“ผมย้ายมาอยู่พิษณุโลกปี 2530 มาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทขายรถแมคโคร รถตักดิน รถเกรดเดอร์ ทำอยู่เกือบ 10 ปี ก็ลาออกมาทำบริษัทของตัวเอง จนราว 5-6 ปีที่แล้ว รู้สึกอิ่มตัว จึงเคลียร์ธุรกิจเพื่อเกษียณ เป็นช่วงเวลาใกล้ๆ กันเนี่ย ทางสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยเขาอยากสร้างเครือข่ายอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่น เขาก็ชวนผมไปให้คำปรึกษา ผมไม่เคยทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ความที่คลุกคลีอยู่กับการก่อสร้างและอยู่ในเครือข่ายนักธุรกิจของเมืองมานาน ไปๆ…
“พี่เป็นคนพิจิตร มาเรียนมหาวิทยาลัยที่พิษณุโลก จบมาก็ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่พักหนึ่ง และมีครอบครัว มีลูกสองคน อยากให้ลูกกลับมาเรียนแถวบ้าน พี่เลยย้ายมาอยู่พิษณุโลก เพราะพี่มองว่านี่เป็นเมืองที่โรงเรียนมีมาตรฐานดี และมีบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของลูกๆพี่เป็นแม่บ้านค่ะ สามีจะทำงานเป็นหลัก พอย้ายมาพิษณุโลก เราก็ทุ่มเวลากับการเลี้ยงลูก จนลูกคนโตสอบเข้าโรงเรียนจุฬาภรณ์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ พี่ก็เลยมีเวลาว่าง จึงคิดหางานเสริม พอดีกับมีเพื่อนมาบอกว่าศาลเจ้าปุ่นเถ่ากง-ม่าและศาลเจ้าพ่อเสือ…
“อาม่ามีธุรกิจขายอะไหล่รถชื่อเสรียนต์ อยู่แถวโรงพยาบาลพุทธชินราช ช่วงไหนที่ลูกค้าไม่เข้า เรานั่งว่างๆ ก็เลยหยิบกระดาษกับดินสอสีมาวาดรูป อาม่าเล่นคอมพิวเตอร์ไม่เป็นน่ะ พวกมือถือก็ตัวเล็กไปเลยไม่เล่น เลยฆ่าเวลาด้วยการวาดรูปจนกลายเป็นงานอดิเรก จนพออายุมาก ลูกหลานเขาก็ขอให้อาม่าไม่ต้องมาดูร้านแล้ว ให้กลับมาพักผ่อนอยู่บ้านที่ตลาดใต้ อาม่าว่างๆ ก็เลยวาดรูปเล่นบนกระดาษลัง และเอามาแขวนหน้าบ้าน และไปขอแขวนตั้งโชว์ตามหน้าบ้านที่เขาปิดไว้ ตลาดใต้เดี๋ยวนี้มันเงียบน่ะ อยากให้มีสีสัน มีอะไรดูบ้าง คนที่นี่เขาก็ชอบกันนะ และมารู้ทีหลังว่ามีวัยรุ่นถ่ายรูปเช็คอินลงอินเตอร์เน็ทด้วย…
“สมัยก่อนผมเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำจังหวัดพิษณุโลก ความที่หนังสือพิมพ์แต่ละวันมีจำนวนหน้าจำกัด และเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้วยังไม่มีอินเตอร์เน็ท หลายข่าวที่ผมเขียนส่งไป บรรณาธิการไม่ได้เอาไปตีพิมพ์ ก็เลยเกิดเสียดาย ทั้งๆ ที่บางข่าวมันเป็นประโยชน์ต่อคนพิษณุโลก จึงตัดสินใจเปิดหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อว่า ประชามติผมเป็นสมาชิกของสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติอยู่แล้ว ก็ทำเรื่องไปขออบรมผู้บริหารสื่อระดับสูง เพื่อจะได้ออกมาทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โดยทำเป็นรายปักษ์ ออกทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน…
“ปี พ.ศ. 2500 อาม่าเรียนอยู่ชั้น ป.4 ที่โรงเรียนสิ่นหมิน เช้าวันที่ 2 มกราคม อาม่าจะไปโรงเรียนตามปกติ ระหว่างแม่กำลังผูกเปียให้ ได้ยินเสียงคนตะโกนว่าไฟไหม้ อาม่าก็ตื่นเต้นอยากไปดูไฟ เด็กอ่ะเนอะ แม่ก็ไม่ยอม บอกให้ผูกเปียให้เสร็จก่อน จนผูกเปียเสร็จนั่นแหละ คิดว่าไฟไหม้เล็กๆ ที่ไหนได้ เปลวเพลิงใหญ่มากๆ…
หากผู้เฒ่าผู้แก่ในย่านไม่บอก เราก็อาจไม่รู้ว่าอันที่จริงลำคลองน้อยๆ ที่ตึกแถวในย่านพากันหันหลังให้ในย่านยมจินดา แต่เดิมคือทางสัญจร และเส้นเลือดหลักในการค้าของเมืองระยองนั่นคือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เมื่อความเจริญยังไม่ชักพาให้รถราวิ่งบนท้องถนน แม่น้ำจึงเป็นทางคมนาคมหลักที่เชื่อมพ่อค้าจากที่ต่างๆ ทั่วภูมิภาคล่องเรือจากอ่าวไทยสู่ปากแม่น้ำระยอง มาทอดสมอทำการค้าในย่านแห่งนี้ กระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2443 ถนนยมจินดา ถนนสายแรกระยะทางราว 700 เมตรของระยอง ซึ่งตั้งชื่อตามนามสกุลของเจ้าเมืองระยองคนสุดท้าย (เกตุ…
“ลุงน้อยมีความใฝ่ฝันอยากมีบ้านอยู่ในป่า เนื่องจากชอบเที่ยววนอุทยาน ไปต่างประเทศก็ชอบเที่ยว National Park ไปอุทยานแห่งชาติโยเซมิติที่สหรัฐฯ เกิดแรงบันดาลใจมาก มีต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีอยู่บนโลกนี้ กลับมาคุยกับป้าเล็ก (ภรรยา) ว่าอยากมีป่าเป็นของตัวเอง เลยศึกษา วางแผน ได้ที่ดินแปลงนี้มาปี 2527 เป็นไร่ข้าวโพด มีทางน้ำ ไหลมาจากภูเขา ผมขุดขยายลำน้ำให้ใหญ่ขึ้น…
“อบต.หนองน้ำแดง เน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ผ่านมาในอดีต การพัฒนา อาจจะหมายถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ของเราคือพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการเข้าถึงแหล่งความรู้ ประสานความร่วมมือกับภาคราชการหรือภาคเอกชน มีการจัดฝึกอบรมในเรื่องต่างๆ อยู่เป็นประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาก็เอางบมาทำให้ ภาคเอกชนที่เขาอยากประกอบอาชีพนี้ ฝึกอาชีพนี้ หรือมาเรียนรู้เรื่องนี้ เรามีหน้าที่ประสานความร่วมมือให้เขามาเจอกัน กิจกรรมอบรม เช่น เรื่องการท่องเที่ยว การเสริมทักษะการแปรรูป การขายของออนไลน์…
“ปัจจุบันโรงเรียนบ้านท่ามะนาวมีนักเรียนอยู่ 91 คน บุคลากรทั้งหมด 9 คน จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คือมีนักเรียนไม่เกิน 120 คน เราเข้าร่วมโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน กับโครงการเขาใหญ่ ปากช่อง เมืองอาหารอินทรีย์ ใช้วัตถุดิบกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ของเขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม เพราะเห็นว่า ถ้านักเรียนได้กินอาหารที่สะอาด ปลอดจากสารพิษ…
“เราเติบโตมาในครอบครัวทำอาหาร ทั้งปู่ย่าตายาย ทวด คุณพ่อ คุณแม่ ทำอาหารหมดเลย เราเองก็ทำอาหารกับพ่อตั้งแต่เด็ก คุณพ่อ (วิโรจน์ อรุณพันธุ์ ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารเขาใหญ่-ปากช่อง) ทำงานเกี่ยวกับไฟแนนซ์ และเคยเปิดร้านอาหารที่กรุงเทพฯ แล้วพ่อกับแม่ไปหาหมอ เป็นภูมิแพ้ เลยเลือกย้ายมาอยู่เขาใหญ่ เพราะใกล้กรุงเทพฯ อากาศดี ติดอันดับโอโซนของโลก ก็มาทำร้านอาหารครัวบินหลา…