City Data

เดินเที่ยวย่านกะดีจีน-คลองสาน :
ท่องอดีตสองย่าน เรียนรู้วิถีชีวิต
พหุวัฒนธรรม

หากกล่าวถึงย่านฝั่งธนฯ ในการรับรู้และความทรงจำของใครหลายคนที่เคยอ่านนวนิยายเรื่อง “แวววัน” นั้นคือพื้นที่ฝั่งตรงข้ามของพระนครที่ความเจริญยังไม่เข้าถึง เต็มไปด้วยสวนผลไม้ สวนหมากพลูที่แวววันมีหน้าที่เรียงพลูเพื่อหาเงินพิเศษไว้ใช้จ่าย เรือข้ามฟากคือพาหนะหลักในการจะข้ามไปฝั่งพระนคร ในนิยายเรื่องแวววันนั้น ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าที่บ้านสวนของแวววันจะมีไฟฟ้า มีน้ำประปาเข้าถึง ฝั่งธนฯ ในความคิดคำนึงของใครหลายคนที่ได้อ่านนวนิยายเรื่องนี้เมื่อกว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา จึงไม่ต่างอะไรจากบ้านนอกทั่วไปของไทย แต่ในเมื่อฝั่งธนฯ คือพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับพระนครและเป็นหนึ่งเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครฯ การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนฯ จึงก้าวไปพร้อมๆ กับที่กรุงเทพฯ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สวนผลไม้ที่เคยส่งกลิ่นหอมในบันทึกของเฟรเดอริก…

2 years ago

บนถนนแห่งการเรียนรู้อำเภอขลุง

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตรเป็นที่นิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งสะท้อนค่านิยมและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปในทางใฝ่หาการเรียนรู้ความดั้งเดิม จริงแท้ของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น ประเทศต่างๆ จึงใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นกลไกสำคัญหนึ่งในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สำหรับจังหวัดจันทบุรีเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตรที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่หมู่บ้านไร้แผ่นดิน บ้านบางชัน (อำเภอขลุง) และบ้านหนองชิ่ม-เกาะเปริด (อำเภอแหลมสิงห์) มีที่พักแบบโฮมสเตย์และกิจกรรมล่องแพเปียก ชมป่าชายเลน ดูเหยี่ยว เที่ยวทะเลใน และทะเลแหวกปากน้ำเวฬุ (อำเภอขลุง) ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น…

2 years ago

ขลุง เมืองพหุวัฒนธรรมและเกษตรนำวิถี

จังหวัดจันทบุรีอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งพื้นที่ป่า ภูเขา ทะเล เป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล อีกทั้งมีความหลากหลายของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชุมชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมหลายชนชาติซึ่งเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของจันทบุรีมาแต่อดีตกาล อาทิ ชาวจีน ชาวญวน และชาวชอง ซึ่งถือเป็นชนพื้นเมืองจันทบุรี มีภาษาพูดเป็นภาษาชองที่แตกต่างจากภาษาเขมรและภาษาไทย ทางมานุษยวิทยาจัดให้อยู่ในจำพวกตระกูลมอญ-เขมร เช่นเดียวกับพวกขอมโบราณ โดยอาศัยอยู่บริเวณอำเภอขลุง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด อันเป็นชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา น้ำตก ป่าชายเลน…

2 years ago

เรียนรู้ยะลาด้วย infographic
ที่ถูกเล่าใหม่ให้ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

We Citizens Thailand ชวนร่วมเรียนรู้เรื่องราวของยะลาที่ถูกเล่าใหม่ด้วยคนยะลา คนที่รักยะลา เพื่อพัฒนาเมืองยะลาอันเป็นที่รัก คลิกภาพเพื่อดูภาพขยายเต็ม 100%

2 years ago

เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุขด้วย infographic สุดน่ารัก

We Citizens Thailand ชวนเที่ยวหัวหินผ่าน infographic "เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุข" แผนที่เรียนรู้พร้อมชวนชมที่เที่ยวที่กินในเมืองหัวหินที่คุณไม่ควรพลาด กดภาพ infographic เพื่อขยายเต็ม 100%

2 years ago

จากทวดทองสู่นครราษฎรสร้าง
สำรวจหาดใหญ่ผ่านประวัติศาสตร์
ข้ามศตวรรษ

หาดใหญ่คือชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา ด้วยสถานะของการเป็นศูนย์กลางของหลายสิ่งอย่างในภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงการเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติ หลายคนจึงเข้าใจผิดว่านี่คือชื่อจังหวัด หรือเข้าใจว่าเป็นอีกชื่อของอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา   อย่างไรก็ตาม หาดใหญ่คือชื่ออำเภอ ส่วนอำเภอเมืองจังหวัดสงขลาอยู่ห่างออกมาราว 30 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นี่คืออำเภอที่ว่าไปแล้วก็มีเกร็ดอันย้อนแย้งหลายประการ ไม่ว่าจะเรื่องความเข้าใจผิดถึงสถานะของเมืองดังที่ว่ามา การมีชื่อขึ้นต้นด้วยหาด แต่กลับไม่มีพื้นที่ติดทะเล หรือการที่เมืองมีสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ (สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่กว่า 900…

2 years ago

สำรวจ ‘ยะลา’ เมืองแห่งการเรียนรู้
จากต้นธารอาหารสู่ต้นทุนผังเมืองและพหุวัฒนธรรม

เมื่อเอ่ยถึงยะลาคุณนึกถึงอะไร? เมืองที่ตั้งของอำเภอเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศ? จังหวัดในภาคใต้ที่อาภัพที่สุด เพราะเป็นแห่งเดียวที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล? หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม? หรือเมืองที่หลายคนคุ้นเคยจากเสียงระเบิดและเหตุการณ์ความไม่สงบ ใช่ โดยเฉพาะข้อหลัง กล่าวตามตรง แม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ทุกวันนี้ หลายคนก็ยังจดจำภาพยะลาในฐานะดินแดนแห่งความไม่สงบอยู่เลย ทีมงาน WeCitizens เพิ่งมีโอกาสลงไปเยี่ยมเยือนอำเภอเมืองยะลามาเมื่อปลายปี 2565 และพบว่าภาพที่หลายคนจดจำกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้เรายังพบบังเกอร์ปูนที่ใช้ป้องกันระเบิดอันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากยุคของความรุนแรงจากปี 2547…

2 years ago

เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุข

จากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่มีคนอยู่อาศัยไม่มาก ชุมชนขยายตัวขึ้นจากคนจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียงอพยพเข้ามาทำมาหากิน จนการมาถึงของเส้นทางรถไฟสายใต้ ณ สถานีรถไฟหัวหิน เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วยบรรยากาศรื่นรมย์และสวยงามของธรรมชาติชายฝั่งทะเล นำพาให้พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มาสร้างตำหนักบ้านพักตากอากาศไว้มากมาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง สร้างที่พักตากอากาศขึ้นบริเวณหัวหิน…

2 years ago

ขับเคลื่อน หัวหิน เมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยความสุข

อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่องเที่ยวตากอากาศระดับโลก เป็นเมืองสำคัญของประเทศที่มีความพร้อมหลายด้านด้วยต้นทุนสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้หลากหลายและมีเอกลักษณ์ ผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 และวิกฤติเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ส่งผลต่อเศรษฐกิจการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของประชาชนให้ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกยุคชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งจะต้องพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ อันเป็นทักษะสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพบุคคล เทศบาลเมืองหัวหิน หน่วยงานท้องถิ่นที่มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตร คำนึงถึงวิสัยทัศน์เมืองว่า…

2 years ago

เส้นทางแห่งความสุขในชุมชนริมป่า
อเมซอนเมืองนคร สำรวจ 5 พื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ทำให้คุณอิ่มท้อง อิ่มสมอง อิ่มใจในปากพูน

เทศบาลเมืองปากพูน ตั้งอยู่ในตำบลปากพูน อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ที่นี่เป็นคล้ายปราการด่านหน้าของเมืองนคร ไม่ใช่เพียงเพราะความเป็นปากน้ำทางทิศเหนือ ซึ่งเดิมเป็นเส้นทางคมนาคมจากอ่าวไทยสู่ตัวเมือง หากยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ที่ซึ่งหากใครเดินทางมาเยือนจังหวัดแห่งนี้ด้วยเครื่องบิน ปากพูนจะเป็นสถานที่แรกที่รอต้อนรับ บนพื้นที่ 93.78 ตารางกิโลเมตรที่ประกอบด้วย 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน กว่า 70% คือที่ราบลุ่มอันเกิดจากการทับถมของสันดอนดินปนทรายอันเป็นที่มาของชื่อปากพูน ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 30%…

2 years ago