“ในงานวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ ย่านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดใต้ พิษณุโลก ผมรับหน้าที่เป็นทีมนักวิจัยในโครงการย่อยที่ 2 สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เมืองท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ มีอาจารย์อรวรรณ (ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล) เป็นหัวหน้าโครงการ โดยผมรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่จะเผยแพร่ทางออนไลน์ ทั้งเพจเฟซบุ๊ค WordPress รวมถึง E-book จริงๆ ผมเป็นคนติดตามคอนเทนต์ออนไลน์อยู่แล้วครับ โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองหรือชุมชน อย่างไรก็ตาม…
ป้ายับ (พยับ สิงห์ราม) ทำงานที่นี่มา 40 กว่าปีแล้ว มาทีหลังป้าเล็ก (ทับทิม พัดจั่น) ที่มาทำงานก่อนหลายปี ตอนนั้นเรียนจบมาแล้วว่างงาน โรงหล่อพระบูรณะไทยของจ่าทวีเขากำลังหาคนงานโรงหล่อพระอยู่ ก็เลยมาสมัคร สมัยก่อนจ่าทวีแกสอนงานป้าเล็กเองเลย ป้าได้ค่าแรงวันละ 9 บาท ส่วนป้าเล็กมีประสบการณ์จะได้วันละ 15 บาท…
“ผมเป็นคนฝั่งธนบุรี จำได้ว่าสมัยตอนเป็นเด็ก มันมีตึกร้างแถวบ้านโดนน้ำท่วม หลังจากน้ำลดแล้ว ผมกับเพื่อนก็เข้าไปหาของเก่าที่เหลือในตึกนั้น เมื่อก่อนตึกนั้นเคยเป็นบ่อนการพนันของคนจีน ก็เลยเจอ ‘ปี้’ ที่มีลักษณะเหมือนกระเบื้องที่นายบ่อนใช้แทนเงินสมัยก่อน รวมถึงเศษสตางค์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ไปจนถึงเงินพดด้วง เห็นแล้วแปลกตาดีเลยเก็บไว้ ซึ่งก็มีเถ้าแก่คนจีนมาหลอกเอาขนมมาแลกด้วยนะ ผมก็ยอมแลกเพราะอยากกินขนม มารู้ทีหลังว่าของที่เราเก็บได้มันมีค่ากว่าขนมเยอะ (หัวเราะ) หลังเรียนจบผมย้ายมาทำงานการไฟฟ้าที่จังหวัดพิษณุโลกราวปี พ.ศ. 2513…
“ย่านตลาดใต้ พิษณุโลก เป็นหนึ่งในอีกหลายๆ ย่านเก่าในเมืองต่างจังหวัดทั่วประเทศที่กำลังเผชิญปรากฏการณ์ Gentrification หรือภาวะที่คนรุ่นใหม่ทยอยกันย้ายออกไปทำมาหากินนอกเมือง พื้นที่จึงเหลือแต่คนชรากับธุรกิจเดิมๆ ที่ขาดการสานต่อ และนั่นทำให้ย่านค่อยๆ ตายลงผมมีโอกาสร่วมกับทีมของอาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ, ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล และ ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล ทำวิจัยโครงการย่านสร้างสรรค์ที่ตลาดใต้ พิษณุโลก โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก…
“เวลาพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก หลายคนจะคิดถึงสมเด็จพระนเรศวร พระพุทธชินราช หรือประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับรัฐชาติ ที่มักปรากฏในแบบเรียน หรือถ้าลงลึกไปอีกด้วยการไปถามคนเฒ่าคนแก่ ส่วนใหญ่พวกเขาจะนึกถึงอยู่เหตุการณ์เดียว คือเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2500 เพราะนี่เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำผู้คนจำนวนมาก เวลาไปร้านอาหารดังๆ ร้านไหนในเมือง ก็จะเห็นรูปเหตุการณ์แขวนประดับไว้เป็นที่ระลึก อย่างไรก็ตาม พิษณุโลกไม่ได้มีแค่สิ่งเหล่านี้เท่านั้น เพราะอย่าลืมว่าพัฒนาการของเมืองตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากผู้คน โครงการวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้พิษณุโลกที่เราทำในพื้นที่ตลาดใต้…
“ก่อนมาสอนหนังสือ ผมทำงานเป็นนักออกแบบกราฟิกและแบบอักษร รวมถึงเป็นศิลปินอิสระที่กรุงเทพฯ แต่ทำไปทำมารู้สึกอิ่มตัว และพอดีที่บ้านอยากให้กลับมาด้วย บ้านผมอยู่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ไม่ไกลจากพิษณุโลกเท่าไหร่ และความที่ผมเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เลยมาสมัครเป็นอาจารย์ที่นี่เป็นงานที่แปลกใหม่ดี เพราะแต่ก่อนผมจะทำงานที่ค่อนข้างเป็นอิสระ ตั้งโจทย์ให้ตัวเองและสร้างมันออกมา หรือทำกับลูกค้ารายใดรายหนึ่งไปเรื่อยๆ แต่พอกลับมาสอนหนังสือ กลายเป็นว่าเราต้องทำตามโจทย์ของหลักสูตร รวมถึงตั้งโจทย์ให้นักศึกษามาทำ และที่ใหม่ที่สุด คือการทำงานวิจัยที่สอดคล้องไปกับชุมชน ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะตามชุมชนอยู่บ้าง แต่พอมาเป็นอาจารย์…
“ผมเกิดและโตที่ย่านตลาดใต้ พิษณุโลก ในบ้านหลังนี้ ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างมาตั้งแต่รุ่นทวดเมื่อราวปี พ.ศ. 2480 ชั้นล่างเคยเป็นร้านโชห่วย ชั้นบนใช้อยู่อาศัย ผมเป็นรุ่นที่ 4 ความที่ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวผมมา 4 ชั่วรุ่น มันจึงเป็นมวลรวมของความทรงจำและวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมา ผมเกิดในยุคที่รุ่นพ่อแม่เขาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเต็มตัว คือ ตื่นเช้ามาพวกท่านก็เปิดร้าน ทำงานเลย ตกเย็นก็ปิดร้าน กินข้าว…
“ผมอยู่กับการออกแบบและก่อสร้างมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวผมทำธุรกิจติดตั้งอลูมิเนียมและกระจกชื่อ เอสที อลูมิเนียม และนั่นทำให้พอเรียนจบกลับมาบ้าน ผมก็เลยเริ่มทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่ใช่แค่การทำอาคารหรือทำบ้านให้คนอื่นอาศัย แต่ถ้าเราทำที่อยู่อาศัยให้มั่นคงแข็งแรงและมีความสวยงาม จะช่วยทำให้ภูมิทัศน์เมืองในภาพรวมดูดีขึ้น และทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ และจากความที่เป็นนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก เมื่อมีผู้ประกอบการที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้นจนนำมาสู่การตั้ง บริษัท พิษณุโลกพัฒนาเมือง จำกัด ผมจึงได้รับการชักชวนให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการ ซึ่งผมก็ยินดีอย่างมาก เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน จากบทบาทแรกที่คอยประสานงานกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ด้วยกัน…
“ผมทำบริษัททัวร์ต่างประเทศอยู่ที่กรุงเทพฯ ครอบครัวฝั่งพ่อเป็นคนพิษณุโลก ป้าไม่มีลูกหลาน พอป้าเสีย พ่อจึงรับช่วงดูแลตึกแถวหลายคูหาบนถนนสุรสีห์ก่อนถึงศาลเจ้าพ่อปุ่นเถ่ากง-ม่า ในย่านตลาดใต้ พิษณุโลก ก่อนจะมาเป็นรุ่นผมความที่พ่อเป็นข้าราชการ แกจึงไม่ได้มองเรื่องการค้าขายอะไร จึงปล่อยตึกให้เขาเช่า บางส่วนก็ปิดไว้ ซึ่งความที่เรามีตึกติดกันหลายหลัง ผมเลยมีความคิดที่จะรีโนเวทเพื่อสร้างย่านการค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวร่วมกัน แต่ความที่งานที่ทำประจำอยู่ค่อนข้างรัดตัว จึงผัดวันประกันพรุ่งเรื่อยมา กระทั่งมีโควิด-19 นี่ล่ะครับ ที่ทำให้เราเดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ผมจึงเบรกบริษัททัวร์ และกลับมาเริ่มธุรกิจที่พิษณุโลก…
“ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 4 ตาทวดผมเป็นซินแสที่รับดูดวงและฮวงจุ้ย สมัยก่อนบ้านตาทวดอยู่ตรงตลาดเจริญผล จะซื้อหาอะไรก็เดินมาที่ตลาดใต้ ครอบครัวผมจึงผูกพันกับตลาดใต้แต่ไหนแต่ไร ตาทวดมีลูกทั้งหมด 15 คน อาม่าผมคือหนึ่งในนั้น ซึ่งน้องสาวอาม่า หรือลูกคนที่สิบของตาทวดคือ คุณมนสินีย์ วัฒนกุลชัย ประธานมูลนิธิประสาทบุญสถาน เป็นผู้ก่อตั้งศาลเจ้าพ่อเสือ เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาแต่เดิมตลาดใต้จะมีศาลเจ้าอยู่สองแห่ง คือศาลเจ้าปุ่นเถ่ากง-ม่า…