Learning City

We Citizens เสียงของคนจากทุกเมืองแห่งการเรียนรู้

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้”…

2 years ago

หัวหินดึงศักยภาพสำคัญของเมืองตากอากาศมาเป็นกลไกขับเคลื่อนสังคมด้วย 5 ทุนคือ ทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรม ทุนสิ่งแวดล้อม ทุนสังคม และทุนเศรษฐกิจ

"แปลงต้นทุนเป็นต้นไม้แห่งการเรียนรู้" บุคลิกของหัวหินคือเมืองราชินีตากอากาศ ซึ่งดร.ศิวัช บุญเกิด หัวหน้าชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” จำกัดความ “หัวหิน” ว่าเป็นเมืองตากอากาศ ไม่ใช่เมืองชายทะเล นัยว่าถอดคำมาจากดีเอ็นเอของเมืองที่เป็นวัง เจ้า หาด ตากอากาศ เป็นการชวนคืนสู่รากเหง้า คืนสู่กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากดีเอ็นเอที่ส่งให้บุคลิกเมืองมีความผู้ดี สงบนิ่ง มาพักผ่อนสบายใจ รู้สึกปลอดภัย…

2 years ago

ชาวสวนเฟื่อง วิถีประมงฟู ว่าด้วยแหล่งเรียนรู้อันแสนฟูเฟื่องของ ‘ปากพูน’ ชุมชนหน้าอ่าวเมืองนคร

ผศ.ดร. ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เล่าให้เราฟังว่า คำว่า ‘ปากพูน’ ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นชื่อที่ถูกเรียกตามสัณฐานของปากแม่น้ำที่เชื่อมลำคลองหลากสาขาของชุมชนสู่อ่าวไทย           “คำว่าปากพูนมาจากปากน้ำทะเลที่พูนขึ้นไป พูนเป็นภาษาใต้แปลว่า เยอะ มาก หรือล้นออกไป ด้วยลักษณะแบบนี้ ภูมิศาสตร์ของมันจึงเป็นที่สังเกตง่าย ทั้งทางเรือและทางอากาศ ขณะเดียวกันก็มีร่องน้ำอีกแห่งที่อยู่ไม่ไกลจากกันคือปากนคร…

2 years ago

“ขยับฟันเฟืองให้ปทุมธานี หมุนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้” สนทนากับ รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล ถึงความท้าทายในการขับเคลื่อน “กลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี”

               รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าชุดโครงการ “กลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี” พูดคุยกับ WeCitizens ถึงแนวทางพัฒนาความเชื่อมโยงและกลไกขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบ ปทุมธานี สู่เมืองแห่งการเรียนรู้                โครงการ “กลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี” ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยสู่การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning…

2 years ago

พลวัตแห่งการเกิดใหม่ของพื้นที่เรียนรู้

กลไกขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบ ปทุมธานี สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ วางแผนการทำงานด้วยสองโครงการย่อยตามความเชี่ยวชาญของคณะวิจัย หนึ่ง.คือโครงการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี นำโดยรศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล สังกัดศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองในเชิงกระบวนการและกลไกในการขับเคลื่อนพื้นที่การเรียนรู้ สอง.คือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี โดยคณะวิจัยจากสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่เข้าไปช่วยเติมเต็มให้การออกแบบพื้นที่แห่งการเรียนรู้เป็นไปได้ในเชิงกายภาพ WeCitizens พูดคุยกับทีมนักวิจัย คณาจารย์สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี…

2 years ago

จากฐานภูมิวัฒนธรรมสู่แบรนด์ ‘ครั่ง’ ที่ไปไกลกว่างานวิจัย
สนทนากับ ดร.ขวัญนภา สุขคร ว่าด้วยบทบาทของมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเมืองลำปาง

ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกเราว่าสาเหตุที่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ลำปางขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพราะลำปางมีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากตัวสถาบันของเธอเองมีส่วนขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับเครือข่ายชุมชนมามากกว่า 20 ปี ก่อนที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Learning City คืออะไรเสียอีก “พันธกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง คือการสกัดองค์ความรู้เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเราก็มีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาจังหวัดลำปางมามากกว่า 10 ปี อย่างไรก็ดี…

2 years ago

‘หากปล่อยไว้เชียงใหม่ก็อาจเหลือเพียงตึกรามที่ไร้จิตวิญญาณ’ ว่าด้วยการเชื่อมพื้นที่ทางสังคมเข้ากับเมืองแห่งการเรียนรู้

“ผมสนใจทฤษฎีพื้นที่ทางสังคม (social space) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาผมจะศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งมีรูปแบบเป็นทฤษฎีเป็นหลัก ไม่ได้ลงไปทำกับชีวิตของคนจริงๆ จนพอดีกับที่ บพท. ประกาศทุนเรื่อง learning city ผมจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีในการทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผมได้ลงไปทำงานกับผู้คนในเมืองเชียงใหม่จริงๆ และที่สำคัญ ผมมองว่านี่เป็นโอกาสจะใช้งานวิจัยในการมีส่วนแก้ปัญหาเมือง ก่อนทำงานโครงการนี้ ผมทำวิจัยร่วมกับพี่ตา (สุวารี วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่…

2 years ago

การท่องเที่ยวเชียงใหม่จะยั่งยืน ล้านนา (ต้อง) สร้างสรรค์

“สารตั้งต้นของโครงการ ‘เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพลวัตรที่ยั่งยืน’ มาจากเวทีเชียงใหม่ฮอม เวทีสาธารณะที่ชวนผู้คนในภาคส่วนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว (พ.ศ. 2561) ในเวทีนั้นผู้คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าปัญหาที่เมืองเรากำลังเผชิญมีสองเรื่องใหญ่ คือเรื่องเศรษฐกิจอันเกิดจากผลกระทบของโควิด-19 และปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจึงเลยนำสองเรื่องนี้มาตั้งโจทย์ว่าถ้างั้นเราจะสนับสนุนให้คนเชียงใหม่เรียนรู้เรื่องใดบ้าง ที่จะนำมาสู่กระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมาคิดถึงการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้สอดรับกับความเป็นเมืองท่องเที่ยว ส่วนประเด็นที่สองเรามองเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมเพื่อเป็นโมเดลในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง แม้จะแบ่งเป็น 2 โครงการย่อยที่แตกต่างอย่างชัดเจน…

2 years ago

ทำความรู้จัก Learning City

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้”…

2 years ago