บรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง ผมรู้สึกยินดีกับวันนี้ที่เป็นอีกก้าวของความสําเร็จที่ทาง บพท. มาร่วมมือกับทางท้องถิ่น จนเกิดการวิจัยร่วมกันในการที่จะสร้างและพัฒนาเมือง โดยใช้งานวิชาการเข้ามาช่วย อย่างที่อาจารย์ปุ่น กล่าวกับเรา ว่าเรากำลังร่วมกันออกเดินทาง ตอนนี้เราเราก็ร่วมกันเดินทางกันมาแล้ว 1 ปี ย้อนกลับไปก่อนที่จะเกิดโครงการ CIAP ขึ้นมา ตอนนั้นเรามีข้อเสนอจากทาง บพท. มาถึงทางสมาคมเทศบาลนครและเมือง เพราะเห็นว่าสมาคมฯ มีศักยภาพ และมองว่าน่าจะเป็นโอกาสสำคัญที่จะสามารถสร้างการวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาเมืองที่ชัดเจนได้ แล้วก็น่าจะสร้างตัวอย่างนําร่องให้กับท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในวันนี้เรามีเทศบาลอยู่ทั่วประเทศกว่า 2,400 แห่ง เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลนครรวมแล้ว 225 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เราก็สามารถคัดเลือกพื้นที่เฉพาะเจาะจงลงไปได้ และการที่สำคัญคือความตั้งใจ และความต้องการอยากร่วมมืองานของทางสมาคมที่เห็นประโยชน์กับการดำเนินการครั้งนี้ มีอยู่แล้วเป็นที่ตั้ง ตลอดการทำงานที่ผ่านมา เรามีนายกฯ จากหลายเมืองเข้าร่วม และเล็งเห็นประโยชน์ เพราะงานนี้เป็นงานวางรากฐานสร้างเมืองในระยะยาว แล้วก็สามารถที่จะเป็นประโยชน์กับพื้นที่ของทุกท่านในอนาคต แต่หัวใจสำคัญว่างานจะประสบความสำเร็จหรือไม่…
การกล่าวภาพรวมการขับเคลื่อนโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดระยะที่ 1บรรยายโดย ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม หัวหน้าโครงการโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด CIAP | นายฉัตรกุล ชื่นสุวรรณกุล รองนายกเทศบาลเมืองสระบุรีและที่ปรึกษาโครงการฯ CIAP ภายในงาน เวทีแถลงความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด (CIAP) วันที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 - 16.00 น.ณ ห้องประชุม กมลทิพย์ 2 (Kamolthip 2)…
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณท่านนายกฯ สมาคมเทศบาลนครและเมือง เจ้าหน้าที่เทศบาล อาจารย์ นักวิจัยทุกท่าน ขอขอบคุณที่ร่วมยืนหยัดในเรื่องการใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้เราจะได้รับฟังกันและกันถึงประสบการณ์ ที่เราร่วมทำงานกันเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมาเราต่างพบว่า ข้อมูล คือ ต้นทุนสำคัญ วันนี้ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่าเราจะทํายังไงเพื่อใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเชื่อมั่นว่าในเรื่องของความรู้ข้อมูล ถ้าไม่ลงมือทำในระดับ ท้องถิ่นของเรา โอกาสที่จะประสบความสําเร็จในงานพัฒนาเมืองจะเป็นไปได้ยากมาก เพราะอย่างที่เราทราบโครงสร้างสังคมและการบริหารของเรามันแยกส่วนเป็นขนมชั้น แบ่งระหว่างรัฐบาลส่วนกลาง ท้องถิ่นและภาคประชาชน การทำงานเป็นแบบแนวตั้ง ไม่ต่อเนื่องกัน และมีรอยแยก วัตถุประสงค์หลักของพวกเรา คือ การใช้ข้อมูลเมืองให้ได้มากที่สุด และผมคิดว่าเราน่าจะเป็นทีมแรกๆ ที่จัดการและใช้ข้อมูล ผสานกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และกลไกซึ่งก็คือผู้คน ช่วยกันสร้างเมืองที่เรารักให้น่าอยู่ กลไกที่เราพูดถึง คือ ผู้คน รวมกันเป็นขบวนแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน คือ ขบวนของคนที่รัก เมือง และช่วยกันมองเมือง และตั้งคำถามว่าเมืองของเราเป็นอย่างไรเรารู้จักเมืองของเราดีแค่ไหน ตัวชี้วัดสําคัญ…
พื้นที่ 20.13 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลเมืองสระบุรีคือสังคมเมืองขนาดกำลังพอดี มีบรรยากาศไม่เร่งรีบอย่างเมืองมหานคร และมีเสน่ห์เรียบง่ายของเมืองเล็ก ที่สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะครบถ้วนในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิต เทศบาลฯ ผลักดันโครงการพัฒนาเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง มีแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อสร้างเมืองน่าอยู่ เช่น สร้างพื้นที่สีเขียวแห่งแรกของเมืองสระบุรี กว่า 20 ไร่ ปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรีและพื้นที่โดยรอบ สร้างสถานที่ที่ใช้รักษาร่างกายด้วยธาราบำบัด ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมืองร่วมสมัย และโครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และการพักผ่อนสำหรับประชาชนและผู้มาเยือน หากโจทย์อันท้าทายของเทศบาลเมืองสระบุรีอยู่ที่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตั้งแต่การมีสะพานต่างระดับ…
รู้จักเมืองสระบุรีใน 5 นาที กับข้อมูลเมือง เรียบเรียงโดย WeCitizens ข้อมูลจากโครงการ CIAP เมืองสระบุรี, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลเมืองสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่ในตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่เพียง 5 ตารางกิโลเมตร…
เทศบาลเมืองสระบุรีโจทย์อันท้าทายการรับมือสภาวะเมืองหดตัว จังหวัดสระบุรีมีจุดแข็งเชิงยุทธศาสตร์หลายด้านทั้งเป็นพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมการขนส่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงในอนาคตกำลังมีการพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยาแม่น้ำโขง (Ayeyawady Chao Phraya Mekong Exonomic Cooperation Strategy:…
เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Report) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง รวมถึงพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากโจทย์หลักที่เทศบาลฯ โดย…
น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบัน แต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา แม้ชาวบ้านหลายรุ่นจะคุ้นชินกับน้ำที่ท่วมเรือกสวนและบ้านเรือนในฤดูน้ำหลาก หากไม่ใช่กับปัจจุบัน เมื่อชุมชนปากเกร็ดกลายมาเป็นนครขนาดใหญ่ที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริหารจัดการระดับประเทศเช่นนี้ เทศบาลนครปากเกร็ดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่…
จักสาน อาหารถิ่น ดินแดนเอ็งกอ ทุนวัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ “เครื่องจักสาน” “อาหารท้องถิ่น” “เอ็งกอ” และ “ผู้คน” ร่วมสำรวจต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมที่ช่วยเติมเต็มความสมาร์ทให้กับเมืองน่าอยู่ เมืองจักสาน กับการเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานชาวพนัสฯ จากเมืองที่สันนิษฐานกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพระรถเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน พนัสนิคมได้รับการสถาปนาเป็นเมืองชั้นจัตวาเมื่อปี 2371 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยท้าวทุม…
แม้จะมีจุดเด่นคือความสงบและน่าอยู่ แต่ด้วยทำเลที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และเมืองหลักศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างชลบุรี ฉะเชิงเทรา หรือระยอง เทศบาลเมืองพนัสนิคมจึงไม่สามารถฉกฉวยโอกาสต่อยอดฐานเศรษฐกิจจากเมืองหลักที่รายล้อม และทำให้คนรุ่นใหม่ในเมืองจำใจละทิ้งบ้านเกิดไปแสวงหาโอกาสจากเมืองเหล่านั้นแทนอย่างเลี่ยงไม่ได้ นั่นทำให้ในขณะที่พนัสนิคมกำลังประสบกับสภาวะ “เมืองหด” จากการที่ประชากรรุ่นใหม่ย้ายออกไปทำงานต่างถิ่น ขณะที่ตัวเมืองก็เข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ โดยในปี 2564 เมืองแห่งนี้มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 25.89 ของประชากรทั้งหมด (ผู้สูงอายุจำนวน 2,594 คน จากทั้งหมด…