“ถ้าพิจารณาจากความเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของเมือง ท่ามะโอถือเป็นชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่และร่มรื่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศเลยนะครับ หลายคนจดจำที่นี่ในฐานะที่ตั้งขององค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสัมปทานค้าไม้กับอังกฤษ รวมถึงที่ตั้งของบ้านไม้สักสวยๆ มากมาย แต่ในอีกมุม ที่นี่เป็นชุมชนเก่าแก่ที่เป็นจุดเชื่อม 3 เมืองโบราณสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองลำปาง ซึ่งก็ย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคก่อตั้งเขลางค์นครนั่นเลย โดยโบราณสถานหลายแห่งก็ตั้งอยู่ท่ามกลางบ้านไม้เก่าแก่ในยุคสัมปทานค้าไม้อย่างกลมกลืนและมีเสน่ห์ ชื่อเต็มของโครงการที่ผมรับผิดชอบคือ ‘โครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ’ ซึ่งเริ่มจากการสำรวจข้อมูลจากชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางภูมิทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อสกัดภูมิวัฒนธรรมของย่าน…
“เราเป็นคนย่านสบตุ๋ย ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่เราทำงานอยู่ก็ตั้งอยู่ย่านนี้ พอได้รับโจทย์งานวิจัยเรื่องพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในย่านสบตุ๋ย ทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพราะเราเป็นลูกหลานที่คุ้นเคยกับคนในย่าน แต่โครงการนี้ก็มีส่วนในการกลับมาเรียนรู้บ้านเกิดของเราในเชิงลึก อันมีส่วนในการพัฒนาเมืองในภาพรวมด้วย สบตุ๋ยเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่เคยเป็นศูนย์กลางของเมืองลำปาง พร้อมกับการมาถึงของรถไฟเมื่อศตวรรษก่อน ทำให้ความเจริญทุกอย่างมารวมกันอยู่ในย่านนี้ โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งรกรากและทำธุรกิจของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาวจีน อันทำให้เกิดสถาปัตยกรรม ร้านรวง และร้านอาหารที่มีตำรับเก่าแก่มากมายส่งผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ และก็เพราะมรดกทางภูมิปัญญาหลากหลายในอดีต ซึ่งเป็นฐานรากสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทีมวิจัยของเราจึงเห็นตรงกันว่าสบตุ๋ยไม่ต่างอะไรกับ ‘พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต’ พื้นที่เก่าแก่ที่ผู้คนร่วมสมัยยังคงใช้ชีวิต โดยหาได้ปรับเปลี่ยนวิถีอะไรจากรากเหง้าเดิมนัก…
“ถ้าเราเอาสโคปของย่านเมืองเก่าภูเก็ตมาวางบนถนนประสานไมตรีที่อยู่หน้าสถานีรถไฟลำปาง มันแทบจะไม่ต่างอะไรกันเลยนะครับ เพราะแม้เราจะไม่ได้มีอาคารสถาปัตยกรรมสวยๆ เรียงติดกันเท่าภูเก็ต แต่ความเป็นย่านการค้าของคนในพื้นที่จริงๆ ร้านที่ขายอาหารและขนมอร่อยๆ รวมถึงทางเท้าที่เดินสะดวก ความดั้งเดิมของถนนสายนี้ก็มีเสน่ห์ไม่แพ้เมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตเลย ด้วยความที่เป็นย่านที่ริเริ่มโดยพ่อค้าแม่ค้าเชื้อสายจีน หลายคนมักมองว่าย่านสบตุ๋ยที่มีถนนประสานไมตรีพาดผ่านนี้เป็นไชน่าทาวน์แบบย่อส่วน แต่อันที่จริง เมื่อมองถึงการเชื่อมโยงกับย่านอื่นๆ สบตุ๋ยก็ถือว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมาก ทั้งกลุ่มชาวคริสเตียนที่อยู่ใกล้ๆ ชุมชนชาวไทใหญ่ ชาวพม่า และคนเมืองเอง ที่สำคัญผู้คนทุกกลุ่มก็กลมกลืนเข้าหากันจนเกิดเป็นพลเมืองชาวลำปาง ที่ต่างอาศัยอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ที่ส่วนมากล้วนเป็นมรดกตกทอดมาจากอดีตทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองว่าความเป็นย่านที่มีความหลากหลายและชีวิตชีวาแบบนี้ไม่ต่างอะไรจากพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต…
“กาดบริบูรณ์ปราการเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆ ของลำปาง ที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้า คนลำปางจะมาซื้อพวกเสื้อผ้า ชุดนักเรียน ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องมือการเกษตร ไปจนถึงเบ็ดแหที่นี่ เขาเรียกกาดแห่งนี้ว่า ‘กาดมืด’ เพราะตลาดมันอยู่ในพื้นที่หลังตึกแถวกลางเมืองโดยมีโครงสร้างหลังคามาคลุมทับอีกที เป็นตลาดในร่มที่แรกของเมือง ได้ยินมาจากเตี่ยว่าแต่เดิมตลาดนี้ทันสมัยที่สุดในเมืองแล้ว แต่ความที่มันดูมืดๆ คนเลยเรียกติดปาก ผมขายก๋วยเตี๋ยวที่นี่กับน้องสาวมาสามสิบกว่าปีแล้ว รับกิจการต่อมาจากเตี่ย ซึ่งเตี่ยเปิดร้านมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500…
“เรามีกันประมาณ 40 คนได้ครับ ทุกคนในเมืองจะสลับกันมาเล่นสเก็ตบอร์ดกันตรงนี้ (ลานด้านหน้าหอปูมละกอน บริเวณ 5 แยกหอนาฬิกาเมืองลำปาง) เล่นด้วยกันมาหลายปีแล้ว เมื่อก่อนก็กระจายกันเล่น หลักๆ จะเล่นที่ลานด้านหน้าสวนสาธารณะเขลางค์นคร แต่เดี๋ยวนี้เล่นไม่ได้แล้วเพราะพื้นสึกหมด ส่วนอีกที่คือลานจอดรถของเซ็นทรัลลำปาง แต่ที่ห้างฯ มักใช้จัดงานอีเวนท์ สุดท้ายเลยมารวมตัวกันที่นี่ ที่นี่เป็นพื้นที่ของเทศบาลครับ ตอนแรกเขาก็ไม่อนุญาตให้เล่นหรอกครับ เพราะถ้านานๆ…
“ก่อนจะกลับลำปาง ผมทำงานดูแลระบบไอทีให้โรงงานที่จังหวัดระยอง ทำอยู่สองปี แล้วอยากกลับมาอยู่บ้าน เลยลาออก มาสมัครทำงานแผนกไอทีของโรงพยาบาลเอกชนที่เชียงใหม่ แต่พบว่าในสายงานใกล้เคียงกัน เงินเดือนที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือแล้ว ยังน้อยกว่าเงินเดือนที่ระยองหลายเท่า นับประสาอะไรกับลำปาง ผมเชื่อนะว่าถ้าฐานเงินเดือนในต่างจังหวัดมันดีกว่านี้ คนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งเขาก็ไม่อยากดิ้นรนในเมืองใหญ่หรอกครับ ผมทำงานอยู่เชียงใหม่ได้พักหนึ่ง ก็ได้งานที่ธนาคารในลำปาง แต่ตอนนั้นเริ่มมีความคิดอยากทำธุรกิจของตัวเองแล้ว ซึ่งก็มีพี่คนหนึ่งไปชวนเรียนทำขนมเค้ก พอไปเรียนแล้วพบว่าเราสนุกกับมัน จากนั้นก็เรียนทำขนมปัง และขนมอื่นๆ จนชำนาญและเริ่มทำส่งขายตามร้านกาแฟในจังหวัด…
“ผมเคยไปทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทผลิตรถที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รู้จักจังหวัดเล็กๆ ชื่อ ไอจิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหุบเขาโครังเค ในแต่ละปีคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจะไปชมใบไม้เปลี่ยนสีที่หุบเขานั้นเป็นประจำ ตัวเมืองเขาจะเล็กๆ เงียบๆ แต่ทุกคนก็จดจำเมืองนี้ได้เพราะโครังเค ไอจิทำให้ผมคิดถึงลำปาง ความที่เมืองเราถูกจดจำในฐานะเมืองผ่าน แต่ขณะเดียวกันเราก็มีทรัพยากรที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ลำปางถูกจดจำในฐานะเมืองรถม้า เมืองเซรามิก หรือที่หลายคนอาจไม่ทราบว่าเราเป็นที่ตั้งของโรงงานครั่งที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ขณะเดียวกันตามพื้นที่รอบนอก ลำปางก็เป็นเมืองที่มีทัศนียภาพของภูเขาที่งดงาม ผมเคยคิดเล่นๆ ว่าถ้าหน่วยงานท้องถิ่นลองร่วมมือกันปลูกไม้ดอกที่เป็นเอกลักษณ์ริมถนนนอกเมืองสักสาย…
“หลังเรียนจบ เราไปทำงานที่ฮ่องกงมาเกือบ 6 ปี จนอากงป่วยหนัก เลยตัดสินใจกลับบ้าน ครอบครัวเราเปิดร้าน ‘ท่งเฮงกี่’ ขายกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น หมูสวรรค์ ซึ่งเปิดในย่านสบตุ๋ยของเมืองลำปางมา 80 กว่าปีแล้ว สมัยตั้งแต่รุ่นคุณทวดท่านย้ายมาจากซัวเถา ความที่สมัยเด็กๆ เราช่วยงานเตี่ย จึงรู้กรรมวิธีทั้งหมด พออากงเสียชีวิต…
“พ่อผมเป็นทั้งคนขับรถม้าและคนฝึกม้า ตอนเด็กๆ เวลาพ่อผมไปขับรถม้าพานักท่องเที่ยวชมเมือง แกจะพาผมนั่งติดรถไปด้วย ผมขึ้นหลังม้าตั้งแต่อายุราว 5-6 ขวบ พออายุ 8 ขวบ พ่อก็ให้จับสายขับและฝึกควบคุมม้า จนผมอายุ 12 ปี จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันที่ 5 ธันวาคม พ่อออกไปทำธุระนอกบ้านพอดี ผมเลยถือโอกาสพานายบุญทอง ม้าที่พ่อให้ผมใช้ฝึกลากรถออกไปเข้าคิวรับลูกค้า…
“ผมเกิดและโตที่ชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ช่วงเรียนมอหนึ่ง ป้าต้อย (สดศรี ขัตติยวงศ์) เริ่มก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งผมมีโอกาสเป็นอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น จากที่ผูกพันกับชุมชนอยู่แล้ว พอได้ร่วมกิจกรรม ได้เข้าอบรม และได้นำนักท่องเที่ยวชมย่านก็รู้สึกสนุกดี แต่ตอนนั้นผมคิดว่าเป็นแค่การใช้เวลาว่างแบบหนึ่ง ไม่ได้คิดอะไรจริงจัง ผมเรียนด้านสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรถไฟฟ้าทำนองนั้น แต่จุดเปลี่ยนจริงๆ คือช่วงจบปริญญาตรี…