2470 ที่ชาวบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ล่องเรือลงใต้มาขึ้นฝั่งยังปากพูนกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ กระทั่งในทุกวันนี้หลายชุมชนริมคลองในปากพูน ก็ล้วนเป็นลูกหลานชาวเพชรบุรีที่ยังคงพูดภาษากลางสำเนียงเพชรบุรีอยู่ นอกจากนำวิถีชีวิตและสำเนียงภาษามาปักหลักที่นี่ อีกสิ่งที่ชาวเพชรบุรีนำติดตัวมาด้วย นั่นคือนวัตกรรมพื้นบ้านในการจับสัตว์น้ำที่เรียกว่าบ้านปลา…
“นอกจากการที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ในระดับที่กิ่งก้านของต้นโกงกางอันสูงใหญ่โน้มเข้าหากันจนเกิดลักษณะคล้ายอุโมงค์อันงดงาม ความพิเศษของผืนป่าในหมู่ 4 ของตำบลปากพูน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโมงค์ป่าโกงกาง1 ยังรวมถึงการเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชาวบ้านปากพูนจากรุ่นสู่รุ่นชาวบ้านใช้พื้นที่กว่าครึ่งของป่าชายเลนทำประมง บ่อเลี้ยงกุ้ง ปู และปลาตามธรรมชาติ และหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าป่าแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำผึ้งชั้นดี ซึ่งเกิดจากผึ้งหลวงที่อพยพมาจากป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวงมาทำรังตามกิ่งไม้ของต้นแสมดำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมหล่อเลี้ยงชาวบ้านในชุมชนนี้กว่า 100 ครัวเรือน โครงการวิจัยย่อยของพวกเรามีชื่อว่า ‘อุโมงค์โกงกาง: ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนายกระดับสู่พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน’ มีวัตถุประสงค์หลักคือการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์…
“ไอ้เฒ่า เป็นภาษาใต้ หมายถึงคนที่คงแก่เรียน หรือในบางพื้นที่ยังแปลได้ว่าเพื่อน ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร หรืออยู่ในสังคมไหน ทุกพื้นที่จะมีไอ้เฒ่าที่เป็นเหมือนหัวเรี่ยวหัวแรง เป็นมันสมอง หรือเจ้าของภูมิปัญญาของกลุ่มนั้นๆ อยู่เสมอ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของตำบลปากพูน ผมรับผิดชอบโครงการที่ 2 ที่ชื่อ เกลอปากพูน: การสร้างกลไกความร่วมมือและเครือข่ายพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ภายในตำบลปากพูน โดยหน้าที่ก็คือการตามหาไอ้เฒ่าจากพื้นที่ต่างๆ ยึดตามโครงการย่อยที่มี ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอุโมงค์ป่าโกงกาง เจ้าของสวนมะพร้าว…