Citizen

สิ่งที่ผมอยากเห็นจริงๆ คือการได้เห็นกว๊านพะเยาที่สุขสงบในทุกเช้าแบบนี้

“ถ้าไม่ติดงานอะไร ผมมักจะปั่นจักรยานมานั่งดื่มกาแฟริมกว๊านอย่างนี้ทุกเช้า ตอนแรกก็ทำกาแฟดริปขายคนที่มาเดินเล่นเหมือนกันครับ แต่พอมีข้อห้ามไม่ให้มีรถเข็นมาขายเกิน 11 โมง ผมก็เลยไม่ขาย ใครอยากดื่มกาแฟ ผมทำเสิร์ฟเลย ก็กลายเป็นว่าพอมีคนมาดื่มของผมไป คราวต่อมาเขาก็เอาเมล็ดกาแฟมาแบ่งให้ลอง เป็นการตอบแทนอาชีพของผมคือช่างกระจกและอลูมิเนียมครับ ก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่กรุงเทพฯ แต่อยู่จนถึงจุดจุดหนึ่งแล้วคิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ ต่อไม่ไหว เลยกลับมาทำงานที่บ้าน กรุงเทพฯ อะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แค่อยากจะมานั่งสวนสาธารณะหรือริมแม่น้ำแบบนี้ ก็ต้องเสียค่าเดินทาง…

2 years ago

จริงๆ ซานฟรานซิสโกที่เราเคยอยู่ด้วยกันก่อนหน้านี้ก็มีบรรยากาศคล้ายกับพะเยาเลยครับ เมืองริมอ่าว อากาศดี ผ่อนคลาย และผู้คนเป็นมิตร

“ผมมาประเทศไทยครั้งแรกจากการเข้าร่วมเป็นศิลปินพำนักในโครงการศิลปะ One Year Project ของมูลนิธิที่นา (The Land Foundation) ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2007 การมาใช้ชีวิตครั้งนั้นนอกจากได้รู้จักเพื่อนศิลปินในเชียงใหม่หลายคน ยังพบเสน่ห์จากวิถีชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย และนั่นทำให้เมื่อกลับไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา ผมก็ยังมีความคิดถึงบรรยากาศแบบนี้อยู่ จากนั้นไม่นาน ก็มีโอกาสได้กลับมาอีกครั้งในฐานะศิลปินพำนักของโครงการคำเปิงในอำเภอดอยสะเก็ด ที่นั่นไม่เพียงทำให้ผมพบหลุยส์ คู่ชีวิต…

2 years ago

ตัวชี้วัดจริงๆ ของเรา คือการที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ของตัวเองให้เป็นมูลค่าได้

“คุณทราบไหมว่าสาเหตุที่รัฐตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวรไว้ที่จังหวัดพะเยา ซึ่งมีทำเลค่อนข้างห่างไกลกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจค้าบริการในอดีต พื้นที่หนึ่งในจังหวัดพะเยา ขึ้นชื่อเรื่องการที่ผู้หญิงท้องถิ่นออกจากหมู่บ้านเพื่อเข้าทำงานค้าบริการในเมืองใหญ่ๆ  จะเป็นเพราะถูกหลอก สมัครใจด้วยตนเอง หรือพ่อแม่เป็นคนตัดสินใจก็ตาม แต่จำนวนผู้หญิงที่เข้าสู่ธุรกิจที่มากเป็นพิเศษนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าเพราะผู้คนในพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษา ทำให้ผู้หญิงหลายคนตัดสินใจดำเนินชีวิตด้วยรูปแบบนี้และในเมื่อเราต้องการให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงการศึกษา เราก็จำเป็นต้องมีพื้นที่การศึกษา จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นนั่นเอง แม้เรื่องที่เล่ามานี้จะไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา หรือที่ต่อมาจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา นับตั้งแต่การก่อตั้งจนถึงทุกวันนี้ คือนำความรู้มาให้บริการและพัฒนาชุมชน…

2 years ago

การเรียนรู้เป็นแค่กระบวนการเท่านั้น เพราะปลายทางที่เราวางไว้ คือจะทำอย่างไรให้คนพะเยามีความสุข อิ่มท้อง และค้าขายมีกำไร

“ดิฉันเห็นว่ากองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองพะเยา กับโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีปลายทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งในที่นี้หมายถึงประชาชนชาวพะเยาของเรานี่เองเพราะไม่ว่าเราจะออกแบบกิจกรรมด้วยการดึงต้นทุนของเมืองพะเยาด้วยวิธีการไหน การชวนกันทำบ้านดินริมกว๊านเอย เพ้นท์ผ้าจากใบไม้เอย ทำขนมเอย หรือส่งเสริมให้เกิดวิชาชีพใดๆ สุดท้ายผลลัพธ์ที่เรามองตรงกันคือการทำให้ชาวบ้านที่ด้อยโอกาสกลับมามีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง นักเรียนมีทักษะทางวิชาชีพใหม่ๆ ที่มากกว่าสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียน และผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างคุณค่าและความภูมิใจให้เขาเอง อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่ง การได้ร่วมงานกับทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเทศบาลได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อันหลากหลายด้วย ทั้งจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่โครงการส่งเสริมชาวบ้าน…

2 years ago

สิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงหน่วยย่อยๆ ของการพัฒนาเมืองได้เข้มแข็งที่สุดคือการทำให้เมืองมีบรรยากาศของการเรียนรู้

“พะเยาเรามีทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามากนะครับ ปัญหาก็คือที่ผ่านมาเรายังไม่สามารถพัฒนาต้นทุนทางคุณค่าให้เป็นมูลค่าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็อาจจะเพราะเจ้าของต้นทุนไม่รู้จะแปลงมันให้เป็นเงินอย่างไรดี ไม่รู้จักตลาด หรือเพราะขาดการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเป้าหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยพะเยานับตั้งแต่ก่อตั้งคือการบริการชุมชน ร่วมงานกับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมง ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อใช้ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยช่วยยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรามีโครงการและหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง ศูนย์เครื่องมือกลาง เป็นต้นแต่ก็เช่นเดียวกับที่เรามองเห็นถึงความไม่เชื่อมประสานที่เกิดขึ้นในเมือง ในระดับมหาวิทยาลัย เราก็พบว่าแต่ละหน่วยงานก็มีการทำงานไปในทิศทางของตัวเองแบบต่างหน่วยต่างทำ…

2 years ago

ความสุขของเราสองคน คือการได้แบ่งปันสิ่งที่เรารู้ให้คนอื่นไปต่อยอด

“ก่อนหน้านี้ ผมเป็นสัตวแพทย์อยู่กองงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองพะเยา และมีโอกาสทำโครงการพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ ได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในสิ่งที่เราทำ และพบว่าการได้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์นี่เป็นเรื่องที่ดีและน่าภูมิใจนะหลังเออรี่รีไทร์ ผมกับแฟนตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง เรามีที่ดินอยู่สองไร่ ตอนแรกคิดว่าคงจะใช้ชีวิตเกษียณ ทำสวนครัว และพักผ่อนที่นี่ แต่ความที่ผมมีทักษะเป็นวิทยากรและมีเครือข่ายที่เทศบาล คนที่นั่นเขาก็ชวนให้เราทั้งคู่ทำบ้านให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เพราะวิถีชีวิตเราก็เป็นไปตามครรลองนี้อยู่แล้ว ก็เลยเปิดพื้นที่ให้คนจากเทศบาลชวนเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ ขณะเดียวกัน ความที่ชุมชนเกษตรพัฒนาที่เราอยู่เนี่ย ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ ตอนกลางวันถ้าลูกหลานไม่ออกไปทำการเกษตรก็จะไปเรียนหรือทำงานในเมือง ผู้สูงวัยก็อยู่บ้านกันเฉยๆ…

2 years ago

ลูกก็ตอบเราว่าเขาเข้าใจว่าเขาเป็นเด็กพิเศษ แต่ที่ไม่เข้าใจคือทำไมเขาถึงไปโรงเรียนไม่ได้

เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เรามีลูกชายและพบว่าน้องทีม ลูกของพี่มีอาการออทิสติก คุณหมอก็บอกว่าการใช้ชีวิตในเมืองที่ค่อนข้างพลุกพล่านอย่างเชียงใหม่อาจไม่เหมาะต่อพัฒนาการ เราก็เลยตัดสินใจพาลูกกลับมาบ้านที่พะเยาตอนนั้นไม่มีความรู้อะไรเรื่องดูแลเด็กที่มีอาการออทิสติกเลย แต่ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไป ส่งเข้าโรงเรียนอนุบาลก็ผ่านมาได้ แต่พอขึ้น ป.1 น้องทีมปรับตัวเข้ากับโรงเรียนไม่ได้ เพราะโรงเรียนไม่มีครูหรือหลักสูตรที่ใช้สอนเด็กออทิสติกเลย ย้ายไปมาอยู่ 3 โรงเรียน จนมาเจอศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษ และพบผู้ปกครองเด็กพิเศษที่ประสบปัญหาเหมือนเรา ก็เลยมีการรวมตัวกัน ขอให้ศูนย์จัดทำห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก ซึ่งทางศูนย์ก็ประสานโรงเรียนในพะเยาให้ส่งครูมาสอนประกบคู่กับเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะสอนเด็กพิเศษของศูนย์…

2 years ago

เพราะเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคนคือเมืองที่ผู้คนเข้าใจในจุดยืนของตัวเอง สร้างโจทย์การพัฒนาร่วมกัน และร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางนั้น

“พ่อผมเป็นคนปักษ์ใต้ แกขึ้นมาทำงานกรุงเทพฯ ก่อน แล้วเจ้านายส่งพ่อให้มาคุมการก่อสร้างตลาดพะเยาอาเขต และเป็นผู้จัดการขายอาคารและพื้นที่ในตลาด จนโครงการแล้วเสร็จ พ่อก็เลยได้โบนัสเป็นอาคารพาณิชย์หนึ่งหลัง แกจึงตัดสินใจปักหลักอยู่ที่นี่เลย ทำธุรกิจร้านอาหารชื่อพะเยาภัตตาคาร เปิดในปี 2529 เป็นร้านอาหารแรกๆ ในเมืองที่มีระบบแสงสีทันสมัยส่วนผม ตอนแรกไม่มีความคิดจะทำร้านอาหารเลยครับ ผมเป็นวิศวกรประจำโรงงานที่จังหวัดระยอง พอดีได้ภรรยาเป็นคนพะเยาเหมือนกัน ภรรยาผมเป็นพยาบาลอยู่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่แม่ของเธอป่วย ภรรยาเลยกลับมาคิดว่าด้วยอาชีพเธอ เธอดูแลคนอื่นมากมาย…

2 years ago

ไม่ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร แต่การค้นพบเส้นทางนี้ อย่างน้อยๆ มันก็ทำให้เราพบว่า เรามีชีวิตและเรียนรู้ไปเพื่ออะไร

“เราทั้งคู่ไม่ได้มีพื้นเพอยู่ที่นี่แต่แรก จุ้ยเป็นคนน่าน ส่วนโชะเป็นคนเชียงราย เราเจอกันตอนบรรจุราชการครูที่หาดใหญ่ พอตัดสินใจอยู่ด้วยกันก็มาคิดถึงเมืองที่อยู่ใกล้บ้าน แล้วก็มาลงเอยด้วยการย้ายมาทำงานที่พะเยา  พอตัดสินใจแล้วจะใช้ชีวิตกันที่เมืองนี้ เราเลยลงมือปลูกบ้าน บ้านที่มีสวน มีพื้นที่ให้เราทำงานศิลปะและทำเวิร์กช็อปเล็กๆ (ครูจุ้ยเป็นครูศิลปะ ส่วนครูโชะสอนดนตรี - ผู้เรียบเรียง) คุยกันหลายรอบว่าบ้านเราควรจะเป็นแบบไหน จนมีโอกาสได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพี่โจน จันได เราชอบวิธีคิดในการสร้างสมดุลชีวิตและปรัชญาในการสร้างบ้านดินของเขา นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราทั้งคู่ตัดสินใจทำบ้านดิน ทำไมต้องเป็นบ้านดินน่ะหรือ…

2 years ago

ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ก็มีแผนให้พี่เปิดคอร์สสอนทำแหนมเหมือนกัน พี่ก็ยินดีเพราะอยากแบ่งปันความรู้

“เมื่อก่อนก็ซื้อแหนมกินจากที่อื่นค่ะ แต่ความที่เราไม่รู้เลยว่าคนอื่นเขาทำแหนมยังไง เขาใส่ดินประสิวมากเกินมาตรฐานไหม หรือกระบวนการที่เขาทำนี่ถูกสุขอนามัยมากแค่ไหน คุณยายพี่เขาก็เลยทำเอง เลือกใช้แต่วัตถุดิบที่สดใหม่ สะอาด และทราบถึงที่มา และใช้ดินประสิวไม่เยอะ คือถ้าไม่ใช้เลยก็ไม่ได้ แต่ถ้าใช้เยอะก็เป็นอันตรายนอกจากทำกินกันเองในครอบครัว คุณยายท่านก็เอาแหนมไปแบ่งเพื่อนๆ ก็มีการบอกต่อเรื่อยๆ จนมีคนมาขอซื้อ ก็ขายกันเล็กๆ โดยไม่ได้ทำแบรนด์อะไรเรื่อยมา จนภายหลังคุณยายทำต่อไม่ไหว จึงไม่ได้ขายมาหลายปีแล้ว   พอพี่เกษียณ…

2 years ago