Livable & Smart City

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ และก็ไม่มีการลงทุนอะไรที่ดึงดูดมากพอ จะทำให้คนรุ่นใหม่อยากมาใช้ชีวิต กระทั่งช่วงเราไปเรียนกรุงเทพฯ  เราก็ทราบข่าวว่าร้อยเอ็ดจะมีการสร้างหอโหวดขึ้น ตอนนั้นยอมรับว่า เราก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับสิ่งนี้สักเท่าไหร่ที่ไหนได้…

1 day ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย เศรษฐกิจดีเกินร้อย: การยกระดับนิเวศเศรษฐกิจของเมืองร้อยเอ็ด" สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสถาบันวิจัยและพัฒนา…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว และหวังกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น            โครงการระยะยาวเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงภูมิทัศน์บึงพลาญชัย และสวนสาธารณะกลางบึง  การสร้างซุ้มประตูสาเกตนคร การขอคืนพื้นที่รอบสี่เหลี่ยมคูเมืองซึ่งเป็นเขตโบราณสถาน ไปพร้อมกับจัดสรรที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับชุมชนที่รุกล้ำพื้นที่…

2 months ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ คือกุญแจสำคัญของการพัฒนาเมือง’           WeCitizens ฉบับเสียงขอนแก่น พาทุกท่านมาร่วมพูดคุย…

1 year ago

ต้องไม่ลืมว่าขอนแก่นเองก็มีโครงการมากมาย และการเชื่อมร้อยทำความเข้าใจร่วมกันก็เป็นสิ่งสำคัญ Learning City เข้ามาเติมเต็มกลไกตรงนี้

“จริง ๆ การทำงานขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ขอนแก่น เข้ามาเติมเต็มให้กับขอนแก่นโมเดลในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นให้กับผู้คน คือต้องเรียนตามตรงว่า ตัวขอนแก่นโมเดลที่ผ่านมาขับเคลื่อนในลักษณะองค์กร ภาคเอกชน วิชาการ ภาครัฐต่าง ๆ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามก็อาจจะงง ๆ อยู่ว่ามันคืออะไร แต่พอมีโครงการ Learning City ขึ้นมา โครงการทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม และเติมเรื่องการมีส่วนร่วมการรับรู้ของคนเพิ่มเข้าไป…

1 year ago

“อำเภอปากช่องประกาศเป็นสมาร์ตซิตี ถามว่าสมาร์ตซิตีแล้วยังไงต่อ มันสมาร์ตตรงไหน สมาร์ตอย่างไร แต่ว่าหน้าที่เราไม่ใช่หน้าที่บ่น เราเป็นนักปฏิบัติ”

เชื่อมเครือข่ายหุบเขาแห่งความสุข อำเภอปากช่อง อำเภอแรกสุดของการเดินทางจากถนนมิตรภาพสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดพื้นที่ใหญ่สุดของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 12 ตำบล 219 หมู่บ้าน ประชากรราว 190,000 คน มากเป็นอันดับสองรองจากอำเภอเมืองนครราชสีมา ความที่อาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ และอุทยานมรดกแห่งอาเซียน ซึ่งมีระดับโอโซนเป็นอันดับ 7 ของโลก ทำให้ชาวเมืองและผู้มาเยือนได้รับอากาศบริสุทธิ์…

2 years ago

ภูมิปัญญารอบกว๊าน BCG โมเดล และแรงงานนอกระบบ
สนทนากับ รศ.ดร.ผณินทรา ธรานนท์ ว่าด้วยเมืองแห่งการเรียนรู้ ‘ทั้งจังหวัด’ พะเยา

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลเมืองพะเยา ส่งชื่อพะเยาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ของยูเนสโก พร้อมกับจัดงานฉลองด้วยบรรยากาศชื่นมื่นและเปี่ยมด้วยความหวังร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ณ ลานหน้าอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ริมกว๊านพะเยานอกเหนือจากการใช้เครื่องมือสุดสมาร์ทที่ทีมวิจัยนำกลไกการบริหารจัดการแบบสตาร์ทอัพอย่าง Hackathon หรือโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG มาปรับใช้กับพื้นที่การเรียนรู้ท้องถิ่น และกลุ่มแรงงานนอกระบบ ความเจ๋งอีกเรื่องของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของที่นี่คือ…

2 years ago