“ทวดพี่เคยเป็นทหารของซุนยัดเซ็น และเป็นเพื่อนกับเจียง ไคเชก สมัยนั้นจีนกำลังจะแตกเพราะสงครามกลางเมือง ผู้คนก็ต่างอพยพออกจากประเทศ เจียง ไคเชก ไปอยู่ไต้หวัน ส่วนทวดนั่งเรืออพยพมาอยู่เมืองไทย มาขึ้นฝั่งที่ย่านที่ทุกวันนี้คือตลาดใต้ เมืองพิษณุโลกสมัยที่ทวดพี่มาที่นี่เป็นยุคที่คนจีนอพยพมาประเทศไทยกันมากที่สุด รวมถึงเมืองพิษณุโลก มาถึงท่านก็ทำหลายอย่างจนเก็บเงินตั้งตัวเปิดร้านขายของได้ สมัยก่อนทวดชื่อ เตียก้ำชอ ยังไม่ได้สัญชาติไทย กระทั่งในหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมาพิษณุโลก…
“อากงของผมเป็นคนจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาตั้งรกรากที่พิษณุโลก เริ่มจากเป็นจับกังที่ท่าเรือ และได้เป็นผู้ช่วยกุ๊กที่รถเสบียง นั่นทำให้อากงได้เจอกับอาม่าที่เป็นลูกของเจ้าของร้านขายยาแผนโบราณที่ลำปาง อากงก็แต่งงานและพากลับมาที่พิษณุโลก โดยเปิดร้านขายของชำชื่อ ซุ่นฮะฮวด อาม่าเป็นคนมีต้นทุนเรื่องการทำอาหารและสมุนไพรจีน ก็ถ่ายทอดให้แม่ผมต่อมา โดยอาม่าเคยเปิดร้านอาหารเล็กๆ อยู่พักหนึ่ง แต่รุ่นพ่อกับแม่ผมทำร้านโชห่วยและไปได้ดี เลยไม่ได้คิดถึงการเปิดร้านอาหารเลยพวกเราเป็นรุ่นสามของบ้าน ธุรกิจแรกๆ ก็ราบรื่นดีครับ โดยนอกจากขายของหน้าร้าน เราก็ได้ส่งวัตถุดิบประกอบอาหารให้ตามภัตตาคารและโรงแรมทั่วเมืองพิษณุโลก จนกระทั่งมาปี 2540 เจอวิกฤตฟองสบู่…
“ยายผมเริ่มขายก่อน แล้วแม่ก็มาขายต่อ ขายอยู่ที่เดิมในตลาดใต้ตอนเช้ามา 50 กว่าปีแล้วครับ ขายตั้งแต่ 7 โมงเช้า ประมาณ 9 โมงก็หมด วันธรรมดาจะทำแกงมา 4 อย่าง ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ลูกค้าเยอะก็จะทำมา 6-7 อย่าง เป็นกับข้าวตำรับโบราณ พวกแกงขี้เหล็ก…
“แม่เจ๊เคยขายก๋วยเตี๋ยวตอนเช้า และตอนบ่ายก็ขายเต้าหู้ทอดที่ตลาดเช้ามาก่อน แต่เขาเสียชีวิตไปแล้ว พอดีกับลูกเจ๊เรียนจบและทำงานในกรุงเทพฯ กันหมด เจ๊ก็เลยกลับมาอยู่บ้านที่พิษณุโลก และเช่าล็อคขายขนมปังหน้าหมู เผือกทอด เต้าหู้ทอด โดยประยุกต์สูตรของแม่มาอีกทีหนึ่ง ขายอยู่ตลาดใต้ฝั่งริมน้ำน่าน ขายมา 10 กว่าปีแล้ว ปกติก็ออกจากบ้านตี 4 เกือบตี 5 จัดร้านเสร็จ 7…
“พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ รองจาก กรุงเทพฯ ภูเก็ต และนครสวรรค์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความเจริญย่านใจกลางเมือง บริเวณหอนาฬิกาเรื่อยไปถึงหน้าศูนย์การค้าท็อปแลนด์ ส่วนหนึ่งก็มาจากการบุกเบิกของลูกหลานชาวจีนที่บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ และเพราะมีลูกหลานชาวจีนอยู่มาก กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในพิษณุโลกจึงก่อตั้งโรงเรียนสิ่นหมิน บนถนนบรมไตรโลกนาถขึ้น โดยแต่เดิมใช้ชื่อว่าโรงเรียนแชมิน เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 101 ปี จนทุกวันนี้…
“พิษณุโลกเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างมาแต่ไหนแต่ไร และเพราะเหตุนี้ แต่เดิมพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครพิษณุโลกจึงมีความคึกคัก ทั้งการเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฐานะที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ ไปจนถึงวัดเก่าแก่และพิพิธภัณฑ์อื่นๆนอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่มีมากถึง 300 กว่าหน่วย นั่นทำให้แม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เมืองจะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้า แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ภาคบริการการท่องเที่ยวจึงยังพอไปรอด เพราะยังมีการจับจ่ายใช้สอยของพนักงานราชการและพนักงานบริษัทเอกชนหมุนเวียนอยู่ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะอย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันมีการขยายตัวเมืองออกไปรอบนอกกันมากขึ้น ย่านเศรษฐกิจกระจายออกไปนอกเขตเทศบาล รวมถึง แผนการที่จะย้ายศูนย์ราชการออกไปนอกเมือง…
“สำหรับพี่ พิษณุโลกเป็นเมืองเสน่ห์หลบในน่ะ… คือมันเป็นเมืองที่มีเสน่ห์นะ แต่คุณจะไม่มีทางพบเจอ ถ้าเพียงแค่มองผ่านๆถ้าให้เปรียบก็เหมือนผู้หญิงคนหนึ่งที่หน้าตาอาจไม่ได้สวยเด่นอะไร แต่พอคุณได้นั่งคุย ได้ทำความรู้จัก ผู้หญิงคนนี้อาจมีเสน่ห์มากไปกว่าผู้หญิงสวยๆ หลายคนเสียอีก แต่ก็เพราะเมืองเรามันเป็นเมืองเสน่ห์หลบในแบบนี้ ความท้าทายของคนที่ทำงานที่เกี่ยวกับเมือง คือการสื่อสารเสน่ห์ของเมืองเมืองนี้ออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้จัก ในฐานะที่พี่เป็นเจ้าของบริษัท พาวเวอร์พลัสครีเอชั่น จำกัด ซึ่งทำงานด้านการจัดอีเวนท์และสัมมนาในเมืองพิษณุโลก รวมถึงทำงานหอการค้าจังหวัดพิษณุโลกมาหลายปี พี่พอจะถอดดีเอ็นเอของเมืองเมืองนี้มาได้ 4…
WeCitizens นัดหมาย อาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มาพบกันที่ตลาดใต้ พิษณุโลก ตอน 9 โมงเช้า แต่ทันทีที่เราบอกเวลา อาจารย์ก็รีบตอบกลับมาว่า 9 โมงเช้าตลาดก็เริ่มวายแล้ว นั่นหมายถึงเราจะพลาดอะไรดีๆ ไปเยอะ“ตลาดใต้เป็นตลาดเช้าครับ…
“ผมเกิดลำปาง เรียนกรุงเทพฯ และย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สอนที่นี่มาได้ 11 ปีแล้ว โดยซื้อบ้านอยู่กับภรรยาที่สอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผมกับภรรยามีลูกแฝด 2 คน ตอนนี้ทั้งคู่เข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร พวกเขาเกิดและโตที่นี่ จะบอกว่าครอบครัวเราเป็นคนพิษณุโลกแล้วก็ได้ ความที่ผมสอนคณะครุศาสตร์ ผมจึงสนใจด้านการศึกษาและพื้นที่การเรียนรู้เป็นพิเศษ ซึ่งถ้าถามถึงเมืองพิษณุโลก แน่นอน เรามีสถาบันการศึกษาที่พร้อมในทุกระดับ แต่ในแง่มุมของพื้นที่การเรียนรู้ เมืองเรายังขาดอยู่มาก…
“ก่อนหน้าที่จะทำโครงการ ย่านเก่าเล่าเรื่อง เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต นักศึกษาในสาขาของอาจารย์ (นิเทศศาสตร์) ได้ลงพื้นที่ตลาดใต้ พิษณุโลก เพื่อทำสื่อการท่องเที่ยวประกวดในโครงการของธนาคารไทยพาณิชย์และได้รางวัลชนะเลิศกลับมา ตอนนั้นโครงการเราทำคลิปวิดีโอ และทำป้ายสื่อสารพร้อม QR Code เพื่อบอกเล่าถึงความสำคัญตามแลนด์มาร์คต่างๆ ของพื้นที่ตลาดใต้และตลาดเจริญผล โครงการดังกล่าวมีอาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ จากภาควิชาการท่องเที่ยวมาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งต่อมาอาจารย์ธนวัฒน์ ได้รับทุนจาก สกสว.…