“ผมย้ายตามพ่อมาอยู่ที่ปากเกร็ดตั้งแต่ปี 2526 ตอนนั้นถนนแจ้งวัฒนะเป็นถนนที่มีคูน้ำสองข้าง และตรงกลางเป็นคูน้ำ ปากเกร็ดยังมีความเป็นชนบทที่สุขสงบ แต่หลังจากมีทางด่วนมา ทุกอย่างก็มาลงที่นี่ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย สมัยก่อนหมู่บ้านจัดสรรเป็นแนวราบเพราะพื้นที่เยอะ แต่ตอนนี้เป็นคอนโดฯ หมดแล้ว เพราะมีรถไฟฟ้า ผมคิดว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยให้คนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพฯอย่างไรก็ตาม ที่น่าประทับใจคือ ถึงปากเกร็ดจะเติบโตไปมาก แต่คาแรกเตอร์ความเป็นชุมชนก็ยังคงชัดเจน เมืองยังมีความเป็นเพื่อนบ้าน…
“บทบาทของสำนักช่าง คือ การทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอากาศหรือน้ำ อย่างเรื่องอุทกภัย เรามีศูนย์ข้อมูลกลางความปลอดภัยของเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นหน่วยงานที่ผลิตข้อมูลแจ้งเตือนในรูปแบบต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือและรวดเร็ว ซึ่งสุดท้ายข้อมูลชุดนั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนที่ขาดไม่ได้ สำหรับการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการจัดการภัย ซึ่งผมมองว่าองค์ประกอบทั้งหมดจะครบถ้วนได้ต้องมี Data Culture เกิดขึ้นส่วนงานของสำนักช่างคือการป้องกัน ทำแนวป้องกัน ขุดลอกคลอง ลอกท่อ โดยแบ่งเป็น 2…
“เมืองปากเกร็ดมีความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากวัฒนธรรมเก่าที่คนโหยหาและมีราคา เรายังมองเห็นประสบการณ์บางอย่างที่คนรุ่นเก่ามีอยู่ และดูมีประโยชน์กับกลุ่มคนใหม่ ๆ โดยต้องหาวิธีจัดการองค์ความรู้นั้นมาใช้ให้ได้ เราจะพาวิธีคิดแบบพิเศษของคนกลุ่มนั้นมาสู่ Digital Workflow ได้อย่างไร ในแบบที่คนรุ่นหลังจะนำไปใช้งานต่อยาว ๆอย่างแรกไปดูก่อนว่าใครเชี่ยวชาญในด้านอะไร แล้วถอดมาเป็น Knowledge Management (การจัดการความรู้ - ผู้เรียบเรียง) แล้วนำไปส่งต่อให้เมือง อย่างเมื่อปี…
“ในปี 2554 ปากเกร็ดเป็นที่รู้จักของคนในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากผลงานการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ความที่ทีมผู้บริหารท้องถิ่นล้วนแล้วแต่เติบโตมากับชาวบ้าน ทำให้รอบรู้ถึงบริบทของเมืองและลักษณะพื้นฐานของประชากร เมื่อเรารู้จักพื้นที่ รู้เขา รู้เรา และทุ่มเททำงานอย่างไม่หยุดโดยไม่เกี่ยงตำแหน่งงาน เราจึงสามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนั้นได้หลังจากผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้ เหมือนเราก็มีโมเดลในการป้องกันน้ำท่วมแล้ว เราก็พยายามพัฒนามาเรื่อย ๆ ว่า จะทำยังไงให้เราเป็นองค์กรต้นแบบ เป็นเมืองปลอดภัย ไม่ว่าจะเรื่องน้ำท่วมหรือปัญหาสาธารณูปโภคใต้ดิน ซึ่งโครงการวิจัยนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอีกอย่างที่ทำให้เมืองของเราเป็นเมืองน่าอยู่ เพราะการทำงานของเทศบาลฯ…
ก่อนที่ปากเกร็ดจะได้รับการเปลี่ยนแปลงยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลในปี 2535 วิชัย บรรดาศักดิ์ ชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เคยทำงานในฐานะผู้ใหญ่บ้าน และกำนันตำบลบ้านใหม่ มาก่อนแล้วกว่า 10 ปี และเมื่อเขาได้รับเลือกดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองปากเกร็ด (ในสมัยนั้น) ประสบการณ์จากการทำงานกับชุมชน ทำให้วิชัยไม่เพียงเข้าใจปัญหาเชิงลึกของท้องถิ่น แต่ตระหนักดีว่า การทำงานพัฒนาเมือง หาใช่การตั้งรับเพื่อรอแก้ปัญหา แต่เป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อยับยั้งความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหา แนวทางการทำงานเช่นนี้ยังปรากฏในแทบทุกมิติของเมือง…
“เอ็งกอคือ 108 วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน สมัยราชวงศ์ซ่ง เหล่าขุนนางฉ้อฉล ประชาชนประสบความทุกข์ยาก อดีตนักโทษ 108 คนจึงวางแผนลอบปลงพระชนม์ฮ่องเต้ในงานเทศกาลไหว้พระจันทร์ ความที่พวกเขาเคยเป็นนักโทษซึ่งถูกตีตราบนใบหน้า จึงต้องวาดรูปบนหน้าเพื่ออำพราง นี่คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหล่าวีรบุรุษที่เสียสละตนเองเพื่อผดุงความยุติธรรม ก่อนที่คนจีนในยุคหลังได้ดัดแปลงเรื่องราวดังกล่าวเป็นศิลปวัฒนธรรม เพื่อใช้เฉลิมฉลองในงานตรุษจีน หรืองานสำคัญอื่น ๆ เล่ากันว่าเอ็งกอเข้ามาเมืองไทยจากกลุ่มคนแต้จิ๋วจากเมืองซัวเถา กลุ่มหนึ่งนั่งเรือสำเภาสีแดงไปเทียบท่าที่นครสวรรค์ อีกกลุ่มนั่งเรือสีเขียวมาเทียบท่าที่ชลบุรี หลังจากตั้งรกรากในดินแดนใหม่ได้สำเร็จ…
“พนัสนิคมยังรองรับแค่กับคนวัยทำงานที่ทำงานในระบบราชการหรือไม่ก็ผู้ประกอบการ แต่สำหรับคนทำงานออฟฟิศ พวกเขาก็ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่รอบ ๆ อยู่ดี” “ตั้งแต่เรียนจบ ผมกับแฟนก็รู้ตัวว่าเราไม่ชอบทำงานประจำ เลยเลือกที่จะกลับมาหาอะไรทำที่บ้าน ตอนแรกก็ทำข้าวกล่องขาย แล้วก็เห็นช่องทางว่าพนัสนิคมยังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบที่คนรุ่นใหม่ดื่มกันเท่าไหร่ ผมกับแฟนเรียนจบจาก ม.บูรพา ซึ่งอยู่ห่างจากนี่แค่ 20 กิโลเมตรเอง ที่นั่นมีร้านกาแฟให้เลือกนับไม่ถ้วน แต่พอกลับมาพนัสนิคม เรากลับไม่มีทางเลือกนัก เพราะผู้คนในเมืองยังติดรสชาติของกาแฟรสเข้ม ๆ…
“ก่อนการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรม พนัสนิคมก็เป็นเมืองเกษตรกรรมเหมือนเมืองอื่น ๆ ละแวกนี้ แตกต่างก็ตรงคนพนัสฯ มีฝีมือในด้านงานหัตถกรรม สมัยก่อนเขาจะปลูกต้นไผ่ไว้หัวไร่ปลายนา แล้วก็ตัดไผ่มาเป็นเครื่องมือ เป็นข้อง ไซ สุ่ม ไว้จับสัตว์น้ำหากิน หรือทำเป็นภาชนะใช้งาน ตั้งแต่เกิดมา ฉันก็เห็นคนพนัสฯ เขาทำเครื่องจักสานใช้เองแล้ว ซึ่งพวกเราก็ไม่ได้มองว่ามันจะเป็นสินค้าแต่อย่างใด กระทั่งแม่ฉันเริ่มเอาเครื่องจักสานพวกนี้ลองไปวางขายที่ตลาดนัดตรงสนามหลวงนั่นล่ะ ปรากฏว่าขายดีมาก แม่กลับมาก็เลยเปิดรับซื้อเครื่องจักสานของชาวบ้านไปขาย…
“หลังจากทำงานเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ที่กรุงเทพฯ ได้สิบกว่าปี มันก็ถึงจุดจุดหนึ่งที่ผมรู้สึกถึงความไม่ยั่งยืน จริงอยู่ รายการที่ผมทำค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่งานในวงการบันเทิงเนี่ยมันมีวาระของมัน ประกอบกับตอนนั้นแม่ก็เริ่มมีอายุมากขึ้นแล้ว แต่แกก็ยังคงเปิดร้าน ไม่ยอมหยุดทำงานสักที ผมจึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างให้เขารู้สึกวางใจที่เห็นว่าเรามีความมั่นคง ความคิดเรื่องการทำธุรกิจที่พักก็เริ่มขึ้นแต่ก่อน ผมไม่เคยมองว่าพนัสนิคมจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเลย แต่มองอีกมุม พนัสนิคมก็ไม่เคยมีที่พักที่สามารถรับรองแขกผู้ใหญ่สักเท่าไหร่ ถ้าใครมาแต่งงานที่พนัสนิคม แขกงานแต่งเขาอาจต้องไปนอนชลบุรีแล้วขับรถมา จากเดิมที่คิดว่าเราจะปลูกบ้านสักหลังไว้อยู่เองตอนกลับมาเยี่ยมแม่ จึงแบ่งพื้นที่ทำเป็นที่พักแบบบูติกโฮเทลไปด้วยนั่นล่ะ พอคิดจะทำโรงแรมจริงจัง คำถามก็คือแล้วถ้าแขกที่มาพักถามเราว่าพนัสนิคมมีที่เที่ยวอะไร…
สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง…