“ผมนั่งรถผ่านย่านช้างม่อยเพื่อไปโรงเรียนที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำปิงตั้งแต่เด็ก ความทรงจำของผมคือที่นี่เป็นย่านตึกแถวเก่าๆ ที่มีโกดังเต็มไปหมด ไม่ได้มีเสน่ห์หรือคุณค่าอะไร กระทั่งผมไปเรียนต่างประเทศและกลับมาทำงานที่เชียงใหม่เมื่อราว 5 ปีที่แล้ว จึงเห็นว่าย่านนี้เปลี่ยนไปมาก มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ บูรณะตึกให้กลายเป็นคาเฟ่หรือร้านรวงที่สอดรับกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเห็นได้ตามเมืองเก่าแก่ใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลก พอได้กลับมาเห็นที่ช้างม่อย ย่านที่ผมมองข้ามมาตลอด จึงรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ ความที่ผมเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรม ผมจึงมักชวนนักศึกษาในชั้นเรียนให้ลงพื้นที่ไปเรียนรู้วิถีตามย่านต่างๆ ในเมืองอย่างสม่ำเสมอ ช้างม่อยเป็นหนึ่งในที่ที่ผมไม่เคยพลาดที่จะพานักศึกษามาเยือน เพราะมันไม่ใช่แค่รูปแบบของอาคารพาณิชย์ในยุคโมเดิร์น…
“ตอนอยู่ในโรงเรียน หนูเรียนและทำข้อสอบได้ดี ซึ่งครูหลายคนก็บอกว่าเราน่าจะไปเรียนต่อสายวิทย์ ไปเรียนต่อหมอได้แน่ๆ ซึ่งตอนนั้นเราอายุแค่ 9 ขวบเอง ไม่ได้คิดอะไร จนวันหนึ่งแม่มาบอกว่าจะให้ออกจากโรงเรียนมาเรียนที่บ้านเป็นเพื่อนน้อง หนูก็ดีใจนะ เพราะไม่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียนแล้ว (หัวเราะ) แต่เอาเข้าจริง อึดอัดมากๆ ค่ะ เพราะเราเรียนอยู่บ้าน ก็ย่อมขี้เกียจเป็นธรรมดา ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่สักพักเพื่อให้เรารับผิดชอบต่อบทเรียน เรียนคือเรียน พักคือพัก…
“สามีเราเป็นคนออสเตรีย เปิดออฟฟิศด้านซอฟต์แวร์อยู่เชียงใหม่ เราเคยร่วมงานกัน ก่อนจะคบหาและใช้ชีวิตด้วยกัน พอมีลูกคนแรก สามีก็เปรยเรื่องการเรียนโฮมสคูลมาก่อนแล้ว แต่ตอนนั้นเราอยากลองให้ลูกเข้าโรงเรียนปกติดูก่อน เรามีลูกสองคน อายุห่างกันสามปี พอเริ่มสังเกตว่ามิคาเอลลูกคนเล็ก ไม่ค่อยมีความสุขกับการเรียนในห้องเรียนเท่าไหร่ ซึ่งก็พอดีได้รู้จากพี่ชัช (ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ) เรื่องการจัดการศึกษาทางเลือกในครอบครัว เราก็เรียนรู้เรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง ก่อนมาคุยกับลูกๆ ว่า เรามาเรียนหนังสือกันที่บ้านไหม เดี๋ยวแม่สอนเอง…
“แม่ไม่มีลูก มีแต่หลานๆ และความที่เราเป็นประธานชุมชนและอยู่มานาน คนในชุมชนและในตลาดจึงเรียกเราติดปากว่าแม่ เลยมีลูกๆ เป็นพ่อค้าแม่ค้าในตลาดแทน (ยิ้ม) ลูกๆ และหลานๆ เหล่านี้นี่แหละสอนแม่ใช้ไลน์ สอนให้รู้ว่าจะจ่ายเงินหรือรับโอนเงินทางมือถืออย่างไร ซึ่งทำให้ชีวิตแม่ง่ายขึ้นมาก แม่มีกลุ่มไลน์ที่ตั้งไว้ขายอาหาร ในทุกๆ เย็น เราจะเขียนบอกคนในกลุ่มว่าพรุ่งนี้จะทำกับข้าวอะไรบ้าง ไข่คว่ำ หลามบอน น้ำพริกแมงดา แกงฮังเล…
“เราเป็นคนชอบงานจักสาน และใช้มันในชีวิตประจำวัน ครั้งหนึ่งเราไปเดินตลาด สวมเดรสและถือตะกร้าหวายไปด้วย เดินไปสักพัก มีคุณป้ามาทักว่าขายอะไรน่ะลูก เรายิ้ม และบอกว่าเป็นคนซื้อเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) หลังจากวันนั้นมาเราก็คิด อืม… ถ้างานจักสานแบบนี้มันถูกปรับดีไซน์ให้สอดคล้องการแต่งกายของคนสมัยนี้ก็น่าจะดีนะ แบบที่เรายังเห็นว่าทุกวันนี้ยังมีคนสานข้องใส่ปลาขายอยู่ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่ซื้อไปจับปลาจริงๆ แต่ถ้ามีการปรับดีไซน์อีกหน่อย ข้องจับปลาก็อาจจะเป็นได้มากกว่าพรอบหรือของตบแต่งบ้าน หากเป็นของใช้ที่ไปกับยุคสมัยได้จริงๆ หลังเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมที่เชียงใหม่ เราไปทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ งานหนักแต่ก็สนุก…
“เรากับแฟนเป็นเลสเบี้ยน และรับหลานมาเลี้ยงเป็นลูก เป็นครอบครัวที่มีแม่สองคน ลูกสาวหนึ่งคน ราว 4-5 ปีที่แล้ว เราปลูกบ้านดินในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอสันกำแพง ความที่ครอบครัวเราเป็นแบบนั้น เราจึงสัมผัสได้ถึงความอคติและสายตาที่ไม่เป็นมิตรของคนในหมู่บ้าน กระทั่งวันหนึ่งบ้านเราเกิดไฟไหม้ ก่อนจะพบทีหลังว่ามันไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ครอบครัวเราจึงตัดสินใจไม่กลับไปอยู่บ้านหลังนั้นอีกเลย ถ้าคุณเป็นคนชั้นกลางที่ดำเนินชีวิตแบบคนทั่วไป คุณอาจพบว่าเชียงใหม่น่าอยู่ เป็นเมืองที่มีครบ ค่าครองชีพไม่สูงนัก และหากไม่นับเรื่องปัญหาหมอกควัน อากาศที่นี่ก็ดีกว่าเมืองอื่นๆ แต่ในทางกลับกัน…
“ผมมองว่าความเป็นเมืองนานาชาติที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย คือความพิเศษของเมืองเชียงใหม่ เพราะข้อสำคัญข้อหนึ่งเลยก็คือความหลากหลายเปิดให้เราได้เรียนรู้นอกสถาบันการศึกษาได้อย่างไม่จบสิ้น อย่างการทำงานกราฟิตี้หรือสตรีทอาร์ทของผม ก็เกิดจากการเรียนรู้จากศิลปินฝรั่งที่มาใช้ชีวิตหรือทำงานที่นี่ ไม่มีโรงเรียนไหนมาสอนการพ่นกำแพงหรอกครับ แน่นอน เมื่อก่อนคนส่วนใหญ่มองว่าสตรีทอาร์ทมีภาพลักษณ์ที่ทำให้เมืองสกปรกหรือเป็นที่น่ารังเกียจ แต่พอเวลาผ่านไปเราก็ได้เรียนรู้ว่าถ้ามีการเรียนรู้หรือการจัดการที่ดี สตรีทอาร์ทมีส่วนทำให้เมืองสวยงามและเพิ่มมูลค่าของย่านนั้นๆ อย่างเช่นที่เมืองจอร์จทาวน์บนเกาะปีนัง ในหลายย่านของสิงคโปร์ หรือเมืองเก่าอย่างภูเก็ตหรือสงขลา สตรีทอาร์ทกลายเป็นเครื่องดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย อย่าง Dream Space Gallery CNX ที่ผมรับหน้าที่ร่วมดูแลอยู่ก็เช่นกัน…
“เราเรียนจบมาด้านสถาปัตยกรรม แต่ด้วยความที่เราสนใจองค์ความรู้เกี่ยวกับล้านนาและงานวิจัย เลยมุ่งไปทำงานวิจัย ไม่ได้ทำงานออกแบบเท่าไหร่ จนมาเจอพี่เบิด (ประสงค์ แสงงาม) ซึ่งเราเปิดบริษัททำอีเวนท์ด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยกัน ก็เลยมีโอกาสได้ใช้ทักษะในงานออกแบบภูมิทัศน์มาผสานกับองค์ความรู้จากพี่เบิด ที่เขาสะสมมาจากคนเฒ่าคนแก่หรือพ่อครูแม่ครูอีกที บริษัทจึงมีจุดแข็งที่เราทำงานอีเวนท์ที่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามขนบวัฒนธรรม สามารถอธิบายคุณค่า หรือความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เรานำมาออกแบบได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างการใช้ตุงประดับตบแต่งงาน เราใช้ตุงไส้หมูที่คนล้านนาใช้ตานปักไว้บนต้นเขืองและเจดีย์ทรายในประเพณีปี๋ใหม่เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ฉะนั้นถ้าเราจะเอามาใช้ประดับงาน ตำแหน่งของตุงควรอยู่ที่สูง ไม่ควรอยู่ต่ำหรือห้อยกับอะไรที่มันไม่สมควร…
“ตอนเด็กๆ ผมเป็นแฟนรายการวิทยุชื่อมรดกล้านนา ของอาจารย์สนั่น ธรรมธิ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ผมอยากทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม พอเข้ามาเรียนต่อในเมืองก็เลยติดต่อไปหาอาจารย์สนั่น บอกว่าผมเล่นดนตรีพื้นเมืองเป็น อาจารย์ท่านก็เลยแนะนำให้ไปเล่นดนตรีที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่หารายได้เสริม จนเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้รู้จักกับอาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ ที่กำลังก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาพอดี ก็เลยไปเป็นอาสาสมัครสอนดนตรีล้านนา กินนอนที่นั่นอยู่พักใหญ่ ช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย (ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) คือช่วงไล่เลี่ยกับการฉลองครบ 700 ปีเมืองเชียงใหม่พอดี…
“สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นการรวมกันของเด็กนักเรียนในโรงเรียนภายในเขตเทศบาลเชียงใหม่ โดยแต่ละโรงเรียนจะมีตัวแทนมาร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การพัฒนาชุมชน และรณรงค์แก้ปัญหาต่างๆ ที่วัยรุ่นอย่างพวกเราส่วนใหญ่ต้องเจอ ทั้งการกลั่นแกล้ง การพนัน ยาเสพติด ภัยจากโลกออนไลน์ ไปจนถึงการท้องก่อนวัยอันควร ตอนนี้ในสภามีด้วยกัน 21 คนครับ ตัวแทนจากโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนมี 4 คน อันนี้ไม่รวมคณะทำงานที่มีกระจายอยู่ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งบางคนก็ทำงานสภามาก่อน ผมเข้าร่วมสภาเด็กตั้งแต่ขึ้น…