Citizen

ถ้าเชียงใหม่มีสวนสาธารณะให้นั่งพักมากกว่านี้ จะจูงใจให้คนหันมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น รถติดน้อยลง คนขับรถอยู่ได้ และมีรายได้ไปพัฒนาการบริการให้ดีขึ้น

“ผมขับรถสี่ล้อสีเหลืองเส้นทางเชียงใหม่-เวียงป่าเป้า พาผู้โดยสารที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า นักเรียน คนทำงาน นักท่องเที่ยว และพี่น้องชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางเข้า-ออกเมืองเชียงใหม่มาสี่สิบกว่าปีแล้ว ขับมานานจนคนขับรถประจำทางด้วยกันตั้งให้เป็นประธานกรรมการสหกรณ์นครเชียงใหม่เดินรถ จำกัด ติดกันมา 5 วาระ งานของผมคือช่วยประสานงานกับพี่น้องคนขับรถสี่ล้อเหลืองใน 28 เส้นทาง ซึ่งมีอยู่นับพันคันใน 4 จังหวัดภาคเหนือ คนชอบมองว่ารถประจำทางสี่ล้อมักไม่พัฒนา เป็นมายังไงก็อย่างนั้น แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเรามีข้อจำกัดหลายอย่าง…

2 years ago

การบูรณะสวนน้ำปิงจะช่วย
เสริมภาพลักษณ์ของตลาดต้นลำไยและตลาดวโรรสให้มีกลับมามีชีวิตชีวา

“กาดต้นลำไยและกาดวโรรส เริ่มต้นในเวลาไม่ห่างกันมากนัก แต่เดิมพื้นที่ของกาดวโรรสหรือ ‘กาดหลวง’ เคยเป็นสุสานเก่าของเจ้านายฝ่ายเหนือ จนปี 2452 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ย้ายสุสานไปไว้ที่วัดสวนดอก เพื่อพัฒนาที่ดินให้กลายเป็นตลาด ส่วนกาดต้นลำไย ความที่อยู่ติดริมน้ำ บริเวณนี้จึงเป็นที่เลี้ยงและอาบน้ำช้างของเจ้าเมืองเชียงใหม่ จนอุตสาหกรรมค้าไม้และการค้าทางเรือบนลำน้ำปิงเฟื่องฟู จากที่เลี้ยงช้างก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยห้องแถวเล็กๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งใหม่ของเมือง แม้จะตั้งอยู่ใกล้กัน แต่ตลาดทั้งสองแห่งก็ต่างมีรูปแบบเฉพาะที่ต่างกันออกไป ทำให้ไม่เคยแย่งลูกค้ากัน กาดวโรรสจำหน่ายผ้าสำเร็จรูป…

2 years ago

ขายกับข้าวข้างพระธาตุหนองหล่มมานาน 25 ปี ช่วยเหลือชาวบ้านมาตลอดจนได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เป็นประธานชุมชนช้างม่อย

“ป้าขายกับข้าวมาตั้งแต่ปี 2540 ตรงนี้เคยเป็นที่ดินของวัดร้างชื่อวัดหนองหล่ม เจดีย์นี่ชื่อพระธาตุหนองหล่ม ป้าขายอยู่ข้างเจดีย์ ลูกค้าเลยเรียกร้านเราว่าร้านป้าดาตีนธาตุ หนองหล่มคือชื่อของชุมชนแห่งนี้ ความที่ชุมชนอยู่ใกล้หนองน้ำหลังตึกแถวตรงนี้ (ชี้ไปทางตึกแถวตรงข้ามเจดีย์) เป็นหนองน้ำที่ถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็มสักที เลยเรียกกันหนองหล่ม เมื่อก่อนป้าทำลาดหน้า ผัดหมี่ และขนมเส้นจากที่บ้าน เดินข้ามคูเมืองไปเปิดร้านในกาดสมเพชร จนปี 2540 ชุมชนหนองหล่มไฟไหม้ ชาวบ้านต้องขนข้าวของหนีไฟ และเอามาพักไว้รอบๆ…

2 years ago

ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีก่อตั้งขึ้นเมื่อ 22 ปีก่อน ปัจจุบันมีคนเข้ามาดูงาน มาจัดกิจกรรมมากมาย และขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ในชุมชนร่วมกับคนรุ่นเก่า

“ยี่สิบกว่าปีก่อนหลังจากแม่กลับจากช่วยหลานทำสวนทุเรียนที่จันทบุรี ความที่แม่ไม่ได้อยู่เชียงใหม่มานาน เลยไปเที่ยวงานแถวประตูท่าแพ จำไม่ได้แล้วว่าเป็นงานอะไร แต่ในงานมีรำวงด้วย แม่ก็ดื่มและขึ้นไปรำวงกับเขา แล้วก็ได้ยินเสียงโฆษกประกาศเชิญสาวรำวงจากชุมชนนั้น ชุมชนนี้ขึ้นมาเต้น ตอนนั้นแหละที่แม่เพิ่งรู้ว่าในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ก็มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในฐานะชุมชนด้วย เลยย้อนกลับมาคิดถึงบ้านเรา แม่เกิดและเติบโตในชุมชนหลังวัดหม้อคำตวง ทุกคนก็รู้จักกันหมด แต่นอกจากไปวัด ก็ไม่ได้มีการร่วมกันจัดกิจกรรมอะไรจริงจัง แม่เลยคิดว่าเราน่าจะตั้งชุมชนกัน ก็ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่แขวง เขาก็บอกว่าต้องรวบรวมลูกบ้านให้ได้ 50-60 ครัวเรือนเพื่อขอจัดตั้ง…

2 years ago

ศาลเจ้าปุ่งเถ่ากงผูกพันกับคนเชียงใหม่หลายต่อหลายรุ่น แม้จะแยกย้ายไปอยู่ต่างถิ่นก็จะกลับมาไหว้เจ้า ศาลเจ้าแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมคนไทยเชื้อสายจีนในเชียงใหม่

“คำว่าคนจีนโพ้นทะเล หมายถึงชาวจีนที่เราหลายคนได้ยินมาตั้งแต่เด็กว่าพวกเขาหอบเสื่อหนึ่งผืนและหมอนอีกหนึ่งใบออกจากบ้านเกิดเพื่อมาแสวงโชคต่างแดน คำนี้ยังเชื่อมโยงกับการต้องเดินทางด้วยเรือไปยังที่ต่างๆ ผ่านทะเล หรือแม่น้ำ เพื่อจะได้พบสถานที่ในการตั้งรกรากแห่งใหม่ สมัยก่อนการเดินเรือไม่ได้ปลอดภัย ไหนจะคลื่นลม ภัยพิบัติ ไปจนถึงโจรสลัด คนจีนที่ออกเดินทางจึงมักหาเครื่องยึดเหนี่ยวด้วยการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่และทวยเทพต่างๆ มาสถิตยังศาลเจ้าตามเมืองต่างๆ ที่พวกเขาต้องเดินเรือ เพื่อจะได้กราบไหว้ขอพรให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทางหรือบันดาลให้การค้าเจริญรุ่งเรือง เราจึงเห็นว่าศาลเจ้าจีนหลายแห่งมักอยู่ริมแม่น้ำ รวมถึงศาลเจ้าปุงเถ่ากง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง ติดกับกาดต้นลำไย ย่านไชน่าทาวน์ของเมืองเชียงใหม่แห่งนี้ ก็เช่นกัน…

2 years ago

ดอกไม้พันดวง เครื่องมือนำร่องของ แคมเปญ ‘เชียงใหม่เมืองเทศกาล เจ้าภาพคือทุกคน เริ่มต้นที่ยี่เป็ง’

“คนเมืองเรียกดอกไม้ปันดวง ถ้าเป็นภาษากลางก็คือดอกไม้พันดวง นี่เป็นชื่อของเครื่องสักการะตั้งธรรมหลวงของชาวไทลื้อ ชาวบ้านจะเด็ดดอกไม้ที่ปลูกไว้มาวางซ้อนกันบนแตะหรือไม้ไผ่สานคล้ายตระแกรง หรือรูปทรงอื่นๆ เพื่อไปแขวนประดับวิหารวัดก่อนวันขึ้น 15 ค่ำในประเพณียี่เป็ง คนเฒ่าคนแก่หลายคนยังพอจำได้ แต่คนรุ่นหลังนี้แทบไม่คุ้นเคย เพราะพิธีกรรมนี้หายไปจากในตัวเมืองนานแล้ว เรื่องดอกไม้ปันดวงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ภายหลังที่เราชวนชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ต่างเห็นตรงกันว่า เราควรเรียนรู้จากต้นทุนที่เรามี รวมถึงมรดกที่กำลังเลือนหาย เพราะจริงๆ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ทว่าก็ทรงคุณค่าที่สุดใกล้ตัวเรา…

2 years ago

การศึกษาเรื่องการทำงานข้ามภาคส่วน ทำให้เข้าใจโครงสร้างของการทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน ภาคเอกชน และรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเมืองต่อไป

“เชียงใหม่เป็นเมืองมหาวิทยาลัย เราจึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมืองเยอะมากๆ ขณะเดียวกัน เมืองเรามีภาคประชาสังคมที่ทำงานครอบคลุมแทบทุกด้าน ก็เป็นเช่นที่หลายคนมองเห็นตรงกันคือ แม้เราจะมีบุคลากรและทรัพยากรที่พร้อมสรรพ แต่เราก็กลับขาดการทำงานร่วมกัน ต่างคนต่างทำงานในพื้นที่หรือศาสตร์เฉพาะของตนเองไป ซึ่งทำให้มีไม่น้อยที่เมื่อเราทำๆ ไปของเราฝ่ายเดียวเรื่อยๆ แล้วเราก็พบกับทางตัน พออาจารย์สันต์ (รศ.ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์) มาชวนเราทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของเชียงใหม่ ทั้งอาจารย์และเราก็ต่างมองตรงกันว่าควรจะมีการศึกษากลไกการทำงานแบบข้ามภาคส่วน เพราะเชื่อว่าไม่ว่าเมืองจะพัฒนาเป็นอะไรสักอย่าง เป็นเมืองหัตถกรรม เมืองสร้างสรรค์…

2 years ago

ในชุมชนป่าห้าซึ่งอยู่ใกล้กับย่านนิมมานเหมินท์ ยังเห็นร่องรอยของลำเหมืองโบราณ เช่นเดียวกับอุดมคติของชุมชนที่ยังหลงเหลืออยู่

“เราไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ ที่ดินตรงนี้เป็นของสามี และเขาปลูกบ้านไว้ หลังจากเราไปสอนหนังสือที่ขอนแก่นและเรียนต่อ จนได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เลยได้มาอยู่ที่นี่ เคยไปดูแผนที่ของทางเทศบาล ในนั้นระบุว่าชุมชนป่าห้าที่เราอยู่เป็นชุมชนแออัด ซึ่งถ้ามองทางกายภาพก็แออัดจริงๆ บ้านเรือนสร้างแทบจะขี่คอกัน แถมที่ดินบ้านเราก็อยู่ต่ำกว่าระดับถนน ฝนตกหนักทีก็มีสิทธิ์น้ำท่วม ดีที่บ้านเรามีบริเวณพอจะปลูกต้นไม้ทำสวน รวมถึงขุดบ่อไว้ระบายน้ำ เป็นโอเอซิสเล็กๆ กลางเมือง และถ้ามองในด้านทำเล ตรงนี้คืออุดมคติเลยล่ะ เราสอนหนังสือที่…

2 years ago

การผสมผสานสิ่งใหม่และเก่าในชุมชน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเกื้อกูลกันระหว่างคนสองรุ่น ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่เกิดจากความหลากหลาย

“บ้านหลังนี้เคยเป็นบ้านของครอบครัวและสำนักงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างของพ่อ พอผมขึ้นมัธยมที่มงฟอร์ต เราก็ย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง อากงอยู่ที่นี่ต่อไปอีกสักพัก ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโกดังเก็บของ และบ้านพักพนักงานของบริษัทพ่อ มาราวสิบปีสุดท้าย เราก็ปล่อยให้เป็นบ้านร้าง จนน้องสาวเรียนจบกลับมา ประมาณปลายปี 2563 เราก็เปลี่ยนให้บ้านหลังนี้เป็นคาเฟ่ที่เสิร์ฟบรันซ์ ตั้งชื่อว่า มิทเทอ มิทเทอ (Mitte Mitte) โดยเอาชื่อมาจากย่านหนึ่งในเบอร์ลิน ย่านที่น้องเคยใช้ชีวิตสมัยไปเรียนที่เยอรมนี ก่อนจะตัดสินใจเปิดร้าน…

2 years ago

กิจกรรมการกวนข้าวยาคู้ที่คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกับชุมชน ทำให้วัดและชุมชนมีชีวิตชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง

“โยมเห็นไหมว่าเจดีย์วัดชมพูนี่เหมือนพระธาตุดอยสุเทพเลย เจดีย์นี้สร้างสมัยเดียวกับบนดอยสุเทพนั่นแหละ หลังจากพระเจ้ากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ท่านก็อยากให้พระมารดาได้สักการะด้วย แต่สมัยก่อนไม่มีถนน ขึ้นไปไหว้พระบนดอยนี่ลำบาก ท่านเลยโปรดให้สร้างเจดีย์รูปแบบเดียวกันตรงนี้แทน และตั้งชื่อว่าวัดใหม่พิมพา ตามชื่อพระมารดาพระนางพิมพาเทวี จนภายหลังมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดชมพู ตามครูบาชมพูที่เคยมาพำนักสมัยพระเจ้ากาวิละ เจดีย์วัดชมพูเลยเป็นคู่แฝดของพระธาตุดอยสุเทพมาจนทุกวันนี้ ญาติโยมคนไหนไม่สะดวกขึ้นดอยสุเทพ ก็มาสักการะที่นี่ได้ หลวงพ่อย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตอน พ.ศ. 2509 ต่อจากครูบาแก้ว สุคันโธ สมัยนั้นครูบาแก้วท่านสมถะ…

2 years ago