“ผมมองว่าความเป็นเมืองนานาชาติที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย คือความพิเศษของเมืองเชียงใหม่ เพราะข้อสำคัญข้อหนึ่งเลยก็คือความหลากหลายเปิดให้เราได้เรียนรู้นอกสถาบันการศึกษาได้อย่างไม่จบสิ้น อย่างการทำงานกราฟิตี้หรือสตรีทอาร์ทของผม ก็เกิดจากการเรียนรู้จากศิลปินฝรั่งที่มาใช้ชีวิตหรือทำงานที่นี่ ไม่มีโรงเรียนไหนมาสอนการพ่นกำแพงหรอกครับ แน่นอน เมื่อก่อนคนส่วนใหญ่มองว่าสตรีทอาร์ทมีภาพลักษณ์ที่ทำให้เมืองสกปรกหรือเป็นที่น่ารังเกียจ แต่พอเวลาผ่านไปเราก็ได้เรียนรู้ว่าถ้ามีการเรียนรู้หรือการจัดการที่ดี สตรีทอาร์ทมีส่วนทำให้เมืองสวยงามและเพิ่มมูลค่าของย่านนั้นๆ อย่างเช่นที่เมืองจอร์จทาวน์บนเกาะปีนัง ในหลายย่านของสิงคโปร์ หรือเมืองเก่าอย่างภูเก็ตหรือสงขลา สตรีทอาร์ทกลายเป็นเครื่องดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย อย่าง Dream Space Gallery CNX ที่ผมรับหน้าที่ร่วมดูแลอยู่ก็เช่นกัน…
“เราเรียนจบมาด้านสถาปัตยกรรม แต่ด้วยความที่เราสนใจองค์ความรู้เกี่ยวกับล้านนาและงานวิจัย เลยมุ่งไปทำงานวิจัย ไม่ได้ทำงานออกแบบเท่าไหร่ จนมาเจอพี่เบิด (ประสงค์ แสงงาม) ซึ่งเราเปิดบริษัททำอีเวนท์ด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยกัน ก็เลยมีโอกาสได้ใช้ทักษะในงานออกแบบภูมิทัศน์มาผสานกับองค์ความรู้จากพี่เบิด ที่เขาสะสมมาจากคนเฒ่าคนแก่หรือพ่อครูแม่ครูอีกที บริษัทจึงมีจุดแข็งที่เราทำงานอีเวนท์ที่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามขนบวัฒนธรรม สามารถอธิบายคุณค่า หรือความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เรานำมาออกแบบได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างการใช้ตุงประดับตบแต่งงาน เราใช้ตุงไส้หมูที่คนล้านนาใช้ตานปักไว้บนต้นเขืองและเจดีย์ทรายในประเพณีปี๋ใหม่เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ฉะนั้นถ้าเราจะเอามาใช้ประดับงาน ตำแหน่งของตุงควรอยู่ที่สูง ไม่ควรอยู่ต่ำหรือห้อยกับอะไรที่มันไม่สมควร…
“ตอนเด็กๆ ผมเป็นแฟนรายการวิทยุชื่อมรดกล้านนา ของอาจารย์สนั่น ธรรมธิ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ผมอยากทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม พอเข้ามาเรียนต่อในเมืองก็เลยติดต่อไปหาอาจารย์สนั่น บอกว่าผมเล่นดนตรีพื้นเมืองเป็น อาจารย์ท่านก็เลยแนะนำให้ไปเล่นดนตรีที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่หารายได้เสริม จนเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้รู้จักกับอาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ ที่กำลังก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาพอดี ก็เลยไปเป็นอาสาสมัครสอนดนตรีล้านนา กินนอนที่นั่นอยู่พักใหญ่ ช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย (ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) คือช่วงไล่เลี่ยกับการฉลองครบ 700 ปีเมืองเชียงใหม่พอดี…
“สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นการรวมกันของเด็กนักเรียนในโรงเรียนภายในเขตเทศบาลเชียงใหม่ โดยแต่ละโรงเรียนจะมีตัวแทนมาร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การพัฒนาชุมชน และรณรงค์แก้ปัญหาต่างๆ ที่วัยรุ่นอย่างพวกเราส่วนใหญ่ต้องเจอ ทั้งการกลั่นแกล้ง การพนัน ยาเสพติด ภัยจากโลกออนไลน์ ไปจนถึงการท้องก่อนวัยอันควร ตอนนี้ในสภามีด้วยกัน 21 คนครับ ตัวแทนจากโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนมี 4 คน อันนี้ไม่รวมคณะทำงานที่มีกระจายอยู่ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งบางคนก็ทำงานสภามาก่อน ผมเข้าร่วมสภาเด็กตั้งแต่ขึ้น…
“ผมเรียนมัธยมที่นี่ พอเรียนจบมหาวิทยาลัย ด้วยความอยากเป็นครู ก็เลยกลับมาสมัครทำงานที่โรงเรียน จนทุกวันนี้เราเป็นครูสอนสังคมศึกษาโรงเรียนดาราวิทยาลัยมาได้ 10 ปีแล้ว ตอนสอนใหม่ๆ หลักสูตรวิชาสังคมของโรงเรียนในเชียงใหม่ยังมีวิชาล้านนาศึกษา หรือท้องถิ่นศึกษาอยู่ จนราว 4-5 ปีที่แล้วที่รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายให้ถอดวิชานี้ออก และแทนที่ด้วยวิชาหน้าที่พลเมือง การเรียนการสอนให้เด็กๆ เข้าใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงค่อยๆ เลือนหายไป ผลลัพธ์เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีหลายครั้งที่ครูสั่งการบ้านเด็กๆ ให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับของดีประจำชุมชนของนักเรียนมาส่ง…