อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด พนัสนิคม“ความที่เมืองพนัสนิคมแต่เดิมเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองชายทะเล กับเมืองที่อยู่ใกล้ป่าเขา ที่นี่จึงมีลักษณะเป็นชุมทางการค้าที่ผู้คนนำสินค้าจากทะเลและป่าเข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เมืองจึงถูกขยับขยายและเติบโตด้วยอัตลักษณ์แบบที่เห็นขณะเดียวกัน ความที่พนัสนิคมเป็นชุมชนการค้าที่มีความรุ่งเรืองมาก่อนจะเกิดการตัดถนน จึงสังเกตได้ว่าเส้นทางในเมืองมีความคดเคี้ยว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองใหญ่ จริงอยู่จุดนี้อาจเป็นปัญหาในการขยายเมือง แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นเสน่ห์ของการเป็นเมืองเก่า สังเกตดู ถ้าเราขับรถจากทางหลวงที่เรียงรายด้วยโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาในเขตเทศบาลเมือง พอมาถึงเราจะเจอทุ่งนารายล้อมด้านนอก ก่อนจะเจอถนนแคบ ๆ ที่เรียงรายด้วยตึกแถวสมัยก่อน โดยร้านรวงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะจำหน่ายเครื่องมือการเกษตรที่ขัดแย้งกับเขตอุตสาหกรรมรอบนอกอย่างน่าสนใจพนัสนิคมจึงเป็นเหมือนโลกอีกใบหนึ่งเลยนะ เป็นโลกที่บรรจุไว้ด้วยความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมของคนไทย ลาว…
“เมืองปากเกร็ดมีความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากวัฒนธรรมเก่าที่คนโหยหาและมีราคา เรายังมองเห็นประสบการณ์บางอย่างที่คนรุ่นเก่ามีอยู่ และดูมีประโยชน์กับกลุ่มคนใหม่ ๆ โดยต้องหาวิธีจัดการองค์ความรู้นั้นมาใช้ให้ได้ เราจะพาวิธีคิดแบบพิเศษของคนกลุ่มนั้นมาสู่ Digital Workflow ได้อย่างไร ในแบบที่คนรุ่นหลังจะนำไปใช้งานต่อยาว ๆอย่างแรกไปดูก่อนว่าใครเชี่ยวชาญในด้านอะไร แล้วถอดมาเป็น Knowledge Management (การจัดการความรู้ - ผู้เรียบเรียง) แล้วนำไปส่งต่อให้เมือง อย่างเมื่อปี…
“ในปี 2554 ปากเกร็ดเป็นที่รู้จักของคนในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากผลงานการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ความที่ทีมผู้บริหารท้องถิ่นล้วนแล้วแต่เติบโตมากับชาวบ้าน ทำให้รอบรู้ถึงบริบทของเมืองและลักษณะพื้นฐานของประชากร เมื่อเรารู้จักพื้นที่ รู้เขา รู้เรา และทุ่มเททำงานอย่างไม่หยุดโดยไม่เกี่ยงตำแหน่งงาน เราจึงสามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนั้นได้หลังจากผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้ เหมือนเราก็มีโมเดลในการป้องกันน้ำท่วมแล้ว เราก็พยายามพัฒนามาเรื่อย ๆ ว่า จะทำยังไงให้เราเป็นองค์กรต้นแบบ เป็นเมืองปลอดภัย ไม่ว่าจะเรื่องน้ำท่วมหรือปัญหาสาธารณูปโภคใต้ดิน ซึ่งโครงการวิจัยนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอีกอย่างที่ทำให้เมืองของเราเป็นเมืองน่าอยู่ เพราะการทำงานของเทศบาลฯ…
“เอ็งกอคือ 108 วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน สมัยราชวงศ์ซ่ง เหล่าขุนนางฉ้อฉล ประชาชนประสบความทุกข์ยาก อดีตนักโทษ 108 คนจึงวางแผนลอบปลงพระชนม์ฮ่องเต้ในงานเทศกาลไหว้พระจันทร์ ความที่พวกเขาเคยเป็นนักโทษซึ่งถูกตีตราบนใบหน้า จึงต้องวาดรูปบนหน้าเพื่ออำพราง นี่คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหล่าวีรบุรุษที่เสียสละตนเองเพื่อผดุงความยุติธรรม ก่อนที่คนจีนในยุคหลังได้ดัดแปลงเรื่องราวดังกล่าวเป็นศิลปวัฒนธรรม เพื่อใช้เฉลิมฉลองในงานตรุษจีน หรืองานสำคัญอื่น ๆ เล่ากันว่าเอ็งกอเข้ามาเมืองไทยจากกลุ่มคนแต้จิ๋วจากเมืองซัวเถา กลุ่มหนึ่งนั่งเรือสำเภาสีแดงไปเทียบท่าที่นครสวรรค์ อีกกลุ่มนั่งเรือสีเขียวมาเทียบท่าที่ชลบุรี หลังจากตั้งรกรากในดินแดนใหม่ได้สำเร็จ…
“พนัสนิคมยังรองรับแค่กับคนวัยทำงานที่ทำงานในระบบราชการหรือไม่ก็ผู้ประกอบการ แต่สำหรับคนทำงานออฟฟิศ พวกเขาก็ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่รอบ ๆ อยู่ดี” “ตั้งแต่เรียนจบ ผมกับแฟนก็รู้ตัวว่าเราไม่ชอบทำงานประจำ เลยเลือกที่จะกลับมาหาอะไรทำที่บ้าน ตอนแรกก็ทำข้าวกล่องขาย แล้วก็เห็นช่องทางว่าพนัสนิคมยังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบที่คนรุ่นใหม่ดื่มกันเท่าไหร่ ผมกับแฟนเรียนจบจาก ม.บูรพา ซึ่งอยู่ห่างจากนี่แค่ 20 กิโลเมตรเอง ที่นั่นมีร้านกาแฟให้เลือกนับไม่ถ้วน แต่พอกลับมาพนัสนิคม เรากลับไม่มีทางเลือกนัก เพราะผู้คนในเมืองยังติดรสชาติของกาแฟรสเข้ม ๆ…
“หลังจากทำงานเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ที่กรุงเทพฯ ได้สิบกว่าปี มันก็ถึงจุดจุดหนึ่งที่ผมรู้สึกถึงความไม่ยั่งยืน จริงอยู่ รายการที่ผมทำค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่งานในวงการบันเทิงเนี่ยมันมีวาระของมัน ประกอบกับตอนนั้นแม่ก็เริ่มมีอายุมากขึ้นแล้ว แต่แกก็ยังคงเปิดร้าน ไม่ยอมหยุดทำงานสักที ผมจึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างให้เขารู้สึกวางใจที่เห็นว่าเรามีความมั่นคง ความคิดเรื่องการทำธุรกิจที่พักก็เริ่มขึ้นแต่ก่อน ผมไม่เคยมองว่าพนัสนิคมจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเลย แต่มองอีกมุม พนัสนิคมก็ไม่เคยมีที่พักที่สามารถรับรองแขกผู้ใหญ่สักเท่าไหร่ ถ้าใครมาแต่งงานที่พนัสนิคม แขกงานแต่งเขาอาจต้องไปนอนชลบุรีแล้วขับรถมา จากเดิมที่คิดว่าเราจะปลูกบ้านสักหลังไว้อยู่เองตอนกลับมาเยี่ยมแม่ จึงแบ่งพื้นที่ทำเป็นที่พักแบบบูติกโฮเทลไปด้วยนั่นล่ะ พอคิดจะทำโรงแรมจริงจัง คำถามก็คือแล้วถ้าแขกที่มาพักถามเราว่าพนัสนิคมมีที่เที่ยวอะไร…
“ผมเป็นคนพนัสนิคม ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นนักผังเมืองในเทศบาลเมืองที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จริงอยู่ที่พอทำงานในเมืองใหญ่ ตำแหน่งรับผิดชอบต่าง ๆ ของหน่วยบริหารราชการจึงค่อนข้างจะครอบคลุม แต่การพัฒนาเมืองกลับไม่ได้ถูกนำโดยผู้คนท้องถิ่น มันถูกขีดมาจากระบบใหญ่จากบนลงล่าง และทิศทางการออกแบบเมืองมันจึงถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการ ชาวบ้านหลายคนอาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ซึ่งพวกเขาทำอะไรไม่ได้มาก ข้อดีของการอยู่เมืองเล็ก ๆ อย่างพนัสนิคม คือการที่ไม่เพียงชาวบ้านทุกคนเข้าถึงทรัพยากรของเมือง แต่พวกเขายังมีโอกาสกำหนดทิศทางของเมืองที่เขาอยากให้เป็นในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้มันตอบสนองกับแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบล่างขึ้นบนอย่างที่ผมสนใจ ขณะเดียวกัน การที่นายกฯ วิจัยท่านอยู่ในสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย…
“เราเป็นคนอำเภอเกาะจันทร์ แต่ช่วงมัธยมฯ มาเรียนที่พนัสนิคม ซึ่งเราเห็นว่าพนัสนิคมเป็นเมืองสะอาดมาตั้งแต่นั้น คือตั้งแต่ตอนเราเป็นเด็ก เมื่อหลายสิบปีก่อนแล้วนะ จนพอสอบบรรจุเป็นข้าราชการด้านสาธารณสุข ตอนเขาให้เลือกเทศบาลสังกัด เราจึงเลือกเทศบาลเมืองพนัสนิคม ซึ่งไม่ใช่เพราะที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน แต่เมื่อเราหาข้อมูล จึงรู้ว่าเมืองนี้จริงจังเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมจริง ๆ จึงรู้สึกว่างานที่เราทำมันมีคุณค่า พอได้มาทำงานเราก็เห็นแบบนั้นจริง ๆ เราทำงานเทศบาลฯ มา 6 ปีแล้ว…
“เราเป็นคนบ้านบึง พื้นเพครอบครัวเราทำงานราชการสายท้องถิ่น พอเรียนจบจึงเลือกทำงานสายนี้ เราเคยเป็นลูกจ้างประจำในสำนักงานเทศบาลอีกแห่งหนึ่ง และย้ายมาบรรจุอีกหนึ่งที่ ก่อนตัดสินใจย้ายมาบรรจุที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม เอาจริง ๆ ถึงแม่เราเคยทำเทศบาลฯ จนเกษียณที่นี่ แต่ก่อนหน้านี้ เราไม่มีความรู้สึกอะไรเกี่ยวกับพนัสนิคมเลย เราก็เคยขับรถผ่านและแวะกินก๋วยเตี๋ยวเป็ด และซื้อปลาร้า จำได้แค่ว่าเมืองนี้มีตลาดเก่าที่น่ารักดี และมีเครื่องจักสานขายเยอะเท่านั้นเอง กระทั่ง พอมีผู้ใหญ่ชวนให้ย้ายมาทำงานเทศบาลฯ ที่นี่ แล้วเราก็ดันรับปากเขาไป เลยมีแต่เพื่อนในวงราชการถามว่าทำไมจึงเลือกย้ายมาทำงานที่นี่…
ภายใต้โจทย์ในการแก้ปัญหาสภาวะ “เมืองหด” และทำให้เมืองที่น่าอยู่อยู่แล้วอย่างพนัสนิคม มีความน่าอยู่ที่ครอบคลุมถึงโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับคนรุ่นใหม่ เทศบาลเมืองพนัสนิคมจึงร่วมกับ บพท. ผ่านทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขับเคลื่อน โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อบูรณาการคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวทางการมีส่วนร่วมของเขตพัฒนาเทศบาลเมืองพนัสนิคม เพื่อย้อนกลับมาสำรวจต้นทุนของเมือง รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และร่วมกับเครือข่ายชุมชนในการรวบรวมและนำเสนออัตลักษณ์ของเมือง เพื่อสร้างแม่เหล็กดึงดูดให้คนรุ่นใหม่กลับมาช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจบ้านเกิด พร้อมบรรเทาปัญหาสังคมสูงวัยที่เมืองกำลังเผชิญ WeCitizens พูดคุยกับ ดร.เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์…