“บ้านหลังนี้เคยเป็นบ้านของครอบครัวและสำนักงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างของพ่อ พอผมขึ้นมัธยมที่มงฟอร์ต เราก็ย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง อากงอยู่ที่นี่ต่อไปอีกสักพัก ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโกดังเก็บของ และบ้านพักพนักงานของบริษัทพ่อ มาราวสิบปีสุดท้าย เราก็ปล่อยให้เป็นบ้านร้าง จนน้องสาวเรียนจบกลับมา ประมาณปลายปี 2563 เราก็เปลี่ยนให้บ้านหลังนี้เป็นคาเฟ่ที่เสิร์ฟบรันซ์ ตั้งชื่อว่า มิทเทอ มิทเทอ (Mitte Mitte) โดยเอาชื่อมาจากย่านหนึ่งในเบอร์ลิน ย่านที่น้องเคยใช้ชีวิตสมัยไปเรียนที่เยอรมนี ก่อนจะตัดสินใจเปิดร้าน…
“โยมเห็นไหมว่าเจดีย์วัดชมพูนี่เหมือนพระธาตุดอยสุเทพเลย เจดีย์นี้สร้างสมัยเดียวกับบนดอยสุเทพนั่นแหละ หลังจากพระเจ้ากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ท่านก็อยากให้พระมารดาได้สักการะด้วย แต่สมัยก่อนไม่มีถนน ขึ้นไปไหว้พระบนดอยนี่ลำบาก ท่านเลยโปรดให้สร้างเจดีย์รูปแบบเดียวกันตรงนี้แทน และตั้งชื่อว่าวัดใหม่พิมพา ตามชื่อพระมารดาพระนางพิมพาเทวี จนภายหลังมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดชมพู ตามครูบาชมพูที่เคยมาพำนักสมัยพระเจ้ากาวิละ เจดีย์วัดชมพูเลยเป็นคู่แฝดของพระธาตุดอยสุเทพมาจนทุกวันนี้ ญาติโยมคนไหนไม่สะดวกขึ้นดอยสุเทพ ก็มาสักการะที่นี่ได้ หลวงพ่อย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตอน พ.ศ. 2509 ต่อจากครูบาแก้ว สุคันโธ สมัยนั้นครูบาแก้วท่านสมถะ…
“รูปแบบของานยอสวยไหว้สาพญามังราย ฉลองครบรอบ 726 ปีเมืองเชียงใหม่ ที่ทางเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมจัดงานไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แตกต่างจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือในที่สุดเราก็สามารถสืบค้นจากเอกสารโบราณเกี่ยวกับเครื่องบวงสรวงหอบรรพกษัตริย์ตามประเพณีดั้งเดิมได้ เราจึงมีการจัดเครื่องสักการะเป็นกับข้าวพื้นเมือง 9 อย่างตรงตามเอกสาร ไม่ใช่การถวายหัวหมูแบบธรรมเนียมเซ่นไหว้ของคนจีนเหมือนก่อน หลายคนอาจสงสัยว่าจะอะไรกันหนักหนากับเครื่องเซ่นไหว้ ก็ต้องบอกว่าในเมื่อเราจะทำตามประเพณีแล้ว เราก็ควรเข้าใจความหมายในทุกบริบทของประเพณี ทำไมคนโบราณถึงเลือกใช้กับข้าว 9 อย่างนี้ ทำไมต้องถวายขันโตกแยกถาดเหล้า ถาดล้างมือ…
“คนส่วนใหญ่มักมองว่าชุมชนคือที่อยู่อาศัย แต่ที่จริงแล้วในทุกชุมชนต่างมีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและเป็นต้นทุนในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสังคมต่อไปไม่จบไม่สิ้น โครงการหลากมิติแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการลงพื้นที่ไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน โดยในทางกลับกันเราก็หวังให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการกระตุ้นผู้คนในชุมชนให้กลับมาทบทวนมรดกในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นต้นทุนในการต่อยอดไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ในระยะแรก เราส่งเทียบเชิญไปยังสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอเมือง ให้ส่งตัวแทนนักเรียนมาร่วมกิจกรรมโรงเรียนละ 5 คน โดยออกแบบกิจกรรมไว้ 3 ระดับ ใน 3…
“ผมนั่งรถผ่านย่านช้างม่อยเพื่อไปโรงเรียนที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำปิงตั้งแต่เด็ก ความทรงจำของผมคือที่นี่เป็นย่านตึกแถวเก่าๆ ที่มีโกดังเต็มไปหมด ไม่ได้มีเสน่ห์หรือคุณค่าอะไร กระทั่งผมไปเรียนต่างประเทศและกลับมาทำงานที่เชียงใหม่เมื่อราว 5 ปีที่แล้ว จึงเห็นว่าย่านนี้เปลี่ยนไปมาก มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ บูรณะตึกให้กลายเป็นคาเฟ่หรือร้านรวงที่สอดรับกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเห็นได้ตามเมืองเก่าแก่ใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลก พอได้กลับมาเห็นที่ช้างม่อย ย่านที่ผมมองข้ามมาตลอด จึงรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ ความที่ผมเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรม ผมจึงมักชวนนักศึกษาในชั้นเรียนให้ลงพื้นที่ไปเรียนรู้วิถีตามย่านต่างๆ ในเมืองอย่างสม่ำเสมอ ช้างม่อยเป็นหนึ่งในที่ที่ผมไม่เคยพลาดที่จะพานักศึกษามาเยือน เพราะมันไม่ใช่แค่รูปแบบของอาคารพาณิชย์ในยุคโมเดิร์น…
“ตอนอยู่ในโรงเรียน หนูเรียนและทำข้อสอบได้ดี ซึ่งครูหลายคนก็บอกว่าเราน่าจะไปเรียนต่อสายวิทย์ ไปเรียนต่อหมอได้แน่ๆ ซึ่งตอนนั้นเราอายุแค่ 9 ขวบเอง ไม่ได้คิดอะไร จนวันหนึ่งแม่มาบอกว่าจะให้ออกจากโรงเรียนมาเรียนที่บ้านเป็นเพื่อนน้อง หนูก็ดีใจนะ เพราะไม่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียนแล้ว (หัวเราะ) แต่เอาเข้าจริง อึดอัดมากๆ ค่ะ เพราะเราเรียนอยู่บ้าน ก็ย่อมขี้เกียจเป็นธรรมดา ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่สักพักเพื่อให้เรารับผิดชอบต่อบทเรียน เรียนคือเรียน พักคือพัก…
“สามีเราเป็นคนออสเตรีย เปิดออฟฟิศด้านซอฟต์แวร์อยู่เชียงใหม่ เราเคยร่วมงานกัน ก่อนจะคบหาและใช้ชีวิตด้วยกัน พอมีลูกคนแรก สามีก็เปรยเรื่องการเรียนโฮมสคูลมาก่อนแล้ว แต่ตอนนั้นเราอยากลองให้ลูกเข้าโรงเรียนปกติดูก่อน เรามีลูกสองคน อายุห่างกันสามปี พอเริ่มสังเกตว่ามิคาเอลลูกคนเล็ก ไม่ค่อยมีความสุขกับการเรียนในห้องเรียนเท่าไหร่ ซึ่งก็พอดีได้รู้จากพี่ชัช (ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ) เรื่องการจัดการศึกษาทางเลือกในครอบครัว เราก็เรียนรู้เรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง ก่อนมาคุยกับลูกๆ ว่า เรามาเรียนหนังสือกันที่บ้านไหม เดี๋ยวแม่สอนเอง…
“แม่ไม่มีลูก มีแต่หลานๆ และความที่เราเป็นประธานชุมชนและอยู่มานาน คนในชุมชนและในตลาดจึงเรียกเราติดปากว่าแม่ เลยมีลูกๆ เป็นพ่อค้าแม่ค้าในตลาดแทน (ยิ้ม) ลูกๆ และหลานๆ เหล่านี้นี่แหละสอนแม่ใช้ไลน์ สอนให้รู้ว่าจะจ่ายเงินหรือรับโอนเงินทางมือถืออย่างไร ซึ่งทำให้ชีวิตแม่ง่ายขึ้นมาก แม่มีกลุ่มไลน์ที่ตั้งไว้ขายอาหาร ในทุกๆ เย็น เราจะเขียนบอกคนในกลุ่มว่าพรุ่งนี้จะทำกับข้าวอะไรบ้าง ไข่คว่ำ หลามบอน น้ำพริกแมงดา แกงฮังเล…
“เราเป็นคนชอบงานจักสาน และใช้มันในชีวิตประจำวัน ครั้งหนึ่งเราไปเดินตลาด สวมเดรสและถือตะกร้าหวายไปด้วย เดินไปสักพัก มีคุณป้ามาทักว่าขายอะไรน่ะลูก เรายิ้ม และบอกว่าเป็นคนซื้อเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) หลังจากวันนั้นมาเราก็คิด อืม… ถ้างานจักสานแบบนี้มันถูกปรับดีไซน์ให้สอดคล้องการแต่งกายของคนสมัยนี้ก็น่าจะดีนะ แบบที่เรายังเห็นว่าทุกวันนี้ยังมีคนสานข้องใส่ปลาขายอยู่ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่ซื้อไปจับปลาจริงๆ แต่ถ้ามีการปรับดีไซน์อีกหน่อย ข้องจับปลาก็อาจจะเป็นได้มากกว่าพรอบหรือของตบแต่งบ้าน หากเป็นของใช้ที่ไปกับยุคสมัยได้จริงๆ หลังเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมที่เชียงใหม่ เราไปทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ งานหนักแต่ก็สนุก…
“เรากับแฟนเป็นเลสเบี้ยน และรับหลานมาเลี้ยงเป็นลูก เป็นครอบครัวที่มีแม่สองคน ลูกสาวหนึ่งคน ราว 4-5 ปีที่แล้ว เราปลูกบ้านดินในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอสันกำแพง ความที่ครอบครัวเราเป็นแบบนั้น เราจึงสัมผัสได้ถึงความอคติและสายตาที่ไม่เป็นมิตรของคนในหมู่บ้าน กระทั่งวันหนึ่งบ้านเราเกิดไฟไหม้ ก่อนจะพบทีหลังว่ามันไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ครอบครัวเราจึงตัดสินใจไม่กลับไปอยู่บ้านหลังนั้นอีกเลย ถ้าคุณเป็นคนชั้นกลางที่ดำเนินชีวิตแบบคนทั่วไป คุณอาจพบว่าเชียงใหม่น่าอยู่ เป็นเมืองที่มีครบ ค่าครองชีพไม่สูงนัก และหากไม่นับเรื่องปัญหาหมอกควัน อากาศที่นี่ก็ดีกว่าเมืองอื่นๆ แต่ในทางกลับกัน…