พื้นที่ 20.13 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลเมืองสระบุรีคือสังคมเมืองขนาดกำลังพอดี มีบรรยากาศไม่เร่งรีบอย่างเมืองมหานคร และมีเสน่ห์เรียบง่ายของเมืองเล็ก ที่สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะครบถ้วนในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิต เทศบาลฯ ผลักดันโครงการพัฒนาเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง มีแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อสร้างเมืองน่าอยู่ เช่น สร้างพื้นที่สีเขียวแห่งแรกของเมืองสระบุรี กว่า 20 ไร่ ปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรีและพื้นที่โดยรอบ สร้างสถานที่ที่ใช้รักษาร่างกายด้วยธาราบำบัด ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมืองร่วมสมัย และโครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และการพักผ่อนสำหรับประชาชนและผู้มาเยือน หากโจทย์อันท้าทายของเทศบาลเมืองสระบุรีอยู่ที่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตั้งแต่การมีสะพานต่างระดับ…
“ความตั้งใจคือ ถ้าจะพัฒนา หรือขับเคลื่อนเมือง ควรมีภาควิชาการมาช่วยทำให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของทั้งประชาชน ของผู้บริหาร ความใฝ่ฝัน ความต้องการในการพัฒนาเมืองของผู้บริหาร อยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริง ประกอบกับการมีเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนเป็นเครื่องมือสำคัญในการอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่าเป็นวิธีการใหม่ คือโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP : The Program for…
“ครอบครัวตั้งแต่รุ่นอากงอาม่าอยู่ที่นี่กันหมด ค้าขายอยู่ตรงท่าน้ำดับเพลิง สมัยก่อนเรียก ท่าปากเพรียว คนจีนเรียก ปั๊กเพียว เป็นท่าเรือริมแม่น้ำป่าสักที่ลงของจากกรุงเทพฯ เข้ามา บ้านที่อยู่ก็โยกย้ายบ้างแต่ก็อยู่บริเวณตลาดนี่แหละ เราเคยชินกับชีวิตที่อยู่ใจกลางเมือง เราหิวเดินไปซื้อได้ เหงา ๆ ก็เดินมาหาเพื่อนในตลาด ทุกคนในตลาดก็รู้จักกันเกือบทั้งหมด เราเคยไปอยู่กรุงเทพฯ กับต่างประเทศหลายปี ช่วงโควิด-19 ก็อยากกลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว เมื่อปีที่แล้ว…
ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว” และ ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยโครงการ จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่ศักยภาพในการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจในเขตภาคกลางตอนบน เนื่องจากมีระบบโครงข่ายการคมนาคมเพียบพร้อมสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครและภูมิภาคต่าง ๆ ได้สะดวก ภายในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร แหล่งผลิตอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการก่อสร้าง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ…
ตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำงานในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสระบุรีสมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2564 ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นำพาคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี ร่วมกันพัฒนาเมืองด้วยวิสัยทัศน์ “ยกระดับคุณภาพคน ชุมชน เมือง เศรษฐกิจ สังคม และดิจิทัล ให้ดีขึ้น อย่างทั่วถึง สมดุล และยั่งยืน” ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา…
รู้จักเมืองสระบุรีใน 5 นาที กับข้อมูลเมือง เรียบเรียงโดย WeCitizens ข้อมูลจากโครงการ CIAP เมืองสระบุรี, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลเมืองสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่ในตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่เพียง 5 ตารางกิโลเมตร…
เทศบาลเมืองสระบุรีโจทย์อันท้าทายการรับมือสภาวะเมืองหดตัว จังหวัดสระบุรีมีจุดแข็งเชิงยุทธศาสตร์หลายด้านทั้งเป็นพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมการขนส่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงในอนาคตกำลังมีการพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยาแม่น้ำโขง (Ayeyawady Chao Phraya Mekong Exonomic Cooperation Strategy:…
เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Report) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง รวมถึงพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากโจทย์หลักที่เทศบาลฯ โดย…
น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบัน แต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา แม้ชาวบ้านหลายรุ่นจะคุ้นชินกับน้ำที่ท่วมเรือกสวนและบ้านเรือนในฤดูน้ำหลาก หากไม่ใช่กับปัจจุบัน เมื่อชุมชนปากเกร็ดกลายมาเป็นนครขนาดใหญ่ที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริหารจัดการระดับประเทศเช่นนี้ เทศบาลนครปากเกร็ดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่…
WeCitizens สนทนากับ รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลนครปากเกร็ด ถึง “โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดและการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด” ที่เขาขับเคลื่อน ว่าด้วยจุดเริ่มต้นและเป้าหมายในการทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองต้นแบบของการจัดการภัยพิบัติในระดับนานาชาติ เทศบาลนครปากเกร็ดมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน และการจัดการน้ำท่วมส่งผลต่อการทำปากเกร็ดให้เป็นเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร ไปติดตามกัน ก่อนอื่น ในฐานะที่คุณเป็นอาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ทำไมจึงเลือกมาทำงานวิจัยไกลถึงเทศบาลนครปากเกร็ด ต้องเท้าความก่อนว่าผมจบปริญญาเอกด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการภัยพิบัติจากสหรัฐฯ…